Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17069
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยะนุช ปรีชานนท์ | - |
dc.contributor.author | กัญชริญา พรหมแก้ว | - |
dc.date.accessioned | 2021-05-18T06:42:30Z | - |
dc.date.available | 2021-05-18T06:42:30Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17069 | - |
dc.description | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | ความใส่ใจสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การรับรู้คุณประโยชน์ | en_US |
dc.subject | ทัศนคติ | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพ การรับรู้คุณประโยชน์และทัศนคติต่อการดื่มกาแฟของผู้บริโภคชาวพัทลุง | en_US |
dc.title.alternative | The Relationship between Health Consciousness, Perceived Value and Attitude toward Coffee Consumption of consumer in Phatthalung | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Management Sciences (Business Administration) | - |
dc.contributor.department | คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ | - |
dc.description.abstract-th | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพกับทัศนคติต่อการดื่มกาแฟ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณประโยชน์กับทัศนคติต่อการดื่มกาแฟ รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพและการรับรู้คุณประโยชน์ของกาแฟ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เคยบริโภคกาแฟในจังหวัดพัทลุง จำนวน 385 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เพศหญิง ร้อยละ 55.06 มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 26.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนตํ่ากว่า 10,000 บาท ร้อยละ 31.95 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 40.78 เป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 39.48 มีความถี่ในการดื่มกาแฟวันละครั้ง ร้อยละ 53.77 และมีวัตถุประสงค์ในการดื่มกาแฟเพื่อแก้ง่วง ร้อยละ 54.29 การศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ความใส่ใจสุขภาพกับทัศนคติต่อการดื่มกาแฟไม่มีความสัมพันธ์กัน ความใส่ใจสุขภาพและการรับรู้คุณประโยชน์ของกาแฟไม่มีความสัมพันธ์กัน และการรับรู้คุณประโยชน์มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับทัศนคติต่อการดื่มกาแฟ ในระดับปานกลาง กล่าวคือผู้บริโภคกาแฟที่มีการรับรู้คุณประโยชน์ของกาแฟมากจะมีทัศนคติต่อการดื่มกาแฟในระดับมากเช่นกัน ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการกระตุ้นให้ผู้บริโภคดื่มกาแฟมากขึ้น จะต้องนำเสนอคุณประโยชน์ของกาแฟมากกว่ากระตุ้นในเรื่องของการรักสุขภาพ | en_US |
Appears in Collections: | 460 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
80.ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพ การรับรู้คุณประโยชน์.pdf | 693.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
80.ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพ การรับรู้คุณประโยชน์-บทความ.pdf | 456.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License