Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17953
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ หนูแก้ว-
dc.contributor.advisorวีณา คันฉ้อง-
dc.contributor.authorกรรณิกา ไถนาเพรียว-
dc.date.accessioned2023-04-12T04:02:04Z-
dc.date.available2023-04-12T04:02:04Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17953-
dc.descriptionพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต), 2564en_US
dc.description.abstractThis predictive research aimed to study the level of caring behaviors and factors predicting caring behavior of caregivers for medication adherence of school-age children with attention deficit hyperactivity disorder (ADHD). The sample comprised 100 primary caregivers of children, aged 6-12 years, who had been diagnosed with ADHD and were receiving treatment at a psychiatric child clinic in Songkhla Rajanagarindra Psychiatric hospital, southern Thailand. The research instruments consisted of 5 parts: (1) demographic data, (2) caregiver’s attitude toward ADHD medication used, (3) caregiver's perception on stigma of children with ADHD questionnaire, (4) caregiver's perception on ADHD medication side effects questionnaire, and (5) caring behavior of caregivers for medication adherence of children with ADHD (scale 1 – 4). The content validity of 5 parts was verified by three experts. The reliability of parts 2, 3, 4, and 5 were tested using Cronbach’s alpha coefficient, yielding values of .81, .93, .70 and .83 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics. The predictability of the selected factors was analyzed using multiple regression (Backward Method). The results showed that caring behaviors of caregivers for medication adherence of school-age children with ADHD were at a high level (M = 3.28, SD = .437). Predictive factors could explain 10.4 percent of the variance (R2 = .104, p <.05). For consideration, the factors that significantly predicted caring behaviors was the caregivers’ attitude toward ADHD medication used (B = .281, p < .05). The results of this study could be used as basic information to develop nursing care to improve caregivers’ attitude for medication adherence of children with ADHD.en_US
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ ประจำปีงบประมาณ 2563en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลen_US
dc.subjectCaring Behavioren_US
dc.subjectการรับประทานยาต่อเนื่องen_US
dc.subjectเด็กสมาธิสั้นวัยเรียนen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectMedication Adherenceen_US
dc.subjectCaregiversen_US
dc.subjectSchool-age children with ADHDen_US
dc.subjectการรักษาโรคสมาธิสั้นen_US
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กวัยเรียนสมาธิสั้นen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Caring Behavior of Caregivers for Medication Adherence of School-age Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorderen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Nursing (Psychiatric Nursing)-
dc.contributor.departmentคณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช-
dc.description.abstract-thการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมการดูแลและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้นในวัยเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น อายุ 6 – 12 ปี ที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบวัดทัศนคติที่มีต่อการใช้ยาสมาธิสั้นสำหรับผู้ดูแล (3) แบบประเมินการรับรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับการรับรู้ตราบาปของเด็กสมาธิสั้น (4) แบบประเมินการรับรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับการเกิดผลข้างเคียงจากยารักษาสมาธิสั้น และ (5) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลในด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้น เครื่องมือทั้ง 5 ส่วน ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทำการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือส่วนที่ 2, 3, 4 และ 5 โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .81, .93, .70 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กวัยเรียนสมาธิสั้นอยู่ในระดับมาก (M = 3.28, SD = .437). ตัวแปรปัจจัยทำนายสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้น ได้ร้อยละ 10.4 (R2 = .104, p <.05) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ทัศนคติของผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคสมาธิสั้น (B = .281, p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำปัจจัยด้านทัศนคติของผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยารักษาสมาธิสั้นไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้นได้en_US
Appears in Collections:647 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110420003.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons