Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17630
Title: สมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม ของพนักงานเทศบาล ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Environmental Competencies Affecting Environmentally Responsible Behavior of municipal employees in the area of BangKlam District, Songkhla Province
Authors: จุฑามณี ตระกูลมุทุตา
สัตยา ทิพย์รัตน์
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: สมรรถนะทางสิ่งแวดล้อม;พฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aimed to study the level of competencies and the level of environmental responsibilities behavior of municipal employees under the administrative government organization, Bang Klam District, Songkhla Province and to compared environmental responsibilities behavior by personal factors. Furthermore, this research aimed to study the environmental competencies which effected environmental responsibilities behavior. The 160 questionnaires were collected from municipal employees in the area of Bang Klam District, Songkhla Province, and analyzed by statistical consisting of frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. The relationship between the independent variable and the dependent variable were analyzed by the Pearson correlation coefficient and single linear regression equations. The results of the research found that municipal employees in the area of Bang Klam District, Songkhla Province, had environmental competencies. The positive environmental attitude was at a high level. As for the skills in the environmental work and the environmental knowledge was in the moderate level. And also, had a level of overall environmental responsibilities behavior at a high level while comparing environmental responsibilities behavior classified by personal factors, was found that municipal employees with different educational level showed the difference in responsibilities behavior. And the single linear regression equations showed, the environmental competencies affected the overall environmental responsibilities behavior, which can be described in percentage of 45.6
Abstract(Thai): การวิจัยเรื่อง สมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม ของพนักงานเทศบาล ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อม และระดับพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมของพนักงานเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยเก็บข้อมูลจากพนักงานเทศบาล ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จำนวน 160 คน ด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ทดสอบค่าเอฟ (F-test) การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นเดี่ยว ผลการวิจัย พบว่า พนักงานเทศบาล ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มีสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อม ด้านทัศนคติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านทักษะในการปฏิบัติงานทางสิ่งแวดล้อมและด้านความรู้ทางสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานเทศบาลที่มีระดับการศึกษา และมีประเภทของพนักงานเทศบาลแตกต่างกัน มีระดับพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมโดยรวมแตกต่างกัน และพบว่าสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมโดยรวม ของพนักงานเทศบาล ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยสามารถอธิบายระดับการส่งผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมโดยรวม ได้ร้อยละ 45.6
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17630
Appears in Collections:465 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310521541.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Research Article 6310521541.pdf135.25 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons