Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17933
Title: ความปลอดภัยด้านการบิน: การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้บรรยากาศความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของนักบินในประเทศไทย
Other Titles: Aviation Safety: Examining the Influence of Perceived Safety Climate on Safety-Related Behaviors among Thai Pilots
Authors: วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์
ภัทรฉัตร มณีฉาย
Faculty of Management Sciences (Management)
คณะวิทยาการจัดการ (สาขาวิชาการจัดการ)
Keywords: ความปลอดภัย;safety climate;บรรยากาศความปลอดภัย;พฤติกรรมความปลอดภัย;นักบิน;safety behavior;pilots;aviation safety
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Safety has been considered as the most essential element in aviation. Past research has revealed that safety climate can positively affect pilots’ safety behaviors; however, no study to date has examined the influence of different levels of safety climate in the context of aviation. This study aims to contribute to the safety literature by testing a causal model of the influence of two levels of safety climates on safety behaviors of pilots in Thailand. The two predictor variables were organizational safety climate and Fleet Safety climates. The mediating variables were safety motivation, safety knowledge and attitudinal pride. The outcome variables (pilots’ safety behavior) were safety organizational citizenship behaviors, which comprise safety participation and safety courtesy. In addition, this study aimed to examine the proposed model was invariant among pilots with high vs. low flying hours. This research used a mixed method approach, which comprises both quantitative and qualitative methods. The population of the quantitative study was Thai pilots from seven airlines and three helicopter operators. The sample size was determined using a stratified sampling technique. The final sample was 610 pilots. Survey questionnaires were used to collect the data. The study hypotheses were tested using structural equation modelling (SEM) technique. The sample for the qualitative study was determined using a purposive sampling technique. The participants were drawn from the same airline companies, comprising 21 participants. In particular, the participants were composed of 7 executives, 7 captain pilots and 7 co-pilots. The qualitative research was conducted using semi-structured, in-depth interview. Content analysis was used for the data analysis. The findings from the quantitative study showed that the proposed structural model fit well with the empirical data. The results showed that both organizational safety climate and fleet safety climate did not directly influence pilots’ safety behaviors. In particular, organizational safety climate was found to positively affect the pilots’ safety behaviors via the mediating roles of safety knowledge and attitudinal pride, whereas fleet safety climate was found to positively affect the pilots’ safety behaviors via the mediating roles of all the three mediators. However, the analysis indicated that the proposed structural model was invariant (i.e., there was no difference) between the pilots with high vs. low flying hours. As for the qualitative study, the results were consistent with those of the quantitative study. In particular, the results showed that both organizational and Fleet Safety climates had a positive influence on pilots’ safety behaviors. Organizational safety climate was reflected in the company policies, executives’ mindsets, safety training and standard operating procedures (SOPs), whereas Fleet Safety climate was reflected in the pilots’ collaboration, communication and mutual respect. Pilots’ safety behaviors were reflected in how they voiced concerns and alerted one another when something appeared to go wrong. Safety knowledge and organizational pride were also found to play a role in influencing pilots’ safety behaviors. The main obstacles in aviation safety were the uncontrollable external factors. Moreover, flying hours and age did not directly affect pilots’ safety behaviors; on the other hand, pilots’ personality traits were found to play a role. While most pilots were conscientious when performing their work roles, it was found that some others were not. Future research should consider conducting a longitudinal design to examine of safety climate and also a comparative study that examines the possible differences between government and private pilots. Uncontrollable external factors affecting pilots’ safety behaviors should also be considered. Finally, future research may also consider developing measurements that are specific to safety in aviation, which likely contain multiple dimensions and longer items.
Abstract(Thai): ความปลอดภัยถือเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของนักบิน การวิจัยในอดีต พบว่า ปัจจัยบรรยากาศความปลอดภัยส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของนักบิน อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการศึกษาอิทธิพลของบรรยากาศความปลอดภัยทั้งระดับองค์กรและระดับฝูงบินในบริบทการบิน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างคุณูปการให้กับวรรณกรรมด้านความปลอดภัยโดยทำการทดสอบแบบจำลองสมการโครงสร้างอิทธิพลของการรับรู้บรรยากาศความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของนักบินในประเทศไทย โดยตัวแปรต้นประกอบด้วยบรรยากาศความปลอดภัยระดับองค์กรและระดับฝูงบิน ตัวแปรคั่นกลาง ประกอบด้วย แรงจูงใจด้านความปลอดภัย ความรู้ด้านความปลอดภัย และความภูมิใจในองค์กรเชิงทัศนคติ ส่วนตัวแปรตามด้านพฤติกรรมความปลอดภัยที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมด้านความปลอดภัย และพฤติกรรมการคำนึงถึงเพื่อนร่วมงาน นอกจากนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของแบบจำลองการวิเคราะห์ดังกล่าวระหว่างกลุ่มนักบินที่มีจำนวนชั่วโมงบินสูงและกลุ่มนักบินที่มีชั่วโมงบินต่ำ การศึกษาวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักบินในประเทศจาก 7 สายการบินและผู้ให้บริการด้านเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 3 บริษัท ในประเทศไทย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างนักบินมาจำนวนทั้งสิ้น 610 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการการสุ่มแบบเจาะจงจากทั้ง 7 สายการบินและผู้ให้บริการด้านเฮลิคอปเตอร์ ได้กลุ่มตัวอย่างมาจำนวนทั้งสิ้น 21 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 7 คน นักบินผู้ควบคุมอากาศยาน (กัปตัน) 7 คน และนักบินผู้ช่วย 7 คน โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยข้อคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยบรรยากาศความปลอดภัยทั้งระดับองค์กรและระดับฝูงบินไม่ส่งผลทางตรงทางตรงต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของนักบินแต่ส่งผลทางอ้อมผ่านอิทธิพลของตัวแปรคั่นกลาง โดยบรรยากาศความปลอดภัยระดับองค์กรส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของนักบินผ่านอิทธิพลของความรู้ด้านความปลอดภัยและความภูมิใจในองค์กรเชิงทัศนคติ ส่วนบรรยากาศความปลอดภัยระดับฝูงบินส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของนักบินผ่านอิทธิพลของทั้ง 3 ตัวแปรคั่นกลาง อย่างไรก็ตาม ผลของการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนข้ามกลุ่มนักบินซึ่งจำแนกโดยจำนวนชั่วโมงบิน พบว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างดังกล่าวสามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มนักบินที่มีจำนวนชั่วโมงบินสูงและจำนวนชั่วโมงบินต่ำ สำหรับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณใน โดยพบว่า ทั้งบรรยากาศความปลอดภัยระดับองค์กรและระดับฝูงบินส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของนักบิน โดยบรรยากาศความปลอดภัยระดับองค์กรสะท้อนจากแนวนโยบายขององค์กร มุมมองและทัศนคติของฝ่ายบริหาร การฝึกอบรม และแนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน ส่วนบรรยากาศความปลอดภัยระดับระดับฝูงบินสะท้อนจากการทำงานร่วมกันของนักบิน การรับฟังความคิดเห็นและการเคารพซึ่งกันและกัน ส่วนการมีส่วนร่วมทางด้านความปลอดภัยปรากฎในรูปแบบการตักเตือนกันและกันหากพบเห็นความผิดปกติ นอกจากนั้นพบว่า ความรู้ของนักบินและความภาคภูมิใจในสายการบินและทัศนคติด้านความปลอดภัยมีความสำคัญต่อพฤติกรรมความปลอดภัย ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยในการบิน คือ ปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยตรง ท้ายที่สุด พบว่า จำนวนชั่วโมงบินรวมถึงอายุของนักบินไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัย แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยของนักบินแต่ละคนมากกว่า โดยนักบินบางคนอาจจะมีความรอบคอบในการปฏิบัติงานสูง ขณะที่บางคนอาจจะขาดความรอบคอบ การศึกษาวิจัยในอนาคตควรทำการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในระยะยาว โดยศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมความปลอดภัยของนักบินในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยระดับบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยด้านการบิน เช่น ลักษณะบุคลิกภาพ นอกจากนั้น ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างแบบวัดเฉพาะในบริบทการบินโดยเฉพาะซึ่งอาจะมีหลายองค์ประกอบและมีความยาวมากกว่าแบบวัดที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
Description: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17933
Appears in Collections:450 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210530006.pdfPATTARACHAT MANEECHAEYE - FMS PSU - 62105300061.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons