Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15912
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิตติมา, เสถียรวุฒิกุล
dc.date.accessioned2016-02-03T08:27:17Z
dc.date.accessioned2021-05-17T11:51:49Z-
dc.date.available2016-02-03T08:27:17Z
dc.date.available2021-05-17T11:51:49Z-
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15912-
dc.description.abstractพันธกิจประการหนึ่งของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่ใช้ Spatial Database เป็นฐานข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่ในพื้นที่ตำบลชายฝั่ง ที่ถูกกำหนดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าเป็น “พื้นที่ชายฝั่ง” ซึ่งครอบคลุมในจังหวัดชายฝั่งทะเลทั้ง 24 จังหวัดของประเทศไทยฐานข้อมูลดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นโดยใช้อัตราส่วนมาตรฐานซึ่งเป็นมาตราส่วนที่ใช้ในหน่วยงานด้านภูมิสารสนเทศของประเทศไทย และเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย กระบวนการจัดทำข้อมูลใช้วิธีซ้อนทับและวิเคราะห์ข้อมูลหลายชั้นร่วมกัน ได้แก่ ข้อมูลขอบเขตการปกครอง ข้อมูลแนวชายฝั่งทะเล พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่เกาะพื้นที่ทะเลสาบ และพื้นที่การจัดการที่ดินชายฝั่งผลจากการศึกษาและพัฒนาฐานข้อมูลพบว่า ขอบเขตความรับผิดชอบเชิงพื้นที่บนบกของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประกอบด้วย จังหวัดชายทะเล 24 จังหวัด 148 อำเภอ 836 ตำบล ในพื้นที่34,828.03 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,767,515.96 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.04 ของพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเล และร้อยละ 6.79 ของพื้นที่ประเทศไทย พื้นที่ชายฝั่งเหล่านี้ประกอบด้วยตำบลที่มีลักษณะต่างๆ กันดังนี้คือ ตำบลที่ติดทะเล ตำบลที่มีป่าชายเลน ตำบลที่อยู่บนเกาะ ตำบลที่ติดทะเลสาบ และตำบลในเขตจัดการที่ดินชายฝั่ง จำนวน 320, 381, 30, 41 และ 816 ตำบลตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีตำบลที่อยู่นอกเขตจัดการที่ดินชายฝั่ง 20 ตำบลที่มีพื้นที่ป่าชายเลน ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อกำหนดพื้นที่ที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มีความเข้าใจตรงกันในขอบเขตพื้นที่ชายฝั่ง และข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ เพื่อจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการพัฒนาแผนการจัดการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนชายฝั่งตลอดจนเจ้าหน้าที่ทั้งของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและหน่วยงานอื่น ในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนโดยใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งth_TH
dc.subjectคุณภาพสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.titleการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งระดับตำบลth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.