Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17313
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพระบบติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าวิชาโครงงาน ด้วยกลไกการแจ้งเตือน กรณีศึกษา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่
Other Titles: The Improvement of Monitoring and Evaluation System for Project Progress with Notification Alert Mechanism : A Case Study of Information Technology, Hatyai Technical College
Authors: สูรีนา มะตาหยง
สมยศ โกรัมย์
Faculty of Engineering Management of Information Technology
Keywords: ระบบติดตามและประเมินผล;ระบบแจ้งเตือน
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The improvement of monitoring and evaluation system for project progress with notification alert mechanism: a case study of information technology, Hatyai Technical College was conducted to solve problems as follows: the process for the project was delayed since there is no storage system to save relevant information in monitoring and evaluating the project, the lack of tools to coordinate when reporting, monitoring and encouraging students to make timely project progress. As a result, students are unable to complete the project within the specified time frame and are unable to complete the program as required. This research applied 1) Google Apps for Education to designed and developed a system to store information about project subjects 2) Line Notification API to notify of activities for monitoring and evaluation process; and 3) Lean Management used to manage process reductions and measure work efficiency with pre and post lean process. The results showed that evaluation of invention/innovation projects, part 1 during the first 4 weeks (Planning) decreased by 420 minutes or 8.5 percent; part 2 during 7-10 weeks of work (Process) decreased 90 minutes, representing 19 percent; part 3 at the end of the 4-week operation (Product), decreased by 1,425 minutes, accounting for percent 2) evaluation of the experimental/development research project, part 1, during the first 4th week (Planning) decreased 420 minutes, equivalent to 8.5 percent; part 2 during the 7-10 weeks of operation (Process) decreased 930 minutes, equivalent to 3.7 percent; part 3 at the end of the 4-week operation ( Product), a decrease of 530 minutes or percent. Based on the user satisfaction assessment of the system. It was found that the average satisfaction in using the system was 4.57 at the most satisfied level. And the average satisfaction with the system performance was 4.67, at the most satisfied level.
Abstract(Thai): การเพิ่มประสิทธิภาพระบบติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าวิชาโครงงาน ด้วยกลไกการแจ้งเตือน กรณีศึกษา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ความล่าช้าของการดำเนินงานวิชาโครงงานเนื่องจากไม่มีระบบจัดเก็บเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการติดตามและการประเมินผลความก้าวหน้า ขาดเครื่องมือในการติดต่อเพื่อประสานงานในการรายงานเกี่ยวกับการติดตามและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความก้าวหน้าของโครงงานได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถจัดทำโครงงานได้ตามกรอบเวลาที่กำหนดและไม่สามารถสำเร็จการศึกษาตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ งานวิจัยชิ้นนี้ประยุกต์ใช้ 1) กูเกิล แอป ออฟ อิดูเคชั่น (Google Apps for Education) ออกแบบและพัฒนาระบบเพื่อจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิชาโครงงาน 2) ไลน์ โนติฟิเคชั่น เอพีไอ (Line Notification API) มาช่วยในส่วนของการแจ้งเตือนและติดตามการประเมินผลรายวิชาโครงงาน และ 3) การจัดการแบบลีน (LEAN) เพื่อจัดการการลดขั้นตอนและการวัดประสิทธิภาพในการทำงานด้วยวิธีการก่อนและหลัง ผลการประเมินประสิทธิภาพหลังจากการทำลีนพบว่า 1) การประเมินผลวิชาโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรม ส่วนที่ 1 ในช่วง 4 สัปดาห์แรก (Planning) ลดลง 420 นาที คิดเป็นร้อยละ 8.5 ส่วนที่ 2 ในช่วงระหว่างดำเนินงาน 7-10 สัปดาห์ (Process) ลดลง 90 นาที คิดเป็นร้อยละ 19 ส่วนที่ 3 ในช่วงสิ้นสุดการดำเนินงาน 4 สัปดาห์ (Product) ลดลง 1,425 นาทีคิดเป็นร้อยละ 9 2) การประเมินผลวิชาโครงงานประเภทวิจัยทดลอง/วิจัยพัฒนา ส่วนที่ 1 ในช่วง 4 สัปดาห์แรก (Planning) ลดลง 420 นาที คิดเป็นร้อยละ 8.5 ส่วนที่ 2 ในช่วงระหว่างดำเนินงาน 7-10 สัปดาห์ (Process) ลดลง 930 นาทีคิดเป็นร้อยละ 3.7 ส่วนที่ 3 ในช่วงสิ้นสุดการดำเนินงาน 4 สัปดาห์ (Product) ลดลง 530 นาทีคิดเป็นร้อยละ 9 จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ พบว่าความพึงพอใจในด้านการใช้งานระบบโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.57 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด และความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพของระบบเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17313
Appears in Collections:229 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910121058.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons