Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17843
Title: | Parental Care for Unplanned Pregnant Adolescent Daughters: Multiple Case Studies |
Other Titles: | การดูแลของบิดามารดาต่อบุตรสาววัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ: การศึกษาหลายกรณี |
Authors: | Sopen Chunuan Wandee Suttharangsee Nonglak Khamsawarde Faculty of Nursing (Nursing Science) คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
Keywords: | Parental Care;Adolescent pregnancy;Teenage pregnancy |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Prince of Songkla University |
Abstract: | Adolescent pregnancy is a critical and global problem. In Thailand, the impact on parents includes feeling of shock, sadness, and shame. In addition, parents of adolescents with unplanned pregnancies are more likely to have high levels of relationship conflict, turmoil, and unhappiness. The family of a pregnant adolescent often takes on the responsibility of providing extra care during and after the pregnancy. The objective of this study was to describe parental care for unplanned pregnant adolescent daughters and to explain factors related to parental care. Descriptive qualitative study using multiple case studies were conducted 6 districts of one northeastern province of Thailand. The informants included 12 families with 57 informants, comprising 24 parents who were key informants and 33 general informants. The data were collected through interviews guiline, participant guiline, field notes, and photographs. Content analyses for qualitative data were used to analyze. The study found that parental care revealed three themes: (1) dealing with the situation of unplanned pregnancy, (2) giving close care to the daughter and her fetus, and (3) directing the pregnant daughter’s academic study and achievement for a better future. Nine factors related to the parental cares were identified as: (1) acceptance by their family members and the community, (2) parent’s childbirth experience, (3) involvement of the daughter’s boyfriend, (4) Buddhist beliefs, (5) grandparents beliefs, (6) doing work to more income, (7) country welfare, (8) modern communication technology, and (9) health care services. The findings are useful for nursing and midwifery practice, nursing education, further research, and policy in the study area to gain more knowledge to create appropriate strategies to promote quality of life of parents of unplanned adolescents and their daughters. |
Abstract(Thai): | การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นถือเป็นปัญหาวิกฤติทั่วโลก ในประเทศไทยผลกระทบที่เกิดกับบิดามารดาได้แก่ ความรู้สึกตกใจ ความเศร้าและความอับอาย นอกจากนี้ บิดามารดาของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจมีแนวโน้มที่จะเกิดความขัดแย้งในความสัมพันธ์ ความสับสนวุ่นวาย และไม่มีความสุขในระดับสูง ครอบครัวของหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจต้องมีภาระรับผิดชอบดูแลเพิ่มขึ้นทั้งในระหว่างที่ตั้งครรภ์และหลังจากนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่ออธิบายการดูแลของบิดามารดาที่มีต่อบุตรสาววัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ และปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลของบิดามารดา ด้วยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากหลายกรณี ดำเนินการใน 6 อำเภอของจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลมาจาก 12 ครัวเรือน รวม 57 คน ประกอบด้วยบิดามารดา 24 คนซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก อีก 33 คนเป็นผู้ให้ข้อมูลทั่วไป การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ตามแนวทางที่กำหนด การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การจดบันทึกงานภาคสนามและการบันทึกภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่า การดูแลของบิดามารดาต่อบุตรสาวมี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การจัดการกับสถานการณ์การตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจของบุตรสาว (2) การดูแลบุตรสาวและลูกในครรภ์อย่างใกล้ชิด และ (3) การกำกับการศึกษาของบุตรสาวให้สำเร็จเพื่อการมีอนาคตที่ดี พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลของบิดามารดา 9 ปัจจัย ได้แก่ (1) การยอมรับจากสมาชิกในครอบครัวและชุมชน (2) ประสบการณ์การมีบุตรของบิดามารดา (3) การมีส่วนร่วมของแฟนหนุ่มของบุตรสาว (4) ความเชื่อในพระพุทธศาสนา (5) ความเชื่อของปู่ย่าตายาย (6) การทำงานเพื่อการมีรายได้เพิ่มขึ้น (7) สวัสดิการของประเทศ (8) เทคโนโลยีที่ทันสมัย และ (9) การบริการด้านสุขภาพ ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การศึกษาทางการพยาบาล การวิจัยในครั้งต่อไป การกำหนดนโยบายในพื้นที่ที่ทำการศึกษา และใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของบิดามารดาที่มีบุตรสาววัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจและตัวบุตรสาวเอง |
Description: | Thesis (Ph.D., Nursing)--Prince of Songkla University, 2021 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17843 |
Appears in Collections: | 641 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5710430008.pdf | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License