Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17588
Title: คุณภาพน้ำเชื้อและอัตราการมีเชื้อของไข่ในไก่ไข่ลูกผสมหลังการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อสด
Other Titles: Semen quality and fertiloty and fertility of fresh semen artificially inseminarted in the fowl
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง คุณภาพน้ำเชื้อและอัตราการมีเชื้อของไข่ในไก่ไข่ลูกผสมหลังการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อสด
Authors: วรวิทย์ วณิชาภิชาติ
พีรศักดิ์ สุทธิโยธิน
ศยาม ขุนชำนาญ
บรรจบ นะแส
มงคล คงเสน
Faculty of Natural Resources (Animal science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาสัตวศาสตร์
Keywords: ไก่ไข่;น้ำเชื้อ
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): การศึกษาผลของความถี่ในการรีดเก็บน้ำเชื้อและอายุไก่ต่อปริมาณและคุณภาพน้ำเชื้อในไก่ ไข่ลูกผสม ใช้พ่อพันธุ์ไก่ไข่ถูกผสมทางการค้าพันธุ์ ไฮเซค บราวน์ อายุ 24 สัปดาห์ จำนวน 24 ตัว แยกขังในกรงขังรายตัว ขนาค 33 x 60 x 65 เซนติเมตร มีน้ำและอาหารให้กินตลอดเวลา การทดลอง เป็นแบบ 4 X 4 แฟกทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (4 x4 factorial in completely randomized design) โดยจะศึกษา 2 ปัจจัย คือ ความถี่ในการรีดเก็บน้ำเชื้อ 1, 2, 3 และ 5 ครั้งต่อ สัปดาห์ และปัจจัยที่ 2 คืออายุของไก่ทดลองแบ่งเป็น 4 ช่วงอายุ คือ ช่วงที่ 1 ช่วงอายุ 24-27 สัปดาห์ (ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2548), อายุของไก่ทดลองช่วงที่ 2 ช่วงอายุ 36-39 สัปดาห์ (ระหว่างเดือน มีนาคม - เมยายน 2549), อายุของไก่ทดลองช่วงที่ 3 ช่วงอายุ 48-51 สัปดาห์ (ระหว่าง เดือน พฤษภาคม - มิถุนายน 2549) และ อายุของไก่ทดลองช่วงที่ 4 ช่วงอายุ 66-69 สัปดาห์ (ระหว่าง เดือน กันยายน - ตุลาคม 2549) ทำการรีดเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ด้วยการประยุกต์วิธี massage method ของ Quinn and Burrow (1936) การรีดน้ำเชื้อทดลองแต่ละช่วงทำต่อเนื่องจนครบ 4 สัปดาห์ ส่วนในช่วงที่ไม่ได้ทำการ ทดลองจะทำการรีดน้ำเชื้อเหมือนกับช่วงการทดลองแต่ไม่นำน้ำเชื้อมาตรวจคุณภาพ ไม่พบปฏิกิริยาร่วม (interaction) ระหว่างความถี่ในการรีดน้ำเชื้อและอายุของไก่ต่อทุกลักษณะที่ศึกษา ผลของความถี่ในการรีดเก็บน้ำเชื้อ 1, 2,3 และ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อปริมาตรน้ำเชื้อจากการรีด น้ำเชื้อ 1 ครั้ง เป็น 0.34, 0.43, 0.49 และ 0.38 มิลลิลิตร ผลต่อปริมาณน้ำเชื้อใน 1 สัปดาห์เป็น 0.34. 0.86, 1.47, 1.90 มิลลิลิตร ผลต่อความเข้มข้นของตัวอสุจิต่อมิลลิลิตรเป็น 4,070, 4,825, 4,609, 4.104 ล้านเซลล์ ผลต่อจำนวนอสุจิในการรีด 1 ครั้งเป็น 1,498, 2,125, 2,287, 1,583 ล้านเซลล์ ผลต่อจำนวน อสุจิที่รีดได้ต่อสัปดาห์เป็น 1,498, 4,406, 6,926, 7,904 ล้านเซลล์ ตามลำดับ ผลของอายุของพ่อพันธุ์ที่ 24-27, 36-39, 48-51 และ 66-69 สัปดาห์ ต่อการรีดน้ำเชื้อ 1 ครั้ง เป็น 0.45, 0.32, 0.36 และ 0.51 มิลลิลิตร ผลต่อปริมาณน้ำเชื้อต่อสัปดาห์เป็น 1.25, 0.91, 1.01, 1.41 มิลลิลิตร ผลต่อความเข้มข้นของตัวอสุจิเป็นเซลล์ต่อมิลลิลิตรเป็น 4,256, 4,512, 4,299, 4,540 ผลต่อ จำนวนตัวอสุจิต่อการรีด 1 ครั้งเป็น 1,952 1,449, 1,608, 2,484 ล้านเซลล์ ผลต่อจำนวนด้วยอสุจิที่รีด ได้ต่อสัปดาห์เป็น 5,428, 4,027, 4,450, 6,830 ล้านเซลล์ ตามลำดับ
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17588
Appears in Collections:515 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
313366-abstract.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.