Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17418
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนวพล แก้วสุวรรณ-
dc.contributor.authorฐะปะนีย์ เทพญา-
dc.date.accessioned2022-04-05T08:27:22Z-
dc.date.available2022-04-05T08:27:22Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17418-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยการประมาณค่าสัดส่วนขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน (1970) ด้วยความเชื่อมั่น 95 % และผู้วิจัยใชวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้ครูจำนวน 285 คน จากโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำนวน 34 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 88 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.6 – 1.0 และค่าความเที่ยงระหว่าง 0.82 – 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.43) 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี ด้านส่วนบุคคลของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.52) ด้านการสนับสนุน ส่งเสริมและกระตุ้นจากผู้บริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.77) ด้านคุณลักษณะของเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.46, S.D. = 0.51) และด้านสภาพบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศทางการสอนของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.76) และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ สู่การประยุกต์ ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยด้านส่วนบุคคลของครู(X1) และปัจจัยด้านสภาพบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศทางการสอนของสถานศึกษา (X4) ทั้ง 2 ปัจจัยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 69.10 และสร้างสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ รูปคะแนนดิบ = 1.464 + .587 (X1) + -.050 (X2) + .008 (X3) + .132 (X4) รูปคะแนนมาตรฐาน Y = .711 (ZX1) + -.089 (ZX2) + .009 (ZX3) + .235 (ZX4)en_US
dc.description.sponsorshipคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีen_US
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศen_US
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนen_US
dc.subjectไทย (จังหวัดชายแดนภาคใต้)en_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานีen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Adoption on Information Technology to Apply Utilization in Teaching of Teachers in Opportunity Expansion School, Pattani Primary Educational Service Area (PESA) at Pattani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Humanities and Social Sciences (Library and Information Science)-
dc.contributor.departmentคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์-
dc.description.abstract-thThe purposes of this research were 1) to study the level of adoption on information technology to apply utilization in teaching of teachers in opportunity expansion school, Pattani Primary Educational Service Area (PESA) at Pattani province 2) to explore the level of factors affecting adoption on information technology to apply utilization in teaching of teachers in opportunity expansion school, Pattani Primary Educational Service Area (PESA) at Pattani province and 3) to provide factors affecting and create predicting equation of factors affecting adoption on information technology to apply utilization in teaching of teachers in opportunity expansion school, Pattani Primary Educational Service Area (PESA) at Pattani province. The samples were used to select 285 primary and secondary teachers in opportunity expansion school, Pattani Primary Educational Service Area (PESA) at Pattani province from 34 school by estimating the sample size proportion according to Krejcie and Morgan tables (1970) with 95% confidence and employ the simple random sampling. The research instrument comprised 88 items of 5 rating scales questionnaire, the index of congruency between 0.6 – 1.0, and the alpha reliability between 0.82 – 0.98. The obtained data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis: enter method. The result of the study revealed that 1) there was a high level of adoption on information technology to apply utilization in teaching of teachers in opportunity expansion school, Pattani Primary Educational Service Area (PESA) at Pattani province ( = 4.25, S.D. = 0.43) 2) there were level of factors affecting adoption on information technology to apply utilization in teaching of teachers in opportunity expansion school, Pattani Primary Educational Service Area (PESA) at Pattani province consist of teacher's personal was a high level ( = 4.12, S.D. = 0.52), supporting, encourage and motivate from administrator was a high level ( = 4.12, S.D. = 0.77), features of technology or innovation was a moderate levelen_US
Appears in Collections:421 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rs0015_65.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.