Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13510
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประจวบ ทองศรี-
dc.contributor.authorนูรีศัณย์ อูเซ็ง-
dc.date.accessioned2021-04-09T09:25:18Z-
dc.date.available2021-04-09T09:25:18Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13510-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การบริหารการพัฒนาสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) และเชิงคุณภาพ (qualitative research)มีวัตถุประสงค์คือ1) เพื่อประเมินศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) วิเคราะห์สภาพปัญหาการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยการประเมินที่เกี่ยวข้อง 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อมการปฏิบัติงาน ด้านปัจจัยการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงานโดยการวิเคราะห์สภาพปัญหาประกอบด้วย4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการตรวจสอบ และขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนาผลการวิจัยพบว่าการประเมินศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยภาพรวม 1) ด้านสภาวะแวดล้อมการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี (X=4.19) 2) ด้านปัจจัยการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี (X=4.05) 3) ด้านกระบวนการปฏิบัติงานอยูในระดับดี (X=4.22) 4) ด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงานด้านประสิทธิภาพของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในการจัดกิจกรรม/โครงการต่างๆนั้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (X=4.16) ด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงานในด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิอยู่ในระดับดีมาก (X=4.24) ด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงานในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิอยู่ในระดับดีมาก (X=4.33) และผลการวิจัยยังพบว่าการวิเคราะห์สภาพปัญหาการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยภาพรวม1) ขั้นตอนการวางแผนอยูในระดับดีมาก (X=4.35) 2) ขั้นตอนการปฏิบัติงานอยูในระดับดีมาก (X=4.35) 3) ขั้นตอนการตรวจสอบอยูในระดับดีมาก (X=4.34) 4) ขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ในระดับดีมาก (X=4.28) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พัฒนาจัดรูปแบบอบรมและทัศนศึกษาดูงานขององค์กรอื่นๆเพื่อส่งเสริมศักยภาพในรูปแบบที่ทันสมัยเท่าทันเทคโนโลยี2) จัดทําแผนการดําเนินงานรูปแบบกิจกรรมเพิ่มเติมโดยการประชาคมจากบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) จัดตั้งเครือข่ายระบบกองทุนเพื่อหางบประมาณเข้ามาขับเคลื่อนการดําเนินงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ 4) จัดเวทีการประกวดผลงานและเปิดพื้นที่พูดคุยสรุปผลการปฏิบัติงานพร่อมการประเมินศักยภาพการปฏิบัติงานในทุกๆ 4 เดือนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีen_US
dc.subjectบัณฑิตอาสาen_US
dc.subjectจังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.titleการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาฒนามาตุภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.title.alternativeThe development of performance competency of graduate volunteers for homeland development in Southen border provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences)-
dc.contributor.departmentคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์-
Appears in Collections:427 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1605.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.