Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17555
Title: Factors associated with fatal events from the unrest in the southernmost provinces of Thailand
Other Titles: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ความไม่สงบที่มีผู้เสียชีวิตในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Authors: Rhysa McNeil
Abdunfatah Masamae
Faculty of Science and Technology (Mathematics and Computer Science)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
Keywords: เหตุการณ์ความไม่สงบ
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: Factors associated with fatal events from the unrest in the southernmost provinces of Thailand / ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ความไม่สงบที่มีผู้เสียชีวิตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ บทคัดย่อ/Abstract The unrest in the southernmost provinces of Thailand continues to affect the people residing in the area. The purpose of this study was to describe the trend of the situation, to examine the characteristics of violent events; to determine associated factors of events involving victims, and to determine associative factors of severe violent events. Data from 14 years between 2004 to 2017 were obtained from the Deep South Coordination Center. Characteristics of the events were the date, day of the week, time of the day, province, zone, area and type of unrest. Two dichotomous outcomes were modelled: a violent event involving victims; and a severe violent event, defined as an event in which the percentage of people killed is 75 percent or higher. Separate logistic regression models were applied to determine the associative factors of each outcome. A total of 17,724 violent events during 2004 to 2017 were detected, of which 9,701 (54.7%) involved victims and 3.125 (52.2%) were severe. The proportion of violent events involving victims was higher in Songkhla province compared to Pattani province, and in residential zones compared to the road. Bombings, arson and other violent events had a lower risk of involving victims compared to shootings. The second model revealed that years, times, zones, and type of unrest were significantly associated with the severity of unrest. The odds of a severe violent event occurring in 2016 was lower than the baseline year of 2004. Check-points had a lower risk than roads. Bombings, aggravated assault, arson and other violent events had lower odds of being a severe event than shootings.
Abstract(Thai): เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของเหตุการณ์ อธิบายลักษณะของการเกิดเหตุ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่มีผู้ได้รับผลกระทบและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของเหตุการณ์ ใช้ข้อมูลย้อนหลัง 14 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2560 จากศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปีที่เกิดเหตุ เดือนที่เกิดเหตุ วันที่เกิดเหตุ ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ จังหวัดที่เกิดเหตุ บริเวณที่เกิดเหตุ พื้นที่เกิดเหตุ และลักษณะการก่อเหตุ และตัวแปรตามเป็นแบบสองค่าซึ่งมี 2 ตัวแปร คือ ตัวแปรเหตุการณ์ความไม่สงบที่มีเหยื่อและไม่มีเหยื่อ และตัวแปรความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มีร้อยละของผู้เสียชีวิตมากกว่าหรือเท่ากับ 75 และน้อยกว่า 75 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ และร้อยละ ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ด้วยการทดสอบไคว์สแควร์ และการถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2560 มีเหตุการณ์ความไม่สงบจำนวน 17,724 ครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่มีเหยื่อจำนวน 9,701 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 54.7 และในจำนวนนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีร้อยละของผู้เสียชีวิตมากกว่าหรือเท่ากับ 75 จำนวน 3,125 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 32.2 การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ มี 2 ตัวแบบ ตัวแบบแรก พบว่า ปีที่เกิดเหตุ เดือนที่เกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ขวงเวลาที่เกิดเหตุ จังหวัดที่เกิดเหตุ บริเวณที่เกิดเหตุ และลักษณะการก่อเหตุมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่มีเหยื่อและไม่มีเหยื่อ โดยปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2560 มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่มีเหยื่อน้อยกว่า ปี พ.ศ. 2547 จังหวัดสงขลามีโอกาสเกิดเหตุการณ์มีเหยื่อมากกว่าจังหวัดปัตตานี ในขณะที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่มีเหยื่อน้อยกว่าจังหวัดปัตตานี พื้นที่ที่พักอาศัยมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่มีเหยื่อสูงกว่าบนท้องถนน และการวางระเบิด การก่อกวน การวางเพลิง และอื่น ๆ มีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่มีเหยื่อน้อยกว่าการใช้อาวุธปืน ตัวแบบที่สอง พบว่า ปีที่เกิดเหตุ ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ จังหวัดที่เกิดเหตุ บริเวณที่เกิดเหตุ และลักษณะการกอเหตุ มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของเหตุการณ์ โดยที่ ปี พ.ศ. 2559 มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่มีร้อยละของผู้เสียชีวิตมากกว่าหรือเท่ากับ 75 น้อยกว่า ปี พ.ศ. 2547 จุดตรวจหรือด่านตรวจมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่มีร้อยละของผู้เสียชีวิตมากกว่าหรือเท่ากับ 75 น้อยกว่าบนท้องถนน และการระเบิด การกอกวน การวางเพลิง และอื่น ๆ มีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่มีร้อยละของผู้เสียชีวิตมากกว่าหรือเท่ากับ 75 น้อยกว่าการใช้อาวุธปืน
Description: Thesis (M.Sc.(Research Methodology))--Prince of Songkla University, 2019
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17555
Appears in Collections:746 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1657.pdf950.33 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons