Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18047
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้
Other Titles: Factors Affecting of Applying Results of Ordinary National Educational Test to Improve Educational Quality in the Three Southern Border Provinces
Authors: จิระวัฒน์ ตันสกุล
ภัทราวดี สีแก้วเขียว
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
Keywords: การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน;แนวทางการปฏิบัติ;ความตรงของโมเดล;การประเมินผลทางการศึกษา
Issue Date: 2022
Publisher: มหาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this research were: (1) investigate validity of the Ordinary National Educational Test results implementation model, (2) study the factors affecting the implementation of Ordinary National Educational Test results, and (3) study guidelines for applying Ordinary National Educational Test results. The sample was 500 people from 50 schools are administrators and teachers at the level of basic education Under the Primary Education Service Area Office and secondary education in the three southern border provinces, received from multistage random sampling. The tools used in the research consisted of questionnaire on the use of Ordinary National Educational Test results in educational institutions, It is characterized as a 5-level estimator. The discrimination power ranges from .538 - .906 and the reliability is .968. Questionnaire on factors affecting the implementation of Ordinary National Educational Test results in educational institutions, It is characterized as a 5-level estimator. The discrimination power ranges from .623 - .850 and the reliability is .983 and an interview form for applying the results of Ordinary National Educational Test to educational institutions. Analyze the data by averaging, standard deviation, causal analysis by using a LISREL program and content analysis. The results of the research can be summarized as follows: 1) The validity of the Ordinary National Educational Test results implementation model found that the model for the implementation of basic national educational test results is structurally consistent or consistent with the empirical data. and in accordance with the research conceptual framework by considering the statistical values used to check the validity of the model as follows246.65,43,.32,1.00dfpCFA==== ,.99,.97,1.00.015RIMSEAGFAGFINFI==== and 2/1.08df= 2) Factors affecting the application of Ordinary National Educational Test results to improve the quality of education found that the causal factor model had 21% predictive power. When considering the magnitude of the influence of the variables in the model, it was found that variables for the context of educational institution ().36= variable characteristic of personnel in educational institution ().05= and test characteristic variables ().02= 3) Practice guidelines for applying the results of Ordinary National Educational Test in educational institution under the Office of Primary and Secondary Education Service Areas in the three southern border provinces found that Educational institution use the results of Ordinary National Educational Test as follows: 3.1) Discuss opinions on the implementation of Ordinary National Educational Test results in schools. 3.2) Meeting to plan for the development of educational institution according to standards and indicators with the assignment of responsibilities as appropriate. 3.3) Analyze standards and indicators that need to be developed. or to have projects/activities that are clearly consistent. 3.4) Improve the teaching and learning management structure to be consistent with the indicators. including systematically supervising, monitoring, auditing and evaluating the performance.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ตรวจสอบความตรงของโมเดลการนำผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ และ (3) ศึกษาแนวทางปฏิบัติในการนำผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ ตัวอย่างจำนวน 500 คน จาก 50 โรงเรียน เป็นผู้บริหารและครู ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษาใน สามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามการนำผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ใน สถานศึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ อำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ .538 - .906 และค่าความเที่ยง .968 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในสถานศึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ อำนาจจำแนก มีค่าตั้งแต่ .623 - .850 และค่าความเที่ยง .983 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการนำผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในสถานศึกษา จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เชิงสาเหตุ โดยใช้โปรแกรม LISREL และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ความตรงของโมเดลการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ พบว่า โมเดลการวัดการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้มีความตรงเชิงโครงสร้าง หรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเป็นไปตามกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยพิจารณา จากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ 246.65,43,.32,dfp=== ,.99,.01.00,.0197,1.50GFICFIRMAGFINSEAFI===== และ 2/1.08 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ใน การพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 21 เมื่อพิจารณาขนาดของอิทธิพลของตัวแปรในโมเดล พบว่า ตัวแปรลักษณะบริบทของสถานศึกษา ().36= ตัวแปรลักษณะบุคลากรในสถานศึกษา ().05= และตัวแปรลักษณะของแบบทดสอบ ().02= 3) แนวทางการปฏิบัติในการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในสามจังหวัด ชายแดนใต้ พบว่า สถานศึกษานำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ ดังนี้ 3.1 ร่วมกันอภิปรายความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในสถานศึกษา 3.2 ประชุมวางแผน เพื่อพัฒนาสถานศึกษาตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ โดยมี การมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบตามความเหมาะสม 3.3 วิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่ต้องพัฒนา หรือดำเนินการให้มีโครงการ/กิจกรรม ที่มีความสอดคล้องอย่างชัดเจน 3.4 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการจัดการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องกับ ตัวบ่งชี้ รวมทั้งดำเนินการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
Description: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและประเมินผลการศึกษา), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18047
Appears in Collections:276 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6420120252.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons