Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17346
Title: ความรู้ความเข้าใจมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ในประเทศไทย
Other Titles: Knowledge and Understanding on TFRS 13 (Revised 2016) Fair Value Measurement in Thailand
Authors: กุลวดี ลิ่มอุสันโน
นูรไอนี หมาดหมีน
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาการบัญชี
Faculty of Management Sciences (Accountancy)
Keywords: Fair Value Measurement;งบการเงิน
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This objectives of this research were to study the perception in Thai Financial Reporting Standards 13 Fair value measurement, the relationship between personal factor of Thai accountants and he perception in Thai Financial Reporting Standards 13 Fair value measurement and study of problem and obstacles in Thai Financial Reporting Standards 13 Fair value measurement. The samples of this study were 206 accountants. Questionnaires were used to collect data from Thai accounts. Descriptive analysis and multiple regression analysis were used to analyze the data. The results reveal that the perception in Thai Financial Reporting Standards 13 Fair value measurement is in medium level. There is on significant relationship between personal factors (gender, age, level of education, work experience and business) and perception in Thai Financial Reporting Standards 13 Fair value measurement. Moreover, the problem and obstacles in Thai Financial Reporting Standards 13 Fair value measurement is in high level. The result of this study reveal the knowledge and understanding profile of Thai accountants; which are used by Federation of Accounting Professions to monitor and development. Thai accountants will be able to prepare financial statements in accordance with the financial reporting standards which will be beneficial for their business in the long term.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 การวัดมูลค่ายุติธรรม (2) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ทำบัญชีกับความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 การวัดมูลค่ายุติธรรม (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทำบัญชี เกี่ยวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 การวัดมูลค่ายุติธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ทำบัญชี ซึ่งดำเนินงานในรูปแบบบริษัทจำกัด (มหาชน) ในประเทศไทย และใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการทดสอบความถดถอยเชิงพหุในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า (1) ความรู้ความเข้าใจของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 การวัดมูลค่ายุติธรรม โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ทำบัญชีกับความรู้ความเข้าใจต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 การวัดมูลค่ายุติธรรม พบว่า ไม่พบความสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ทำบัญชี ซึ่งประกอบไปด้วยเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และประเภทกิจการ กับความรู้ความเข้าใจต่อมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 การวัดมูลค่ายุติธรรม (3) ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 การวัดมูลค่ายุติธรรม พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมาก โดยผล การวิจัยในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวของผู้ทำบัญชีในประเทศไทย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการกำกับดูแล ส่งเสริมและพัฒนาให้แก่นักบัญชี เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการต่อไป
Description: บัญชีมหาบัณฑิต (บัญชี), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17346
Appears in Collections:464 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910521722.pdf16.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons