Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17543
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินในการลงทุนอพาร์ทเม้นท์ ในตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
Other Titles: The Financial Feasibility Study on the Investment Project for Apartment in Tubtiang Sub-district, Muang District, Trang
Authors: สุพัตรา โมกขกุล
ธนาวุธ แสงกาศนีย์
วันวิสาข์ ตรังคประสิทธิ์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน;การวิเคราะห์ความไวของโครงการ;การตัดสินใจลงทุน;บ้านห้องชุด
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objective of this research was to study the financial feasibility study on the investment project for apartment in Tubtiang sub-district, Muang district, Trang. The apartment was a three-storey building which consists of 32 rooms. The data were collected by the interview of 3 rental apartment business entrepreneurs in Tubtiang sub-district, Muang district, Trang and 3 building contractors. The duration of the project was 20 years and the discount rate was 9.51%. The data were analyzed through the application of financial analysis; Discount Payback Period (DPB), Net Present Value (NPV), Internal Rate of Return (IRR), Modified of the Internal Rate of Return (MIRR), Profitability Index (PI) and Sensitivity Analysis. The results of the study indicated the financial feasibility on the investment project for apartment was worthwhile, details as follow, the payback period was 13 years 5 months 18 days which was acceptable, the net present value with 9.51% discount rate was 4,021,048 baht, the internal rate of return was 13.33%, modified of the internal rate of return was 11.14% and profitability index was 1.35 times. Moreover, the project sensitivity analysis demonstrated that; in case of the occupancy rate decreased: monthly 70%, daily 50%, in case of the occupancy rate was fixed; the operating expenses increased of 5%, 10% and 15%, the total cost increased of 5% and 10%, the terminal value was 50%, 40% and 30% of total cost. The results of project analysis showed the same way which were also feasible and interesting for investment. However, in case of the occupancy rate decreased: monthly 60%, daily 40% and in case of the occupancy rate was fixed, the total cost increased of 15%, the results of project analysis showed in the different way which were infeasible, therefore the project was denied.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินในการลงทุนอพาร์ทเม้นท์ในตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ซึ่งอพาร์ทเม้นท์ให้เช่าเป็นอาคาร 3 ชั้น จำนวน 32 ห้อง ข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบในการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินของโครงการ ได้มีการเก็บรวมจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ในตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน 3 ราย และผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อประเมินราคาก่อสร้างจำนวน 3 ราย มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการเงินโดยกำหนดระยะเวลาของโครงการ 20 ปี ที่อัตราคิดลด 9.51% โดยใช้เครื่องมือทางการเงินคือ ระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด (DPB) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนของโครงการ (IRR) อัตราผลตอบแทนปรับค่า (MIRR) ดัชนีกำไร (PI) ในการประเมินผลโครงการลงทุน และการวิเคราะห์ความไวของโครงการ (Sensitivity Analysis) ผลการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินของโครงการพบว่าโครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากมีระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลดที่ 13 ปี 5 เดือน 18 วัน เป็นระยะเวลาคืนทุนที่ยอมรับได้ตามสมมติฐานทางการเงินของโครงการคือไม่เกิน 16 ปี มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่อัตราคิดลด 9.51% มีค่าเท่ากับ 4,021,048 บาท _____________________________ 1 นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ kyky.y444@gmail.com อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.ธนาวุธ แสงกาศนีย์ อัตราผลตอบแทนโครงการ (IRR) เท่ากับ 13.33% อัตราผลตอบแทนปรับค่า (MIRR) เท่ากับ 11.14% และค่าดัชนีกำไร (PI) เท่ากับ 1.35 เท่า และนอกจากนี้เมื่อมีการวิเคราะห์ความไวของโครงการ โดยกำหนดให้อัตราการเข้าพักลดลงสำหรับห้องพักรายเดือนเหลือ 70% และห้องพักรายวันเหลือ 50% และที่อัตราการเข้าพักปกติเมื่อมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 5%, 10% และ 15% , ต้นทุนรวมในการเริ่มโครงการที่เพิ่มขึ้น 5%, 10% และมูลค่าซากเมื่อสิ้นสุดโครงการคาดว่าจะขายได้ 50%, 40% และ 30% ของมูลค่าต้นทุนรวมในการเริ่มโครงการ ก็ยังพบว่าโครงการมีความเป็นไปได้และน่าสนใจในการลงทุน อย่างไรก็ตามในกรณีอัตราการเข้าพักลดลงสำหรับห้องพักรายเดือนเหลือ 60% และห้องพักรายวันเหลือ 40% และที่อัตราการเข้าพักปกติเมื่อต้นทุนรวมในการเริ่มโครงการเพิ่มขึ้น 15% จะไม่ยอมรับโครงการเนื่องจากไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17543
Appears in Collections:460 Minor Thesis



This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons