Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17487
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัญชนา สินธวาลัย-
dc.contributor.authorอรรถพล อรุณรัตน์-
dc.date.accessioned2022-09-13T09:17:42Z-
dc.date.available2022-09-13T09:17:42Z-
dc.date.issued2022-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17487-
dc.descriptionวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม), 2565en_US
dc.description.abstractThe purpose of this research was to reduce the loss of materials in bottling water in manufacturing process by applying DMAIC, Six Sigma methodology. The study begins with study the generic issues and define the losses in the process. Majority of loss classified by cost are preform, water treated and closure, respectively. The measure phase can be defined that 4 machines that related with the issues and classified to 8 types of major losses. After brainstorming to find out the root cause by Cause & Effect Diagram, there are 11 solutions to improve the process and successfully solved. 1) Test and Fine tune the appropriate temperature for heating the preforms 2) Changes the spindle set 3) Modify and cleaning Cooling water head supply pipe 4) Optimized the filled level compromise to Thai regulations 5) Standardized filling control criteria 6) Establish working standard, communication the procedure to Stop and re-start process of Filler machine 7) Define the criteria for closure's quality 8) Adjust sensitivity of cap camera to minimized the fault rejection rate by maintain zero defect of product 9) Adjust positioning of Cap conveyor bar to avoid up side down closure 10) Setting leaking bottle detection to avoid losing to further step 11) Categorized the closure's defect and raise prevention from supplier. The finalized to control phase, prevent the repetitive issue. In conclusions, the study under control phase in 3 months showed the effectiveness of decreasing loss trend of materials in process, the loss ratio of Preform was reduce from 0.53% to 0.27% , loss ratio of Water Treated was reduce from 1.45% to 1.28% and loss ratio of Closure was reduce from 0.40% to 0.33%. This result show great impact to loss in process and result to minimized the production cost, where as product quality increasing. In addition, this study assist to obtain more effectiveness of work with standard and strong working system.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectการลดความสูญเสียen_US
dc.subjectกระบวนการผลิตน้ำดื่มen_US
dc.titleการลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด กรณีศึกษา โรงงานผลิตน้ำดื่มen_US
dc.title.alternativeLoss Reduction in Bottling Water Process; Case Study in Bottling Water Manufacturingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Engineering (Industrial Engineering)-
dc.contributor.departmentคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.description.abstract-thงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด โดย ประยุกต์ใช้หลักการ DMAIC ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินงานของซิกซ์ซิกม่า (Six Sigma) ซึ่งขั้นตอนใน การศึกษาเริ่มจากการศึกษาสภาพปัญหาและกำหนดปัญหาความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต โดยความสูญเสียหลักที่มีมูลค่าสูงสุดของกระบวนการคือพรีฟอร์ม (Preform) น้ำ (Water Treated) และฝา (Closure) ตามลำดับ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการวัดสภาพปัญหาโดยศึกษากระบวนการผลิต พบว่ามี4 เครื่องจักรที่ก่อให้เกิดความสูญเสีย จากนั้นแบ่งประเภทการสูญเสียของวัตถุดิบทั้งสามได้เป็น 8 ประเภท และระดมสมองร่วมกับทีมงานเพื่อวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหาโดยใช้เครื่องมือแผนผัง แสดงเหตุและผล (Cause & Effect Diagram) ทำให้ได้มาซึ่งแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทั้งหมด 11 แนวทาง ดังนี้ 1) ทำการทดลองหาค่าอุณหภูมิพรีฟอร์มที่เหมาะสม 2) เปลี่ยนชุด Spindle 3) ปรับปรุงระบบท่อส่งน้ำหล่อเย็นและทำความสะอาดท่อส่ง 4) ทำการทดลองเพื่อหาค่าระดับการบรรจุ น้ำที่เกินระดับน้อยที่สุดและไม่ผิดกฎหมาย 5) สร้างมาตรฐานการควบคุมการบรรจุน้ำ 6) จัดทำ มาตรฐานการทำงาน สื่อสารและอบรมวิธีการหยุดเครื่องบรรจุน้ำและเริ่มการผลิตใหม่ 7) กำหนด มาตรฐานฝาดี-ฝาเบี้ยว 8) ปรับค่าพารามิเตอร์ที่เกิดการสูญเสียฝาน้อยที่สุดโดยที่ไม่เกิด Defect ที่ ผลิตภัณฑ์9) ปรับตั้งบาร์ (Bar) ลำเลียงฝาเพื่อให้เกิดฝาคว่ำน้อยที่สุด 10) ปรับตั้งค่าการรีเจ็คขวดรั่ว หลังการเป่าที่เครื่องเป่าขวดเพื่อให้มีขวดรั่วหลุดผ่านไปบรรจุน้ำได้น้อยที่สุด 11) คัดแยกฝา Batch ที่มี ปัญหาและ Complaint Supplier หลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการควบคุมกระบวนการเพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีก หลังจากการปรับปรุงได้ติดตามผล โดยการควบคุมปัจจัยหลักในระยะเวลา 3 เดือน ผลที่ได้รับ จากงานวิจัยนี้คือสามารถลดสัดส่วนความสูญเสียของวัตถุดิบในกระบวนการผลิตได้ โดยสัดส่วนความ สูญเสียของ พรีฟอร์ม (Preform) จากเดิมร้อยละ 0.53 ลดลงเหลือร้อยละ 0.27 สัดส่วนความสูญเสีย ของน้ำ (Water Treated) จากเดิมร้อยละ 1.45 ลดลงเหลือ 1.28 และสัดส่วนความสูญเสียของฝา (Closure) จากเดิมร้อยละ 0.40 ลดลงเหลือร้อยละ 0.33 ซึ่งการลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ลดลง เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์อีกทั้งยังได้มีการปรับปรุงวิธีการทำงานที่ได้ มาตรฐานและมีระเบียบแบบแผนมากขึ้นอีกด้วยen_US
Appears in Collections:228 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310121011.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons