Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13555
Title: การรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวต่อการทัวร์ทางทะเลจังหวัดกระบี่
Other Titles: Risk perception of Tourists Towards Sea based Excursion in Krabi Province
Authors: อารีย์ฏา ถิรสัตยาพิทักษ์
มิรันตี เพียร์ซเทอเลอ
Faculty of Hospitality and Tourism (Hospitality and Tourism Management)
คณะการบริการและการท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว
Keywords: การรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยว,;ความเสี่ยงต่อการทัวร์ทางทะเล
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The research aimed to (1) analyze risk perception of tourists towards sea-based excursion in Krabi Province, (2) analyze risk factors affecting the image of Sea based excursion in Krabi Province and (3) analyze the risk prevention behavior of tourists towards Sea based excursion in Krabi Province. The sample group was 170 Thai and international tourists who ever took sea- based excursions in Krabi Province. The study employed a non-probability sampling method and collected the data by using questionnaires. The study results revealed that most tourists did not follow the news about risks of sea-based excursion in Krabi Province. From an analysis of risk perceptions towards sea-based excursion which were divided in four types, namely risks of vehicle used, risks of sea-based tour management hazards, risks of marine environment, and risks of attractions and tour activities, the study found that in overall the tourists considered risks of sea-based tour management hazards as the first rank of importance and risks of marine environment as the final rank. Regarding the effects of risks of vehicle used, risks of sea-based tour management hazards, risks of marine environment, and risks of attractions and tour activities on an image of sea-based excursion in Krabi Province, the study revealed that in overall tourists considered that these risks affected an image of sea-based excursion at a moderate level. Among all variables, the risks of vehicle used affected the image of tour at the highest level. In addition, the study about risk protection of tourists during seabased excursion in Krabi Province found that tourists’ risk protection towards some factors were in a high level. Examples were, such as, following strictly suggestions from the staff, for example; properly wearing life jacket or changing the vehicles; reporting to the staff clearly about tourists’ congenital disease, understanding of regulations and prohibition enforced by attractions, and being ready to take care of themselves in case of unforeseen circumstances during the tours.
Abstract(Thai): การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การรับรู้ความเสี่ยงของ นักท่องเที่ยวต่อการทัวร์ทางทะเลในจังหวัดกระบี่ (2) วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อ ภาพลักษณ์ต่อการทัวร์ทางทะเลในจังหวัดกระบี่ และ (3) วิเคราะห์พฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยง ของนักท่องเที่ยวต่อการทัวร์ทางทะเลในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและ ชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวทัวร์ทางทะเลในจังหวัดกระบี่ จ านวน 170 คน การศึกษานี้ใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับความเสี่ยง การทัวร์ทางทะเลจังหวัดกระบี่ที่ไม่ปลอดภัย จากการวิเคราะห์การรับรู้ความเสี่ยงต่อการทัวร์ทาง ทะเลจังหวัดกระบี่ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านอันตรายจากยานพาหนะ ความเสี่ยงด้าน อันตรายจากการจัดการ ความเสี่ยงด้านอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางทะเล และความเสี่ยงด้าน อันตรายจากแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวนั้น พบว่า ในภาพรวมนักท่องเที่ยวให้ ความส าคัญต่อการจัดการความเสี่ยงด้านอันตรายจากการจัดการเป็นอันดับแรกและมีการให้ ความส าคัญของการจัดการความเสี่ยงด้านอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางทะเลเป็นอันดับสุดท้าย จากการศึกษาปัจจัยความเสี่ยงด้านอันตรายจากยานพาหนะ ด้านอันตรายจากการ จัดการ ด้านอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางทะเล ด้านอันตรายจากแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการ ท่องเที่ยว และด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของนักท่องเที่ยวจากสื่อต่างๆเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่มี ผลกระทบต่อภาพลักษณ์การทัวร์ทางทะเลในจังหวัดกระบี่ พบว่า ในภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความ คิดเห็นว่าต่อปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์การทัวร์ทางทะเลจังหวัดกระบี่ดังกล่าวมี ผลกระทบต่อภาพลักษณ์การทัวร์อยู่ในระดับปานกลาง โดย ความเสี่ยงจากยานพาหนะในการ ท่องเที่ยวทัวร์ทะเลส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์มากที่สุด นอกจากนี้การศึกษาพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวระหว่างการ ทัวร์ทางทะเลในจังหวัดกระบี่ พบว่า พฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวระหว่างการ ทัวร์ในบางปัจจัยอยู่ในระดับสูง เช่น การปฎิบัติตามค าแนะน าของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด เช่น การ สวมใส่เสื้อชูชีพอย่างถูกต้อง หรือการเปลี่ยนย้ายยานพาหนะ มีโรคประจ าตัวและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ ทราบอย่างชัดเจน มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับ กฎระเบียบ และข้อห้ามในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว และ มี ความพร้อมในการดูแลตนเองเพียงพอหากเกิดเหตุไม่คาดคิดระหว่างเดินทางท่องเที่ยว
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการการบริการและการท่องเที่ยว), 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13555
Appears in Collections:816 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5930122020.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons