Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17874
Title: ผลของไนโตรเจนและแมงกานีสร่วมกับ Bacillus subtilis สายพันธุ์ SM1 ต่อ Rigidoporus microporus สายพันธุ์ NK6 สาเหตุโรครากขาว ของยางพารา (Hevea brasiliensis)
Other Titles: Effect of Nitrogen and Manganese with Bacillus subtilis SM1 Strain on White Root Rot Disease (Rigidoporus microporus NK6 Strain) of Para Rubber (Hevea brasiliensis)
Authors: อัจฉรา เพ็งหนู
อุบลวรรณ ผลทวีชัย
Faculty of Natural Resources (Earth Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาธรณีศาสตร์
Keywords: Bacillus subtilis;Rigidoporus microporus;ไนโตรเจน;แมงกานีส;การควบคุมโรคโดยชีววิธี;ยางพารา
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The southern soils have high development with easy loss of nutrients, especially nitrogen. Most rubber planting areas are acidic soils. Consequently, there is a high solubility of manganese to dissolve beyond the standard. Currently, areas of rubber (Hevea brasiliensis) plantation have increased continuously and neglected proper fertilizers in accordance with the recommendations, cause white root disease of para rubber (Rigidoporus microporus). Bacillus subtilis has been reported as antagonistic to a variety of plant pathogens. The objective of this work was to study the effect of nitrogen and manganese with Bacillus subtilis SM1 strain for inhibiting Rigidoporus microporus NK6 strain and fertilization application with B. subtilis strain SM1 for control white root disease of para rubber (Rigidoporus microporus NK6 strain). The study consisted of two parts. Part 1: Test in the laboratory with 3 factors, nitrogen [(NH4)2SO4], manganese (MnSO4) and a combination of nitrogen and manganese at 5 levels. Part 2: The study investigated the effects of fertilizer with soil test and those which were fertilized with 20-8-20 (control, B. subtilis, R. microporus and B. subtilis + R. microporus). The results of in the combination environment of nitrogen or manganese or nitrogen with manganese, still B. subtilis SM1 strain was able to grow indifferently at all concentration. The increasing of nitrogen levels or nitrogen combined with manganese results a decrease in growth of R. microporus NK6 strain mycelium. Manganese at a concentration more than 0.056 molar decreased the growth of mycelium. With nitrogen or manganese or nitrogen-manganese combination in various concentrations was also inhibited the growth of R. microporus NK6 strain mycelium by more than 80 percent, such as rough mycelium, uneven fiber sizes, distorted growth and distend end of mycelium. Moreover, fertilizer with soil test and those which were fertilized with 20-8-20 and a combination of B. subtilis SM1 strain reduced the incidence of white root rot fungal disease 42-100 percent. Fertilizer application based on soil testing with B. subtilis SM1 strain increased shoot system and stem diameter for rubber. Nitrogen and manganese with B. subtilis SM1 strain was also inhibited the growth of R. microporus NK6 strain mycelium. Fertilizer application based on soil testing with B. subtilis SM1 strain reduced the incidence of white root rot fungal disease by more than 97 percent. There should be further develop to be in formulation.
Abstract(Thai): ดินในภาคใต้ของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นดินที่มีพัฒนาการสูง จึงมีการสูญเสียธาตุอาหารได้ง่ายโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินกรดทำให้แมงกานีสละลายออกมาเกินค่ามาตรฐาน รวมทั้งมีการใช้พื้นที่ปลูกยางพาราอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เดิมและละเลยการใส่ปุ๋ย ทำให้ยางพาราได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ อ่อนแอและเชื้อรา Rigidoporus microporus สาเหตุโรครากขาวเข้าทำลายได้ง่าย โดยแบคทีเรีย Bacillus subtilis มีประสิทธิภาพควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชได้ จึงศึกษาผลของไนโตรเจนและแมงกานีสร่วมกับแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SM1 ในการยับยั้งเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 และการใส่ปุ๋ยร่วมกับแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SM1 ในการควบคุมเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 สาเหตุของโรครากขาวยางพารา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบไปด้วย 1) ทดสอบในห้องปฏิบัติการ มี 3 ปัจจัย คือ ไนโตรเจน [(NH4)2SO4] 5 ระดับ, แมงกานีส (MnSO4) 5 ระดับ และไนโตรเจนร่วมกับแมงกานีส 5 ระดับ 2) การใส่ปุ๋ย 2 แบบ ประกอบไปด้วย 8 ทรีทเมนต์ คือ 1. ปุ๋ยสูตร 20-8-20 และ 2. ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ชุดควบคุม, B. subtilis, R. microporus และ B. subtilis + R. microporus) ผลการศึกษา พบว่า สภาวะที่มีไนโตรเจน หรือแมงกานีส หรือไนโตรเจนร่วมกับแมงกานีส แบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SM1 สามารถเจริญได้ โดยในสภาวะที่มีไนโตรเจน และไนโตรเจนร่วมกับแมงกานีสที่ระดับต่างๆ ทำให้การเจริญของเส้นใยเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 ลดลง และสภาวะที่มีแมงกานีสมากกว่า 0.056 โมลาร์ ทำให้การเจริญของเส้นใยเชื้อราลดลง โดยสภาวะที่มีไนโตรเจน หรือแมงกานีส หรือไนโตรเจนร่วมกับแมงกานีสร่วมกับแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SM1 สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้เส้นใยเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 ผิดปกติ บิดเบี้ยว และปลายเส้นใยโป่งพอง อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยสูตร 20-8-20 ร่วมกับการใช้แบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SM1 สามารถลดการเกิดโรครากขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 ในส่วนของเหนือดินและรากได้ 42-100 เปอร์เซ็นต์ โดยการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการใช้แบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SM1 ทำให้การเจริญเติบโตทางด้านความสูงเหนือดิน เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น และการสะสมธาตุอาหารของต้นยางพาราเพิ่มขึ้น การใช้ไนโตรเจนและแมงกานีสร่วมกับแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SM1 สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 ได้ รวมทั้งการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SM1 สามารถลดการเกิดโรครากขาวของยางพาราที่มีสาเหตุจากเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 ได้มากกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ควรพัฒนาแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SM1 ให้อยู่ในรูปแบบชีวภัณฑ์เพื่อความสะดวกต่อการนำไปใช้
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการทรัพยากรดิน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17874
Appears in Collections:542 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110620050.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons