Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15208
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิมล, สิงหะพล-
dc.contributor.authorอานนท์, คงนุ่ม-
dc.contributor.authorสัมฤทธิ์, ฤทธิ์ชู-
dc.date.accessioned2015-10-09T03:27:19Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T11:22:11Z-
dc.date.available2015-10-09T03:27:19Z-
dc.date.available2021-05-17T11:22:11Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15208-
dc.description.abstractประเทศไทยมีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉพาะที่นา ที่พืชไร่ ที่ไม้ผลและไม้ยืนต้น ที่สวนผักไม้ดอก ประมาณ ๑๔๙ ล้านไร่ มีพื้นที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในแต่ละปีแต่สถิติการใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรกับมีปริมาณสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าปุ๋ยและสารเคมีกับผลผลิตต่อไร่ของสินค้าเกษตรที่สำคัญและมีเนื้อที่เพาะปลูกมาก ๔ อันดับแรก คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า พืชส่วนใหญ่มีผลผลิตต่อไร่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยโดยข้าวมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ในปี ๒๕๕๕ มีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตร ๑๓๔,๓๗๗ ตัน มีมูลค่า ๑๙,๓๕๗ ล้านบาท เป็นสารกำจัดวัชพืชมากที่สุด มีผลทำให้อุตสาหกรรมเคมีทางการเกษตรเติบโตอย่างมากเกษตรกรเข้าถึงสารเคมีได้ง่ายและมีการใช้มากเกินความพอดี (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, ๒๕๕๖) ข้อมูลสำนักควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี ๒๕๕๔ จากการตรวจเลือดเกษตรกร ๕๓๓,๕๒๔ คน ใน ๗๔ จังหวัด พบว่า อยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยร้อยละ ๓๒ และสรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคจากสำนักระบาดวิทยา มีผู้ป่วยได้รับพิษจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชระหว่าง พ.ศ.๒๕๔๕ - ๒๕๕๔ เฉลี่ยปีละ ๑,๘๔๐ ราย และ ปี ๒๕๕๔ มีผู้ป่วยได้รับพิษจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม (ไม่รวมสาเหตุการฆ่าตัวตาย) จำนวน ๒,๐๔๖ ราย มีผู้เสียชีวิต ๒ ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาชีพทำเกษตรกรรมร้อยละ ๔๑.๐๖ ซึ่งการใช้สารเคมีทางการเกษตรนอกจากเป็นต้นทุนทางการเกษตรแล้วยังมีต้นทุนด้านสาธารณสุขที่ตามมา ภายหลังรัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการดูแลจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสูญเสียภาษีที่ควรจะได้รับจากการเติบโตของอุตสาหกรรมสารเคมีเกษตรนี้อีกด้วย แม้ว่าประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าทางการเกษตรและอาหารเป็นอันดับต้นของโลกอาจไม่ประสบปัญหาความมั่นคงทางอาหาร แต่มีความเสี่ยงกับความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงของภาคการเกษตรอันเป็นผลมาจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร รวมกับปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นล้วนแต่เป็นภาพเชิงลบของภาคการเกษตรที่เป็นปัจจัยทำให้เกษตรกรรุ่นใหม่และแรงงานภาคการเกษตรมีแนวโน้มลดลง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรและประชาชนชาวไทยผู้บริโภคผลผลิตทางการเกษตรในชีวิตประจำวัน และยกระดับมาตรฐานสินค้าไทยให้สู่มาตรฐาน ด้านความปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตรควรจัดทำโครงการ พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน ด้านความปลอดภัยจากสารเคมีth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กรมส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.subjectความไม่มั่นคงทางอาหารth_TH
dc.titleโครงการ พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานด้านความปลอดภัยจากสารเคมี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดพัทลุง ปี 2557th_TH
dc.typeOtherth_TH
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.