Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18043
Title: Evaluation of Seed Germination, Growth, Flowering and Anthocyanin Content of Edible Flowers under Greenhouse System in Southern Thailand
Other Titles: การประเมินการงอก การเจริญเติบโต การออกดอกและปริมาณแอนโทไซยานิน ในดอกไม้กินได้ที่ผลิตภายใต้สภาพโรงเรือนทางภาคใต้
Authors: ลดาวัลย์ เลิศเลอวงศ์
ฉัฐมาศ พรมเดช
Faculty of Natural Resources (Plant Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพืชศาสตร์
Keywords: Edible flowers;แอนโทไชยานิน
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The flowering plant’s field production in the Southern area is limited by the weather condition, which has a lot of rain and high humidity. However, the trend to use the flower as edible flowers is increasing continuously. Therefore, this study evaluated the seed germination flowering and anthocyanin content of eight edible flowers grown as potted plants. Eight species of edible flowers were Impatiens (Impatiens wallerana), two of Dianthus (Dianthus chinensis), ‘Diamond Series’ and ‘Diana Series’, Pansy (Viola wittrockiana), Antirrhinum (Antirrhinum majus), Celosia (Celosia plumosa), Torenia (Torenia fournieri) and Cosmos (Cosmos sulphureus). Seeds were sown under a greenhouse at the average temperature of 28.7 ± 0.7 ๐C and 79.0 ± 4.8%RH. These edible flower seeds could be divided into three groups as follows: 1) Pansy (low, 61-80%), 2) Antirrhinum and Impatiens (moderate, 81-90%), and 3) Torenia, ‘Diamond Series’ Dianthus, ‘Diana Series’ Dianthus, Celosia, and Cosmos (high, >90%). The results showed the correlation between seed germination and the greenhouse environment, i.e., temperature (especially average temperature), humidity, light intensity and daylength. Regarding vegetative growth. Cosmos has the highest relative growth rate by measuring plant height was found with in first week after transplant, with was 0.349 ± 0.0022 cm/cm/day in Cosmos. Based on time after transplanting, the RGR divide the two group of edible flowers. There was a high RGR at the first and low RGR in the latter periods, i.e., Cosmos, Torenia, Celosia, Dianthus ‘Diamond Series’ and ‘Diana Series’, and Impatiens. In contrast, the second group had ) low RGR in the first period and a high RGR in latter period, i.e., Antirrhinum and Pansy. While the results are based on the days of flower bud break and blooming, it could be divided into four groups as follows: 1) Celosia and Cosmos (≤40 days), 2) Antirrhinum, Impatiens and Torenia (>40-50 days), 3) ‘Diana Series’ and ‘Diamond Series’ Dianthus (>50-60 days), and 4) Pansy (>60 days). It was found that daylength and the maximum temperature was the main factor that effects faster flowering. Torenia, Pansy, and ‘Diamond Series’ Dianthus are part of anthocyanin content, showing the greatest while Cosmos, Antirrhinum, and Impatiens gave the lowest anthocyanin content.
Abstract(Thai): การผลิตดอกไม้ในเขตพื้นที่ภาคใต้ถูกจำกัดด้วยปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีฝนตก ชุกและความชื้นสูงซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต จึงต้องผลิตภายใต้โรงเรือน ดังนั้น การศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการงอก การเจริญเติบโต การออกดอก และปริมาณแอนโทไซยานิน ในดอกไม้กินได้ 8 ชนิด ได้แก่ เทียนฝรั่ง (Impatiens wallerana) ผีเสื้อ ไดมอนด์ (Dianthus chinensis ‘Diamond Series’) ผีเสื้อ ไดอาน่า (Dianthus chinensis ‘Diana Series’) แพนซี (Viola wittrockiana) ลิ้นมังกร (Antirrhinum majus) สร้อยไก่ (Celosia plumosa) แววมยุรา (Torenia fournieri) และดาวกระจาย (Cosmos sulphureus) โดยดอกไม้กินได้ทั้งหมดถูกเพาะ เมล็ดภายใต้สภาพโรงเรือนที่อุณหภูมิเฉลี่ย 28.68 ± 0.71 ๐C ความชื้นสัมพัทธ์ 79.03 ± 4.79% พบว่า สามารถแบ่งตามเปอร์เซ็นต์การงอกได้ 3 กลุ่ม คือ 1.แพนซี (เปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ; 61-80%) 2. ลิ้นมังกรและเทียนฝรั่ง (เปอร์เซ็นต์การปานกลาง, 81-90%) 3. แววมยุรา ผีเสื้อ ไดม่อน ผีเสื้อ ไดอาน่า สร้อยไก่ และดาวกระจาย (เปอร์เซ็นต์การงอกสูง, >90%) และเปอร์เซ็นต์การงอกยังมี ความสัมพันธ์กับปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ เฉลี่ย ด้านการเจริญเติบโตพบว่า อัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์มีค่าสูงสุดในสัปดาห์แรกหลังย้ายปลูก โดยพบว่าในดาวกระจายมีค่ามากที่สุด คือ 0.349 ± 0.0022 ซม./ซม./วัน นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตรา การเจริญเติบโตสัมพัทธ์สามารถแบ่งดอกไม้ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโต สัมพัทธ์ในช่วงแรกสูงและมีค่าในช่วงหลังต่ำ ได้แก่ดาวกระจาย แววมยุรา สร้อยไก่ ผีเสื้อ ไดมอนด์ ผีเสื้อ ไดอาน่า และเทียนฝรั่ง และกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำในช่วงแรก และมีค่าสูงในช่วงหลัง ได้แก่ ลิ้นมังกร และแพนซี ในขณะที่จำนวนวันที่สังเกตเห็นตุ่มตาดอกแรกและวันที่ดอกแรกบาน สามารถจำแนกได้ 4 กลุ่ม คือ 1.สร้อยไก่และดาวกระจาย (≤40วัน) 2. ลิ้นมังกร เทียนฝรั่ง และ แววมยุรา (>40-50 วัน) 3. ผีเสื้อ ไดอาน่าและผีเสื้อ ไดมอนด์ (>50-60 วัน) 4.แพนซี (> 60 วัน) และ ยังพบว่า ความยาววันและอุณหภูมิสูงสุดส่งผลทำให้การออกดอกเกิดเร็วขึ้น ทางด้านปริมาณสารแอนโทไซยานิน พบมากในกลุ่มของ แววมยุรา แพนซีและผีเสื้อ ไดมอนด์ แต่พบ ค่าน้อยมากในกลุ่มของดาวกระจาย ลิ้นมังกร และเทียนฝรั่ง
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พืชศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18043
Appears in Collections:510 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6010620020.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons