Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17505
Title: | ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท เอมอร์ เอ็นจิเนียริ่ง เซอร์วิส จำกัด |
Other Titles: | Motivation Factors Affecting Employee Engagement: A case study of Amore Engineering Services Co., Ltd. |
Authors: | กุลกานต์ เมเวส ธัญลักษณ์ สุขงาม Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
Keywords: | ความผูกพัน;พนักงานในองค์กร |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The purposes of this research were to study motivation factors affecting employee engagement. Qualitative research method was adopted in this investigation. Researcher used in-depth interview with fourteen employees and focus group interview with the group of four supervisors and group of ten employees as primary data collection methods. The data was analysis by using discourse analysis technique. The findings on in-depth interview suggest that there were three motivating factors are three themes emerged which are 1) achievement 2) recognition and 3) work content. For the hygiene factors, there were three themes emerged which 1) pay 2) relationships among employees and 3) company policies. It appeared that when employee received the motivator factors and hygiene factors, it is likely that there was increasing of engagement level at work. Findings on focus group interview with group of supervisors believed that trust and confident were the key to engagement at the organization. However, group of employees believed that team work, work with pleasure and love can impact the work engagement for employees. This study sheds light on motivation factors, employee perceptions and reasons that effect employee engagement. Results suggest that practical contributions such as reducing turnover rates and creating work engagement for employees. |
Abstract(Thai): | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ในเชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัท เอมอร์ เอ็นจิเนียริ่ง เซอร์วิส จำกัด จำนวน 14 คน แบ่งเป็นพนักงานระดับหัวหน้างาน จำนวน 4 ท่าน และพนักงานระดับปฏิบัติงาน จำนวน 10 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยเทคนิค Discourse Analysis ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยจูงใจที่ส่งผลให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการทำงานแบ่งออกเป็น ปัจจัยจูงใจมีทั้งหมด 3 ประเด็น ดังนี้ 1) ความสำเร็จของงาน 2) การได้รับการยอมรับ และ3) ลักษณะงานที่ทำ และปัจจัยค้ำจุนมีทั้งหมด 3 ประเด็น ดังนี้ 1) เงินเดือนหรือเงินค่าจ้าง โบนัส และรางวัลตอบแทน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน และ 3) นโยบายการบริหารงานขององค์กร เมื่อพนักงานได้รับปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ จะทำให้พนักงานทุ่มเทแรงกายแรงใจ กระตือรือร้นในงาน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร ทำให้พนักงานเกิดความผูกพันกับองค์กรขึ้น สำหรับผลการศึกษามุมมองความผูกพันของกลุ่มพนักงานในองค์กร พบว่ามุมมองความผูกพันของพนักงานกลุ่มระดับหัวหน้างานแบ่งได้ 2 ด้าน ดังนี้ 1) ความเชื่อใจ และ 2) ความเชื่อมั่น สำหรับมุมมองความผูกพันของพนักงานกลุ่มระดับปฏิบัติการสามารถแบ่งได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1) การทำงานเป็นทีม 2) การทำงานด้วยใจ และ 3) การมีใจรักในองค์กร |
Description: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17505 |
Appears in Collections: | 460 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา .pdf | 4.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา -บทความวิจัย.pdf | 197.55 kB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License