Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15256
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปัญจพล, บุญชู-
dc.date.accessioned2016-01-18T02:30:58Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T11:23:40Z-
dc.date.available2016-01-18T02:30:58Z-
dc.date.available2021-05-17T11:23:40Z-
dc.date.issued1994-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15256-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ศึกษาผลกระทบของการส่งเสริมการเกษตรระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนต่อการใช้วิทยาการแผนใหม่สำหรับระบบการทำฟาร์มที่ประกอบด้วยการทำสวนยางพารา ไม้ผล และนาปี ในระหว่างปีเพาะปลูก 2528/29 และปีเพาะปลูก 2534/35 ของชาวไทยมุสลิมผู้ใช้ภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้เป็นภาษาพูด โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529 กับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งที่สองเมื่อง พ.ศ. 2535 ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา จำนวน 119 ตัวอย่าง ได้จากรายชื่อเกษตรกรชาวไทยมุสลิมที่ใช้ในการสำรวจครั้งแรก ผลจากการวิจัยผลกระทบของการส่งเสริมระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนต่อการทำสวนยางพารา พบว่า มีเกษตรกรชาวไทยมุสลิมผู้ทำสวนยางพาราจำนวนเพิ่มขี้นยอมรับวิทยาการแผนใหม่ เช่น การใช้ยางพาราพันธุ์ส่งเสริม การปลูกพืชคลุมดิน การใช้ปุ๋ยเคมีในระยะก่อนและหลังให้ผลผลิต แต่เป็นการยากที่จะสรุปว่าเป็นผลกระทบจากการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรระบบฝึกอบรมเพียงประการเดียว เพราะสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทที่สำคัญในระยะแรกของการทำสวนยางพาราคือในระยะการสงเคราะห์ การส่งเสริมการเกษตรระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนมีบทบาทและผลกระทบที่สำคัญในระยะที่สวนยางพาราพ้นการสงเคราะห์แล้ว การส่งเสริมการทำสวนไม้ผลและทำนาปี มีความแตกต่างจากการส่งเสริมการทำสวนยางพารา เพราะการส่งเสริมการทำสวนไม้ผลและนาปี มีสำนักงานเกษตรอำเภอรัตภูมิที่รับผิดชอบโดยตรง ผลกระทบต่อการทำสวนไม้ผล คือ มีเกษตรกรชาวไทยมุสลิมผู้ทำสวนทุเรียนและเงาะจำนวนมากขึ้นยอมรับวิทยาการแผนใหม่ เช่น การใช้ทุเรียนและเงาะพันธุ์ส่งเสริม การใช้ปุ๋ยเคมี การตัดแต่งกิ่นและใช้สารกำจัดแมลง ผลกระทบต่อการทำนาปี คือ มีเกษตรกรชาวไทยมุสลิม ผู้ทำนาปีจำนวนมากขึ้นยอมรับวิทยาการแผนใหม่สำหรับทำนาปี เช่น การใช้ข้าวพันธุ์ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงกล้า หลังจากการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนในบ้านคลองกั่วประมาณ 9 ปี เกษตรกรชาวไทยมุสลิมกลุ่มนี้มีสถานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นในรูปของรายได้และจำนวนผู้เป็นเจ้าของเครื่องมือด้านการเกษตรและสิ่งของประเภทฟุ่มเฟือยที่เพิ่มขึ้นth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.subjectการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมth_TH
dc.subjectความไม่มั่นคงทางอาหารth_TH
dc.titleผลกระทบของการส่งเสริมการเกษตรระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนต่อระบบการทำฟาร์มของชาวไทยมุสลิม : กรณีบ้านคลองกั่ว ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาth_TH
dc.typeOtherth_TH
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.