Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15241
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิมล, สิงหะพล | - |
dc.date.accessioned | 2015-10-08T08:57:07Z | - |
dc.date.accessioned | 2021-05-17T11:23:12Z | - |
dc.date.available | 2015-10-08T08:57:07Z | - |
dc.date.available | 2021-05-17T11:23:12Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15241 | - |
dc.description.abstract | การระบาดของศัตรูพืชนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายใน ได้แก่ ลักษณะปลูกพืชที่เป็นพื้นที่กว้างติดต่อกันนาน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชปริมาณมากทำให้ศัตรูธรรมชาติตาย และปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ศัตรูพืชขยายปริมาณเพิ่มมากขึ้นและเกิดการพัฒนาสายพันธุ์ให้ต้านทานทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ทำให้ศัตรูพืชเกิดระบาดสร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตร ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรสามารถรับมือกับภัยพิบัติด้านศัตรูพืชนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับการผลิตทางการเกษตร ทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านมาตรฐานและคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีมาตรการกักกันศัตรูพืชที่เข้มงวด จะเปิดโอกาสในการแพร่กระจายของศัตรูพืชได้กว้างขวางและรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อการผลิตตลอดจนการส่งออกผลผลิตเกษตรของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยต้องส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชในพื้นที่การเกษตรของตน พัฒนาระบบติดตามสถานการณ์การระบาดศัตรูพืชให้ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อให้สามารถดำเนินการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทันก่อนที่จะเกิดการระบาดหรือสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตร และหากเกิดการระบาดของศัตรูพืชที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร ก็จำเป็นต้องมีมาตรการที่จะแก้ปัญหาหรือบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของชุมชน และการใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (ไอพีเอ็ม) รวมถึงการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย | th_TH |
dc.language.iso | th_TH | th_TH |
dc.publisher | สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กรมส่งเสริมการเกษตร | th_TH |
dc.subject | ความไม่มั่นคงทางอาหาร | th_TH |
dc.title | โครงการลดความเสี่ยงเกษตรกรจากการระบาดศัตรูพืช ปี ๒๕๕๘ | th_TH |
dc.type | Other | th_TH |
Appears in Collections: | 993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
คู่มือโครงการลดความเสี่ยงเกษตรกรระบาดศัตรูพืช 2558.doc | 307.5 kB | Microsoft Word | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.