Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17285
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า-
dc.contributor.authorกิตติพร นพจนสุภาพ-
dc.date.accessioned2021-09-17T02:52:14Z-
dc.date.available2021-09-17T02:52:14Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17285-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การบริหารการพัฒนาสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562en_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในอำเภอเมือง จังหวัด ปัตตานี มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 3) แนวทางการพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี การศึกษาใช้การผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิง คุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิง ปริมาณ ได้แก่ แรงงานแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในจังหวัดปัตตานีจำนวน 400 คน เชิงคุณภาพ ได้แก่ แรงงานข้ามชาติที่ทำงานในจังหวัดปัตตานีที่เป็นลูกจ้าง จำนวน 13 คน นายจ้างที่มีการจ้างแรงงานข้าม ชาติทำงานในจังหวัดปัตตานี จำนวน 3 สถานประกอบการ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบด้าน การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ด้านผู้ให้บริการแก่แรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและที่ไม่ จดทะเบียนตามกฎหมายมีความคิดเห็นตรงกันเรื่องเจ้าหน้าที่ให้ความใส่ใจในการบริการในระดับมากที่สุด ด้านนโยบายการบริหารของสถานบริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนและที่ไม่จดทะเบียนมีความ คิดเห็นตรงกันเรื่องให้บริการด้านสุขภาพที่เหมือนกันระหว่างแรงงานข้ามชาติกับคนไทย ด้านการบริการ แรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนเห็นว่าสถานบริการสุขภาพมีสิ่งอำนวยความสะดวก ขณะที่แรงงานข้ามชาติที่ ไม่จดทะเบียนเห็นว่าได้รับการบริการตรวจสอบสิทธิ์ในการรักษามากที่สุด ด้านผู้ใช้บริการแรงงานข้ามชาติ ที่จดทะเบียนมีความสะดวกรับบริการนอกเวลาราชการ ส่วนแรงงานข้ามชาติที่ไม่จดทะเบียนระยะเวลาใน การเดินทางที่ใกล้ไปยังสถานบริการสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัญหาและอุปสรรคการเข้าถึงบริการ สุขภาพของแรงงานข้ามชาติ คือ เจ้าหน้าที่มักไม่สนใจการเข้ารับการบริการ สถานบริการสุขภาพไม่มีล่าม แปลภาษา 3) แนวทางการพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติการพัฒนาศักยภาพ เจ้าหน้าที่รัฐด้านภาษา การบริการ และรัฐควรจัดสรรงบการบริการด้านสุขภาพแก่แรงงานข้ามชาติen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีen_US
dc.subjectแรงงานข้ามชาติen_US
dc.subjectการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพen_US
dc.titleการเข้าถึงการบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีen_US
dc.title.alternativeAccess to Health Services of Migrant Workers in Mueang District, Pattani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences)-
dc.contributor.departmentคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์-
dc.description.abstract-thThe study of the healthcare system for migrant workers in Mueang district, Pattani province aimed to (1) examine the factors, (2) the problems, and (3) the improvement guidelines on the access to the healthcare service of the migrant workers in Mueang district, Pattani province. This study employed both quantitative and qualitative approaches. The purposive sampling of 400 migrant workers in Pattani was used in the quantitative approach. In terms of qualitative approach, the participants were thirteen migrant workers in Pattani, the employers of the migrant workers from three enterprises, and three public health officers who were responsible for the healthcare system for the migrant workers. The findings revealed that (1) in terms of the factors in the access to the healthcare service in Mueang, Pattani, both registered and non-registered migrant workers rated the hospitality of the officer as the highest rank. In terms of the management policy of the healthcare center, it was found that both groups of migrant workers agreed that the healthcare service provided to both migrant workers and the locals were equal. In terms of the service, the registered migrant workers rated for the facilities, while the non-registered rated for the checking of the treatment right as the highest rank The results also shown that, as visitors, the registered workers were convenient with the after-hours service, whereas the non-registered considered the travel distance to the nearest healthcare center at the highest level. Furthermore, it was found that (2) the problems in the access to the healthcare system of the migrant workers were the negligence of the officers and there was no translator provided. Lastly, (3) with regards to the improvement guidelines on the access to the healthcare system of the migrant workers, the results reflected that the language proficiency of the officer should be enhanced and the budget on the healthcare system of the migrant workers should be allocateden_US
Appears in Collections:427 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1627.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.