Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17606
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์-
dc.contributor.authorยุโสบ บุญสุข-
dc.contributor.authorนัชชิมา บาเกาะ-
dc.contributor.authorอิบรอฮีม ลามี ซาโน-
dc.date.accessioned2022-11-09T03:58:42Z-
dc.date.available2022-11-09T03:58:42Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17606-
dc.identifier.urihttps://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/308924-
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.subjectปอเนาะen_US
dc.subjectศาสนาอิสลาม การศึกษาและการสอนen_US
dc.titleการสังเคราะห์กลยุทธ์การสอนของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหลักสูตรบูรณาการในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และแนวทางการนำไปใช้สำหรบับริบทโรงเรียนชายแดนภาคใต้en_US
dc.title.alternativeรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การสังเคราะห์กลยุทธ์การสอนของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหลักสูตรบูรณาการในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และแนวทางการนำไปใช้สำหรบับริบทโรงเรียนชายแดนภาคใต้en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.contributor.departmentCollege of Islamic Studies (Islamic Studies)-
dc.contributor.departmentวิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)-
dc.contributor.departmentFaculty of Humanities and Social Sciences (Western Languages)-
dc.contributor.departmentคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันตก-
dc.description.abstract-thการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กลยุทธ์การสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาความสัมพันธ์และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ 3) สังเคราะห์กลยุทธ์และพัฒนาแนวทางการนำไปใช้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในบริบทสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูสโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การใช้สถิติบรรยาย และการถดถอยพหุคูณ กลุ่มเป้าหมายหลักคือครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาหลักสูตรบูรณาการ ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเชีย สิงคโปร์ และประเทศไทย และกลุ่มเป้าหมายรองคือผู้บริหารโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่าการศึกษาในศตวรรษที่ 21 คือ การศึกษาที่สร้างผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถปรับตัวและยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารที่ดี และครูสามารถบูรณาการศาสนาในรายวิชา ผู้เรียนรู้เท่าทันสารสนเทศและสื่อเทคโนโลยีการสื่อสาร และสามารถเป็นพลเมืองโลก และครูผู้สอนควรมีคุณลักษณะสำคัญ 9 ด้าน ได้แก่ ครูคือโค้ช ผู้สอนประสบการณ์และทักษะชีวิตแก่ผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างของผู้เรียน สามารถบูรณาการศาสตร์ในการเรียนการสอน ผู้ที่ศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพ รู้ทันเทคโนโลยี มีเทคนิคการสอนที่ทันสมัย และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ในส่วนกลยุทธ์การสอนวิเคราะห์จาก กรอบกลยุทธ์ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 2) การเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน 3) การวิเคราะห์ประเด็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอน 4) การออกแบบการวัดผลและประเมินผลแนวใหม่ 5) ระบบการนำผลการประเมินสู่การการปรับปรุงและพัฒนา และ 6) ระบบประกันคุณภาพการสอน 2) ตัวแปรที่สามารถทำนายกลยุทธิ์การสอนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ตัวแปรแนวทางของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตัวแปรการพัฒนาวิชาชีพของครูผู้สอน ตัวแปรปัจจัยด้านผู้ปกครอง และตัวแปร ด้านนโยบายแห่งรัฐ และตัวแปรที่สามารถทำนายทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ตัวแปรการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน ตัวแปร การประกันคุณภาพการสอน และตัวแปรการปรับปรุงการเรียนการสอน 3) กลยุทธ์จากการสังเคราะห์เพื่อใช้ในบริบทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ได้แก่ 1) กลยุทธ์หลักสูตร สามัญบูรณาการฮิสลาม (บูรณาการสาระการเรียนรู้บูรณาการโครงสร้างรายวิชา) 2) กลยุทธ์การสอน แนวใหม่สำหรับรายวิชาบูรณาการอิสลาม 3) กลยุทธ์การวัดและประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการอิสลาม 4) กลยุทธ์การนำเทคโน่โลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและบริหารจัดการโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 5) กลยุทธ์ระบบพัฒนาครูโรงเรียนบูรณาการโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน และ 6) กลยุทธ์หุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหลักสูตรบูรณาการ ในส่วนแนวทางการนำไปใช้เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีชื่อว่ากระบวนการ "อัพเสิร์น (UPLERN)" ซึ่งประกอบด้วย 6 กระบวนการ คือ 1) การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Understanding) 2) การจัดลำดับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง (Prioritizing) 3) การเรียนรู้ (Leaming) 4) การนำกลยุทธ์ไปใช้และประเมิน (Employing and Evaluation) 5) การให้ผลสะท้อนกลับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Reflecting and Revising) และ 6) การสร้างเครือข่าย (Networking)en_US
Appears in Collections:417 Research
761 Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.