Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18027
Title: ปัจจัยด้านคุณภาพ ความคุ้มค่าของการใช้บริการ และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุของ ผู้ประกอบการ Social Commerce ในประเทศไทย
Other Titles: Influence of Quality, Perceived Value of Service and Customer Relationship Management on Social-Commerce Entrepreneurs’ Decision-Making of Delivery Service Providers in Thailand
Authors: จุไรรัตน์ พุทธรักษ์
นิพัฒน์ โพธิ์วิจิตร
ธีระ กุลวรวิทย์
Faculty of Commerce and Management
คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ
Keywords: ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุ;ผู้ประกอบการ Social-Commerce;คุณภาพการให้บริการ;การบริหารลูกค้าสัมพันธ์;การใช้บริการซ้ำ;การแนะนำหรือบอกต่อ
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Nowadays, online shopping is very popular. Hence, entrepreneurs increasingly turn to selling products and services via online media called Social Commerce, resulting in continuous growth in the parcel delivery business and highly competitive. To motivate consumers to use more parcel delivery services, the providers have to offer in terms of service quality, price, as well as creating an impression on users in order to maintain their customers. The aims of this study are 1) to examine the factors of business fundamental, factors of quality, perceived value of service, factors of customer relationship management and social commerce entrepreneurs’ behavior of choosing parcel delivery services; 2) to explore the relationship between factors fundamental to running a business and social commerce entrepreneurs’ behavior of choosing parcel delivery services providers; and 3) to investigate the perceived service quality and value factors, customer relationship management factors affecting social commerce entrepreneurs’ behavior of choosing parcel delivery service in terms of repurchase and referrals. In this research, we focused on the social-commerce entrepreneur segment and conducted field experiments that using quantitative method. Both descriptive and inferential statistical tests were carried out in this study. First, the simple statistical test (i.e. the frequencies, percentages, means and stand division) was intended to describe. Second, the inferential statistical test (i.e. the chi-square, correlation and regression) was used to testing hypotheses to draw conclusions about populations. The result of the study showed that business fundamental factors in types, size and income of businesses were correlated with the choice behavior on delivery service providers in Social-Commerce entrepreneurs, aspect of frequency of using the service and delivery service providers that were selected. The factors of quality, perceived value of service affected the choice behavior on delivery service providers and could predict repurchase and referrals behavior 15.60% (r2=0.156) and 17.30% (r2=0.173) and the factors of customer relationship management affected the choice behavior on delivery service providers and could predict repurchase and referrals behavior 12.70% (r2=0.127) and 12.60% (r2=0.126) were statistically significant.
Abstract(Thai): ในปัจจุบันการซื้อสินค้าออนไลน์เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้ประกอบการ หันมาจำหน่ายสินค้าและบริการผ่านสื่อออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Social Commerce มากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจด้านการขนส่งพัสดุเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันสูง เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภค มีการใช้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการมีการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพ การให้บริการ ราคา รวมทั้งการสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้บริการเพื่อรักษาฐานลูกค้า การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยคุณภาพ ความคุ้มค่า ของการใช้บริการ ปัจจัยการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และพฤติกรรมการเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุ ของผู้ประกอบการ S-Commerce 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานในการดำเนิน ธุรกิจกับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุของผู้ประกอบการ S-Commerce และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพ ความคุ้มค่าของการใช้บริการ และปัจจัย ด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการผู้ให้บริการขนส่งพัสดุของ ผู้ประกอบการ S-Commerce ด้านการใช้บริการซ้ำและการแนะนำหรือการบอกต่อ ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษากลุ่มผู้ประกอบการ S-Commerce เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ และใช้ระเบียบวิธี วิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการทดสอบทั้งสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบ ทางสถิติอย่างง่าย (เช่น ความถี่ เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เพื่ออธิบาย ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง และการทดสอบทางสถิติเชิงอนุมาน (ค่าสถิติไคสแควร์ การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์และการถดถอยเชิงซ้อน) เพื่อทดสอบสมมติฐานเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับประชากร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจด้านรูปแบบของธุรกิจ ขนาด และรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัย ด้านคุณภาพและความคุ้มค่าของการใช้บริการส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการใช้บริการซ้ำและการบอกต่อได้ร้อยละ 15.60 (r2=0.156) และ 17.30 (r2=0.173) และปัจจัยด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการใช้บริการซ้ำ และการบอกต่อ ได้ร้อยละ 12.70 (r2=0.127) และ 12.60 (r2=0.126) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18027
Appears in Collections:942 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6350121008.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons