Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเทวินทร์, ยอดสวัสดิ์-
dc.date.accessioned2016-01-15T07:36:39Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T11:22:18Z-
dc.date.available2016-01-15T07:36:39Z-
dc.date.available2021-05-17T11:22:18Z-
dc.date.issued1996-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15211-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการการถือครองที่ดิน และการใช้ที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงสำรวจ ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ได้จากทั้งข้อมูลทุติยภูมิ และปฐมภูมิ การศึกษา เชิงคุณภาพ ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานราชการ ร่วมกับการสัมภาษณ์เกษตรกร พร้อมทั้งใช้วิธีการสังเกต และติดตามการปฏิบัติงานของเกษตรกรส่วนการศึกษาเชิงสำรวจโดยใช้แบบสัมภาษณ์ออกสัมภาษณ์เกษตรกรที่เป็นสมาชิกนิคมทั้งสิ้น 90 ครัวเรือน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple ramdom sampling) ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดนำมาจัดระเบียบและจัดการให้อยู่ในรูปที่สามารถสรุปผลได้ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ การจัดการของรัฐในเรื่องสิทธิถือครองที่ดิน โดยวิธีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในเขตอำเภอรัตภูมิไม่ค่อยบรรลุวัตถุประสงค์มากนัก ลักษณะการจัดสรรส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิทธิถือครองที่ดินจากราษฎรที่ถือครองอยู่เดิมให้เป็นตามกฎระเบียบของนิคม และราษฎรที่นิคมจัดสรรที่ดินให้เข้าไปอยู่ใหม่ส่วนใหญ่ได้ที่ดินมาจากการซื้อ-ขาย จากเจ้าของเดิมและเจ้าของเดิมบางส่วนก็ไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกของนิคมเนื่องจากไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของนิคมซึ่งเป็นปัญหาของการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ผลของพัฒนาการของนิคมยังทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรในเขตนิคมเนื่องมาจากการพัฒนาของรัฐที่มุ่งพัฒนาให้ราษฎรที่เป็นสมาชิกมากกว่าเกษตรกรอื่น ๆ ที่อยู่ในเขตนิคมเช่นกันและที่ผ่านมการจัดการของรัฐทำให้เกิดช่องว่างให้พ่อค้า นายทุน ข้าราชการ ที่ไม่ใช้ราษฎรเป้าหมายเข้าไปถือครองที่ดินในเขตนิคมด้วย ส่วนการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทำการเกษตรในช่วง 25 ปีหลัง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจากระบบการเกษตรแบบดั้งเดิมของชาวบ้านสู่ระบบการเกษตรสมัยใหม่ โดยการนำเอาแม่แบบการปฏิวัติเขียวเข้ามาใช้อย่างกว้างขวางขึ้น ทำให้การผลิตเพื่อพึ่งตนเองเปลี่ยนเป็นระบบการผลิตเพื่อการค้า และพึ่งพาปัจจัยจากภายนอกมากขึ้น การศึกษาระบบการใช้ที่ดินทางการเกษตรในปัจจุบันพบว่า ในเขตนิคมมีระบบการเกษตรต่าง ๆ 6 ระบบย่อย ได้แก่ ทำนา ยางพารา ผัก ไม้ผล ไร่นาสวนผสม และเลี้ยงสัตว์ มีการทำนาเพื่อบริโภคในครอบครัว ส่วนรายได้ที่เป็นตัวเงินที่นำมาใช้จ่ายในครอบครัวได้จากการทำสวนยางพารา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์และการรับจ้างใช้แรงงาน ระบบการทำนามีลักษณะที่สำคัญ คือ สภาพพื้นที่ไม่สามารถขังน้ำไว้ได้นานเนื่องจากเป็นดินร่วนทราบ และไม่มีระบบชลประทานที่เอื้ออำนวยให้เกษตรกรยอมรับเทคนิคการปฏิวัติเขียวอย่างเต็มรูปแบบ เกษตรกรมีรสนิยมชอบบริโภคข้าวพันธุ์พื้นเมือง การทำลายของโรคแมลง หนู ระบบยางพารา พบว่า ยางแผ่นที่ได้อยู่ในชั้น 4 หรือ 5 เป็นยางคุณภาพต่ำ ทำให้ได้ราคาต่ำไปด้วย และพบว่า เกษตรกร กรีดยางมีความถี่สูงมีผลทำให้ต้นยางทรุดโทรมเร็วกว่ากำหนด ระบบการปลูกผักพบการทำลายของโรคแมลงการขาดแคลนน้ำ ราคาผักไม่เสถียรภาพ ผักไม่ปลอดภัยจากสารพิษ และเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง ส่วนระบบการเลี้ยงสัตว์มีการเลี้ยงกันทุกครัวเรือน ไม่มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้งาน แต่ได้พัฒนาไปเลี้ยงเพื่อการค้า มากยิ่งขึ้น ได้แก่ สุกร ไก่ไข่ และโคพันธุ์ดี ปัญหาการเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญคือ การขาดแคลนพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสุกร เกษตรกรมักไม่คำนึงถึงภาวะการตลาด และไม่ควบคุมของเสียจากฟาร์ม ทำให้เกิดมลภาวะมีผลกระทบต่อเกษตรกรใกล้เคียง ผลการเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินก่อให้เกิด (1) ความแตกต่างทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรในเขตนิคม เนื่องจากผลการพัฒนาของรัฐไม่สามารถกระจายได้อย่างทั่วถึง (2) ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ ที่เกิดจากการทำการเกษตรสมัยใหม่ (3) ผลกระทบจากฟาร์มปศุสัตว์ ขนาดใหญ่ทำให้เกิดมลภาวะต่าง ๆ ต่อชุมชน (4) มีแนวโน้มการขายที่ดินมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ของนิคมสามารถเปลี่ยนเป็นเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน (โฉนด) ได้ (5) มีการทำฟาร์มแบบสัญญาผูกพัน (contract farming) มากขึ้น จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลหลาย ๆ ด้าน จึงแบ่งการเสนอแนะออกเป็น 2 ระดับ คือ (1) ในระดับฟาร์ม ควรศึกษาทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรทางการเกษตร ให้มีถาวรภาพมากยิ่งขึ้นการพัฒนาระบบการเกษตรแบบปราณีต เนื่องจากที่ดินมีจำกัด การพัฒนาระบบชลประทานขนาดเล็กที่เหมาะกับพื้นที่ การศึกษาเพื่อการวางแผนการใช้ที่ดินในการทำการเกษตรที่เหมาะสมกับแต่ละเขต และการให้ความสำคัญต่อการจัดสรรทุน ความรู้ และการพัฒนาองค์กรของเกษตรกรในการพัฒนาการผลิต การตลาด รวมทั้งการอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย (2) ในระดับนโยบายการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำกิน ให้ตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานเกษตรกรรมและผู้ว่างงานให้มากที่สุด สำหรับการจัดสรรที่ดินในเขตนิคมต่าง ๆ ควรมีการยกเลิกการออกโฉนดห้ามจำหน่ายจ่ายโอน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านการเงินขององค์กรในท้องถิ่นควรให้เจ้าของที่ดินใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรเท่านั้นและทำประโยชน์อย่างเต็มที่ ควรให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินมากขึ้น รัฐควรมีการจัดเก็บภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า การควบคุมค่าเช่าที่ดิน และควรกำหนดขนาดที่ดินที่ประชาชนจะถือครองได้ เพื่อลดปริมาณเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ทำการเกษตรด้วยตนเอง และเพื่อกระจายความเท่าเทียมกัน และควรจัดระบบการจัดสรรที่ดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้ประมวลเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน และมีองค์กรกลางเป็นผู้ดำเนินการตามนโยบายth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.subjectการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมth_TH
dc.subjectความไม่มั่นคงทางอาหารth_TH
dc.titleการเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเอง : กรณีศึกษานิคมสร้าง ตนเองรัตภูมิ จังหวัดสงขลาth_TH
dc.typeOtherth_TH
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.