Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15275
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอัมพร, ทองไชย-
dc.date.accessioned2016-01-18T02:36:14Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T11:24:21Z-
dc.date.available2016-01-18T02:36:14Z-
dc.date.available2021-05-17T11:24:21Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15275-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ฤดูแล้ง ปี 2546 ของเกษตรกร ในจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม และทัศนคติของเกษตรกร พฤติกรรม การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ฤดูแล้ง ปี 2546 ของเกษตรกร และทดสอบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และสังคมกับพฤติกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โดยทำการศึกษาจากเกษตรกรผู้ร่วมดำเนินงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ฤดูแล้ง ปี 2546 กับศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพัทลุง ในพื้นที่ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จำนวน 62 ราย ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) จากบัญชีรายชื่อเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์จำนวน ทั้งสิ้น 142 ราย โดยวิธีการใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 49.96 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้นมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 54.80 มีประสบการณ์การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 8.20 ปี ขนาดพื้นที่ ทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 11.09 ไร่ มีแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.04 คน รายได้ของครอบครัวต่อปีโดยเฉลี่ย 55,903.22 บาท มีความถี่ในการพบปะกับเจ้าหน้าที่เฉลี่ย 3.14 ครั้งต่อฤดูการผลิต เกษตรกรมีความเชื่อถือต่อศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพัทลุงในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 67.74 มีความเชื่อถือระดับมากและระดับน้อยจำนวนเท่ากันคือร้อยละ 16.13 และมีทัศนคติต่อการดำเนินงานของศูนย์ในภาพรวมอยู่ในระดับดีทุกราย สำหรับพฤติกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร พบว่ามีพฤติกรรมเหมาะสมในระดับปานกลางร้อยละ 74.19 ระดับสูงและระดับต่ำร้อยละ 16.13 และ 9.68 ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยอิสระกับพฤติกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร พบว่าปัจจัยด้านการพบปะกับเจ้าหน้าที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร ส่วนปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ขนาดพื้นที่ทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว แรงงานใน ครอบครัว รายได้ของครอบครัว ความเชื่อถือ และทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร ปัญหาของเกษตรกรที่พบได้แก่ กระสอบปอบรรจุเมล็ดพันธุ์ข้าวซื้อคืนสภาพชำรุด การระบาดของแมลงศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การระบาดของวัชพืช การควบคุมระดับน้ำในแปลงขยายพันธุ์ก่อนการเก็บเกี่ยว และราคาซื้อคืนต่ำ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้ส่วนราชการ เพิ่มพื้นที่ทำแปลงขยายพันธุ์มากขึ้น เพิ่มปริมาณซื้อคืนต่อไร่ เพิ่มราคาซื้อคืนผลผลิต และให้เจ้าหน้าที่พบปะกับเกษตรกรให้มากขึ้นกว่าเดิมth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.subjectความไม่มั่นคงทางอาหารth_TH
dc.titleพฤติกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ฤดูแล้งปี 2546 ของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุงth_TH
dc.typeOtherth_TH
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.