Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17993
Title: ผลของมาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะตามแนวคิด Behavioral economics : กรณีศึกษาในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี
Other Titles: The effect of the behavioral economics based measure to contain antibiotics use : a case of secondary hospital
Authors: กุลจิรา อุดมอักษร
ธีรนุช พรหมจันทร์
Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmacy Administration)
คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ
Keywords: การใช้ยาอย่างสมเหตุผล;เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม;มาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this study were to developed an intervention to contain antibiotic prescribing rate based on behavioral economics theory and to evaluate effectiveness of the intervention by comparing antibiotic prescribing rate and expenditure before and after intervention. This study was pre-post single group experimental design assessing effectiveness of the developed intervention. The intervention in this study was the provision of feedback information on antibiotic prescription rate for each individual prescribers comparing to the hospital’s average and the committed goal. Two feedback frequencies were implemented: quarterly feedback for 8 quarters (October 2018–September 2020) and followed by monthly feedback for 6 months (October 2020-March 2021). The antibiotic prescribing rates were compared between pre and post intervention in 4 diseases in which were evidently proved of antibiotics unnecessity. Those are fresh traumatic wound (FTW), respiratory infection (RI), acute diarrhea (AD) and antibiotic prophylaxis in vaginal delivery of normal term labor (APL). The segmented regression analysis of interrupted time series were employed. Qualitative methods were used to collect and analyze stakeholders opinions and the interrupted events. The results of study showed that after intervention took place, the reduction of antibiotic prescribing rate (percent per quarter) and antibiotic expenditure (bath per quarter) were observed for all 4 diseases. The interrupted time series regression analysis found significant reduction trend of antibiotic prescribing after intervention both in terms of antibiotic prescribing rate and antibiotic expenditure in FTW. The antibiotic prescribing rate was decreased by 1.893% per quarter (95%CI: -2.720 to -1.066), while the expenditure decreased by 2,935.15 bath per quarter (95%CI: -4,427.434 to -1,442.864). Although the decreasing changes were observed in some of other 3 diseases, there is no significant reduction of antibiotic prescribing both in terms of antibiotic prescribing rates and expenditures. The study concluded that only single intervention of feedback information to individual prescriber was less likely to be effective in containing antibiotic prescribing in all diseases in which were evidently proved of antibiotics unnecessity. Multiple interventions were then proposed to be taken in place for further studies and real practice in containing antibiotic use.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการแทรกแซงเพื่อลดการสั่งใช้ยา ปฏิชีวนะบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) และเพื่อเปรียบเทียบ ผลของมาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมก่อนและหลังการ ดำเนินมาตรการ โดยเป็นงานวิจัยกึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวแบบวัดผลก่อนและหลังการ แทรกแซงด้วยการสะท้อนกลับข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะแก่แพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นรายบุคคล ด้วยรูปแบบความถี่ที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ มาตรการแทรกแซงรายไตรมาสเป็นจำนวน 8 ไตรมาส (เดือนตุลาคม พ.ศ.2561–เดือนกันยายน พ.ศ.2563) และมาตรการแทรกแซงรายเดือนเป็น จำนวน 6 เดือน (เดือนตุลาคม พ.ศ.2563-เดือนมีนาคม พ.ศ.2564) ประเมินผลการแทรกแซงโดย เปรียบเทียบอัตราการสั่งใช้และมูลค่ายาปฏิชีวนะของแพทย์ในสี่กลุ่มโรคซึ่งมีหลักฐานว่าไม่จำเป็นต้อง ใช้ยาปฏิชีวนะตามที่โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) กำหนด ก่อนและหลังใช้ มาตรการแทรกแซงโดยการวิเคราะห์อนุกรมเวลาด้วยสมการถดถอยแบบช่วง segment regression analysis (SRA) และการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาความเห็นต่อมาตรการแทรกแซง, เหตุการณ์แทรก ที่ส่งผลกระทบต่อการแทรกแซง โดยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับมาตรการแทรกแซงในงานวิจัย หลังการแทรกแซงด้วยมาตรการสะท้อนกลับข้อมูลแก่ผู้สั่งใช้ยา พบว่าอัตราการสั่ง ใช้ยาปฏิชีวนะของแพทย์ตามตัวชี้วัด RDU ในหน่วยร้อยละต่อไตรมาสและมูลค่ายาปฏิชีวนะในหน่วย บาทต่อไตรมาสลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการแทรกแซงได้ทั้งใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่กลุ่มโรคแผล สดจากอุบัติเหตุ (fresh traumatic wound: FTW), กลุ่มโรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ (respiratory infection: RI), กลุ่มโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea: AD) และกลุ่มโรค การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในสตรีคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด (antibiotic prophylaxis in vaginal delivery of normal term labor: APL) จากผลการวิเคราะห์อนุกรมเวลาด้วยสมการถดถอยแบบช่วง พบว่าหลังดำเนินมาตรการสะท้อนกลับข้อมูลแก่ผู้สั่งใช้ยา มีผลลด แนวโน้มของอัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรค FTW ลงร้อยละ 1.893 ต่อไตรมาส (95%CI: -2.720 to -1.066) และมูลค่ายาปฏิชีวนะมีแนวโน้มลดลง 2,935.15 บาทต่อไตรมาส (95%CI: -4,427.434 to -1,442.864) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้ว่ามาตรการสะท้อนกลับข้อมูลจะทำให้ อัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะลดลงทันทีหลังการแทรกแซงในกลุ่มโรค FTW, RI และ AD แต่ไม่พบ นัยสำคัญทางสถิติในการศึกษานี้ เช่นเดียวกับมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งลดลงทันทีหลังเริ่มมาตรการ ในทุกกลุ่มโรค อย่างไม่มีนัยสำคัญสถิติ จากข้อมูลประสิทธิผลของการแทรกแซงด้วยมาตรการสะท้อนกลับข้อมูลเพียงอย่าง เดียว พบว่ามีประสิทธิผลในการลดอัตราการสั่งใช้ยาในกลุ่มโรคที่ทำการศึกษาได้ค่อนข้างน้อย การใช้ มาตรการอื่นๆร่วมด้วย น่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการลดอัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะได้มากขึ้น
Description: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17993
Appears in Collections:575 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910721003.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons