Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18073
Title: การออกแบบกระบวนการขนส่งโลหิตในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ด้วยขั้นตอนเมตาฮิวริสติกแบบผสมผสาน
Other Titles: A Design of Blood Transportation in Lower Southern Province using Hybrid Metaheuristic Algorithms
Authors: วนัฐฌพงษ์ คงแก้ว
คุณานนต์ อินทป่าน
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Keywords: ปัญหาการจัดส่งเลือด;โซ่อุปทานโลหิต;วิธีการเมตาฮิวริสติก
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This dissertation aims to develop the transportation of blood supply chain in the 7 lower southern provinces of Thailand which has 12th Regional Blood Center as a center of blood supply with 89 hospitals under its management. This research studies on the blood delivery routing problem. Therefore, the research initially emphasizes on the understanding of blood center working process, then finding the solutions to enhance the transportation system. In this regard, the researcher has created an algorithm for computation of daily route for blood transportation by applying metaheuristic in solving vehicle routing problem (VRP) and activity-based costing in computation of transportation cost. As a result, the study shows that there is no interconnection of transportation routing between the mentioned hospitals. Regardless of the blood center which is the only thing connecting each hospitals together, the routing is unsystematically managed resulting in high number of transporting routes and cost. For the purpose of blood transportation design, the hospitals have been divided into 3 groups which are Group A, B, and C. Then the researcher has discussed with concerned people in designing suitable transportation pattern as a practical condition for routing. The problem will be processed through logical thinking and problem solving, and subsequently imported to computer by coding which will all be conducted daily. In designing the best proposed method for this research, the researcher has studied numbers of metaheuristic such as Differential Evolution (DE), Firefly Algorithm (FA), and Stimulated Annealing (SA). These studied metaheuristics also used as a comparative factor in analyzing effectiveness of the new proposed method. The researchers have proposed 2 new methods which Differential evolution with new local search (DENLS) and Hybrid firefly algorithm with new local search (HFA+NLS) which considers as an appropriate and suitable methods for this problem. Moreover, these two methods were used in the paper which was accepted nationally and internationally.
Abstract(Thai): งานวิจัยฉบับนี้ มีเป้าหมายในการพัฒนาระบบการขนส่งของห่วงโซ่อุปทานโลหิตในภาคใต้ตอนล่างจำนวน 7 จังหวัด ปัจจุบันมีภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12 จังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลาง และมีโรงพยาบาลในห่วงโซ่อุปทานดังกล่าวทั้งสิ้น 89 โรงพยาบาล การศึกษาวิจัยเรื่องการจัดเส้นทางขนส่งโลหิต งานวิจัยจึงต้องเริ่มต้นจากการศึกษาระบบการทำงานโดยภาพรวมของภาคบริการโลหิต และหาแนวทางในการพัฒนาระบบการขนส่งให้ดีขึ้น โดยการสร้างอัลกอริทึมสำหรับคำนวณเส้นทางขนส่งโลหิตแบบรายวัน ที่ประยุกต์ขั้นตอนวิธีเมตาฮิวริสติกในการหาคำตอบของปัญหาจัดเส้นทางขนส่งโลหิตแบบเวียนเที่ยวรถและประยุกต์ใช้ทฤษฎีต้นทุนฐานกิจกรรมสำหรับคำนวณต้นทุนการขนส่ง ทำให้มีจำนวนเที่ยวรถสำหรับการขนส่งที่สูง ส่งผลให้ต้นทุนรวมในกระบวนการขนส่งโลหิตสูงขึ้น ผลจากการศึกษาการขนส่งโลหิตในห่วงโซ่อุปทานนี้ ทำให้ทราบว่าในปัจจุบันโรงพยาบาลภายใต้การดูไม่มีเครือข่ายการขนส่งโลหิตที่เชื่อมต่อกัน มีความเป็นอิสระต่อกัน มีเพียงภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12 เป็นตัวเชื่อมตรงกลางระหว่างโรงพยาบาลต่าง ๆ งานวิจัยได้ร่วมกันออกแบบรูปแบบการขนส่งโลหิต และแบ่งแยกกลุ่มของโรงพยาบาลเป็น 3 กลุ่ม คือ โรงพยาบาลกลุ่ม A, B และ C สำหรับการออกแบบเส้นทาง เมื่อได้รูปแบบการขนส่งที่เหมาะสมสำหรับปัญหานี้แล้ว งานวิจัยได้นำปัญหาและรูปแบบการขนส่งซึ่งเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขสำหรับการขนส่ง นำเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาเชิงตรรกะ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยวิธี Coding โดยที่มีตัวดำเนินการสำหรับการหาคำตอบเส้นทางขนส่งโลหิตที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละวัน งานวิจัยได้ศึกษาวิธีเมตาฮิวริสติกต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้จำนวนมากอาทิเช่น ขั้นตอนวิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่าง (DE) ขั้นตอนวิธีหิ่งห้อย (FA) และ การจำลองการอบเหนียว (SA) เป็นต้น เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับขั้นตอนวิธีใหม่ที่ผู้วิจัยต้องการพัฒนาขึ้นมาใหม่ในงานวิจัยนี้ รวมถึงเป็นตัวเปรียบเทียบประสิทธิภาพสำหรับทดสอบความสามารถในการหาคำตอนของขั้นตอนวิธีที่ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นมา ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้คิดค้นขั้นตอนวิธีใหม่ขึ้นมา สองขั้นตอนวิธี คือ ขั้นตอนวิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่าง ร่วมกับการค้นหาเฉพาะที่แบบใหม่ (DENLS) และ ขั้นตอนหิ่งห้อยแบบผสมผสาน (HFA+NLS) จากการทดสอบทั้งสองวิธีเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับปัญหานี้ ทั้งนี้ขั้นตอนวิธีทั้งสองถูกใช้ในงานวิจัยซึ่งได้ถูกนำเสนอผลงานให้และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมอุตสาหการและระบบ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18073
Appears in Collections:228 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310120014.pdf7.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons