Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17348
Title: แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
Other Titles: The Study of Best Practice of e-Commerce on Social Networking directions to OTOP
Authors: อัจฉรา หลีระพงศ์
ชนกภัทร ดาราสุริยงค์
Faculty of Commerce and Management
คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ
Keywords: แนวปฏิบัติที่ดี;พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์;โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์;การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this study were to explore the best practice of e-commerce on social networking, which affect successful social commerce of OTOP entrepreneurs in terms of the components of social media marketing communication, the methods and strategies of case study and the important related factors in social commerce process. The study was a qualitative research by using a content analysis and Netnography, the data were collected from 53 Facebook Fanpages of business samples and conducting in-depth interviews. Purposive sampling technique was used with entrepreneurs who have been successful digital entrepreneurs. The research results revealed that 1) in terms of the methods for creating the marketing communication content, most entrepreneurs presented the content related to their products, brands, promotional information as well as contact channels, which are consistent with the informational, generic, pre-emotive and incentive strategies. The content was presented in texts with photos, links, hashtags and emoticons with an ongoing posting frequency without the definite time. Moreover, the content was created by the entrepreneurs, using Facebook Fanpage and Line in the main channels. In addition, 2) the finding revealed that there were six steps for social commerce business as follows: 2.1) focusing on product quality, which has a major effect on brand image and brands’ credibility, 2.2) Brand positioning and brand identity, 2.3) Target customers, 2.4) Marketing communication through social media, 2.5) Selling and purchasing, and 2.6) Customer relationship management. The OTOP entrepreneurs are able to use the results of the research for planning the marketing communication, the marketing strategy as well as the successful social commerce process for running their own business.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับกิจการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในประเด็นองค์ประกอบของการสื่อสารการตลาดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมทั้งกระบวนการและกลยุทธ์ที่สำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการศึกษาทางมานุษยวิทยาทางอินเตอร์เน็ต (Netnography) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสำรวจเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของกิจการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 53 กิจการ ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีแบบแผน (Semi-Structured Interview) ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sample) โดยคัดเลือกจากกิจการที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบ[การสื่อสารการตลาดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบการมุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาประเภทข้อมูลผลิตภัณฑ์และแบรนด์ ร่วมกับการประชาสัมพันธ์ และช่องทางการสื่อสาร ด้วยกลยุทธ์การให้ข้อมูล กลยุทธ์แบบทั่วไป กลยุทธ์การกล่าวอ้างก่อนคนอื่น และกลยุทธ์สิ่งจูงใจ ในรูปแบบข้อความ รูปภาพ ลิงก์ แฮชแท็ก และสัญรูปอารมณ์ ผู้ประกอบการเป็นผู้ริเริ่มและนำเสนอเนื้อหาด้วยตนเอง โดยใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจและไลน์เป็นช่องทางหลัก 2) ผู้ประกอบการมีกระบวนการในการสื่อสารการตลาด ดังนี้ 2.1) การให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ 2.2) การวางตำแหน่งและการกำหนดอัตลักษณ์ของแบรนด์ 2.3) กำหนดผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 2.4) การสื่อสารการตลาด 2.5) การจำหน่ายสินค้า 2.6) การบริหารความสัมพันธ์กับผู้บริโภคหลังการขาย โดยผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการที่สนใจสามารถนำผลจากงานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้ เพื่อการวางแผนและพัฒนาการสื่อสารการตลาด กลยุทธ์การตลาด และกระบวนดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับกิจการของตนเองได้
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (กลุ่มวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17348
Appears in Collections:942 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6250121004.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons