Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17492
Title: การขับเคลื่อนนโยบาย “หาดใหญ่เมืองอัจฉริยะ” ของเทศบาลนครหาดใหญ่ : การศึกษากลไก ความคืบหน้า และอุปสรรค ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
Other Titles: Hatyai Smart City Policy Implementation: A Study of Administrative Mechanism, Progress and Challenges
Authors: สมพร คุณวิชิต
พลัง ว่องกิตติพัฒน์
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: เมืองอัจฉริยะ;เทศบาลนครหาดใหญ่
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The primary purpose of this study is to examine the administrative mechanism, progress and challenges of Hatyai Smart City policy implementation. Data were collected using both in-depth interview and focus-group discussion with 29 key informants. The interviews were conducted with 14 key informants, which include Deputy Mayor and Hatyai City Municipality officers. Focus group discussions were conducted with 3 groups of people who live in Hatyai Municipality area. These include business group, a group of small entrepreneurs and student group. Each group comprises 3-5 people. Content analysis was used to analyze the data. Results of the research showed that: 1) Hatyai City began to set up committees and working groups into 3 committees which have different responsibilities. Each working group is composed of officers from different departments of Hatyai Municipality Office. 2) Hatyai Smart City policy has been progressed. They have initiated 7 smart city development projects. These include both projects that are in the process of implementation and fully implemented. 3) The major challenges or problems impeding the progress of Hatyai Smart City policy implementation are attitude of personnel and the lack of electronic equipment. Based on these research findings, Hatyai Municipality should publicize its Smart City policy and the benefits of this policy to create awareness among Hatyai people. It should also open for more opportunities for people to reflect their opinions and shouldreport progress to people every year. This is because one of the most important things that help to achieve Smart City policy implementation is cooperation from all sections and the people.
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนนโยบาย “หาดใหญ่เมือง อัจฉริยะ” ของเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยศึกษากลไกการขับเคลื่อนนโยบายหาดใหญ่เมืองอัจฉริยะ ติดตามความคืบหน้าของการนำนโยบายหาดใหญ่เมืองอัจฉริยะไปปฏิบัติ ศึกษาปัญหา/อุปสรรคใน การขับเคลื่อนนโยบายหาดใหญ่เมืองอัจฉริยะ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค ที่พบระหว่างการนำนโยบายไปปฏิบัติ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวนรวมกัน 29คน ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลหลัก สำหรับ การสัมภาษณ์เชิงลึกได้แก่ผู้บริหารโครงการและเจ้าหน้าที่เทศบาลนครหาดใหญ่14 คน ใช้วิธี คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สำหรับการ สนทนากลุ่มน้ัน ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มอาชีพนักธุรกิจ กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย และกลุ่มเยาวชน กลุ่มละ 3-5 คน รวม 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลดว้ยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปความ ผลวิจัยเป็นดังนี้ 1) กลไกการขับเคลื่อนนโยบายหาดใหญ่เมืองอัจฉริยะ พบว่า เทศบาลนครหาดใหญ่ได้ จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานออกเป็น 3คณะ ซึ่งมีบทบาทที่แตกต่างกันไป โดยรวบรวม ตัวแทนบุคคลากรกองต่าง ๆ ภายในเทศบาลมาเป็นคณะทำงาน 2) การดำเนินนโยบายหาดใหญ่ เมืองอัจฉริยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากการที่เทศบาล นครหาดใหญ่มีโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั้ง 7 ด้าน ซึ่งมีทั้งโครงการที่อย่ใูนช่วงดำเนินการและ โครงการที่จัดทำแล้ว และ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ปัญหาส่วน ใหญ่ที่พบคือทัศนคติของบุคลากร และการขาดเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมและ เพียงพอ ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย คือ เทศบาลนครหาดใหญ่ควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ เมืองอัจฉริยะและประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีการรับรู้ที่ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น จัดกิจกรรมหรือมีช่องทางที่เปิดโอกาสให้คนหลากหลายกลุ่มได้แสดงความ คิดเห็น ควรมีการบูรณาการร่วมกัน และควรมีการรายงานผลให้ประชาชนทราบทุกปีทั้งนี้สิ่งที่ สำคัญที่สุดคือการร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนและจากประชาชน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การนำ นโยบายหาดใหญ่เมืองอจัฉริยะไปปฏิบัติใหเ้กิดผลตามที่คาดหวังได้ดียิ่งขึ้น
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17492
Appears in Collections:465 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310521525.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.