Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17861
Title: | The Development of an Islam-Based Caring Model for Muslim Family Caregivers of Patients with Peritoneal Dialysis in Southernmost Thailand |
Other Titles: | การพัฒนารูปแบบการดูแลโดยใช้แนวคิดศาสนาอิสลามเป็นฐานสำหรับผู้ดูแลมุสลิมของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย |
Authors: | Piyanuch Jittanoon Sunisa Seephom Faculty of Nursing (Nursing Science) คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
Keywords: | Islam-based caring model;Muslim family caregivers;Peritoneal dialysis;Continuous ambulatory peritoneal dialysis |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Prince of Songkla University |
Abstract: | This technical action research (TAR) aimed to develop an Islam-based caring model for Muslim family caregivers of patients with peritoneal dialysis. The process of the 5Rs consisting of response, reflection, relationship, relatedness, and role modeling in Islamic caring theory, according to Barolia and Karmaliani, integrated with gratitude approach within an Islamic thought of Latheef were used to guide the model. Five Muslim peritoneal dialysis (PD) nurses were the key participants, as well as thirteen Muslim family caregivers, and ten Muslim patients with peritoneal dialysis who were recruited for the study as associate participants. Data were gathered using face to face in-depth interviews, focus group discussion, observation, and field notes. Content analysis was used to analyse the data with initial codes grouped into sub-categories, generic categories, and main categories. Results revealed that the initial Islam-based caring model was composed of three components: inputs, the holistic Islamic caring process, and outcomes. Two main inputs included those from PD nurses and Muslim family caregivers. The essential PD nurses’ competencies in relation to caring for Muslim family caregivers included cultural, holistic nursing, critical thinking competencies, ability regarding peer group support, and holistic Islamic caring process. Muslim family caregivers can be grouped based on the duration of caregiving including less than or equal to and more than three months, which cover slightly different caring activities. The holistic Islamic caring process consisted of the process of caring from an Islamic perspective (5Rs) and the gratitude approach integrated with the nursing process. The relevant strategies for providing a holistic Islamic caring process included health professional collaboration, family meetings, peer group support, and home visits. Two main Islamic perspectives in relation to caring for Muslim family caregivers were required such as the religious doctrines and beliefs, and religious practices. The outcomes of the model included caregiver burden and harmony in life of Muslim family caregivers. The findings revealed that the initial Islam-based caring model had a significant impact on the changes of nurse caring behavior and the reduction of caregiver burden in social and psychological aspects. Meanwhile, harmony in life was improved in terms of encouraging the Muslim family caregivers’ ability to manage caregiving and pleasantness in caregiving. The initial Islam-based caring model can be valued as a holistic caring model. Its benefit therefore can be seen as a basic knowledge that can be used further in developing the body of knowledge in nursing science and of the knowledge of PD nurses, both Muslim and non-Muslim, who can use the model as a guide for nursing care in their practice. The model’s application in a different context may need to be modified before being implemented. |
Abstract(Thai): | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบเทคนิคเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลโดยใช้แนวคิดศาสนาอิสลามเป็นฐานสำหรับผู้ดูแลมุสลิมของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง โดยประยุกต์ใช้กระบวนการดูแล (5Rs) ตามหลักศาสนาอิสลามของบาโรเลียและคาร์มาเลียนี ซึ่งประกอบด้วย การตอบสนอง (response) การสะท้อนคิด(reflection) สัมพันธภาพ (relationship) ความเกี่ยวข้อง(relatedness) และการเป็นแบบอย่าง (role modeling) ร่วมกับแนวคิดความกตัญญูกตเวทีตามหลักศาสนาอิสลามของลาทีฟ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือพยาบาลวิชาชีพมุสลิมที่ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง จำนวน 5 คน และผู้ดูแลมุสลิม จำนวน 13 คน และผู้ป่วยมุสลิมที่ล้างไตทางช่องท้อง จำนวน 10 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลร่วม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการจดบันทึกภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเริ่มต้นด้วยการให้รหัส จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ย่อย หมวดหมู่ทั่วไป และหมวดหมู่หลัก ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่ารูปแบบการดูแลโดยใช้แนวคิดศาสนาอิสลามเป็นฐานสำหรับผู้ดูแลมุสลิมของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องเบื้องต้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดูแลแบบองค์รวมตามหลักศาสนาอิสลาม และผลลัพธ์ สำหรับองค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ซึ่งต้องมีสมรรถนะที่จำเป็นในการดูแลผู้ดูแลมุสลิม คือ สมรรถนะเชิงวัฒนธรรม สมรรถนะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสมรรถนะด้านการพยาบาลแบบองค์รวม และต้องมีความสามารถในการดำเนินกระบวนการกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนและการใช้กระบวนการดูแลแบบองค์รวมตามหลักศาสนาอิสลาม และผู้ดูแลมุสลิม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มตามระยะเวลาการทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล ได้แก่ กลุ่มผู้ดูแลมุสลิมที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 เดือน และกลุ่มผู้ดูแลมุสลิมที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลมากกว่า 3 เดือน องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการดูแลแบบองค์รวมตามหลักศาสนาอิสลาม พัฒนามาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการดูแลและแนวคิดความกตัญญูกตเวทีตามหลักศาสนาอิสลามร่วมกับกระบวนการพยาบาล กลยุทธ์สำคัญที่ใช้ในการดูแลแบบองค์รวมตามหลักศาสนาอิสลามนี้ ได้แก่ ความร่วมมือระหว่างบุคลากรทีมสุขภาพ การประชุมระหว่างทีมที่ดูแลกับครอบครัว การจัดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน และการเยี่ยมบ้าน โดยประยุกต์ใช้หลักศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องได้ เช่น หลักคำสอนและความเชื่อ และหลักการปฏิบัติทางศาสนา และองค์ประกอบที่ 2 ผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแล ได้แก่ ภาระการดูแล และสมดุลชีวิตของผู้ดูแลมุสลิม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการดูแลโดยใช้แนวคิดศาสนาอิสลามเป็นฐานส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดูแลของพยาบาล ลดภาระการดูแลของผู้ดูแลด้านจิตใจและสังคม และเพิ่มสมดุลชีวิตสำหรับผู้ดูแลมุสลิมจากการมีความสามารถในการบริหารจัดการการดูแลและความพึงพอใจในการให้การดูแลที่เพิ่มขึ้น รูปแบบการดูแลโดยใช้แนวคิดศาสนาอิสลามเป็นฐานสำหรับผู้ดูแลมุสลิมของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องเบื้องต้นนี้สามารถใช้เป็นรูปแบบการดูแลแบบองค์รวม และสามารถใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการพัฒนาองค์ความรู้ทางการพยาบาลต่อไปในอนาคต พยาบาลทั้งมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมสามารถใช้รูปแบบการดูแลโดยใช้แนวคิดศาสนาอิสลามเป็นฐานนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลได้ การนำรูปแบบการดูแลไปประยุกต์ใช้ในบริบทที่แตกต่างจากการศึกษาในครั้งนี้อาจจำเป็นต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับบริบทจริงก่อนนำไปใช้ |
Description: | Doctor of Philosophy Degree in Nursing (International Program), 2022 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17861 |
Appears in Collections: | 641 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5810430005.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License