Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13359
Title: รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์พื้นที่จังหวัดสงขลา
Other Titles: A model of historical tourism management of Songkhla province
Authors: ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร
สมจิตร์ อินทมโน
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ สงขลา
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of the study of A model of historical tourism management of Songkhla Province are 1) to study the potential of historical tourism management in Songkhla 2) to study the potential of participation in managing historical tourism of people in Songkhla and 3) to study the model of historical tourism route in Songkhla. This is a mixed method research comprising quantitative research and qualitative research. The samples used are 1) community gurus, followers, community leaders 2) religious leaders 3) Songkhla locals 4) academics and state officials and 5) tourism business entrepreneurs. The tool used is 400 sets of questionnaire. For qualitative research, participatory observation and in-depth interview are used with data providers who are community representatives and representatives from government sector and private sector. Quantitative data are analyzed using t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s correlation coefficient while content analysis is used for qualitative data analysis. In this study, the researcher has explored additional historical tourism attractions in 16 districts of Songkhla Province comprising Chana, Nathavee, Thapha, Sabayoi, Rattaphum, Sadao, Namom, Bangklum, Klonghoikhong, Kuanniang, Singhanakorn, Satingphra, Krasaesin, Ranod, Hatyai and Muang Songkhla. It was found that there are more of 86 significant historical tourism attractions classified by historical era into 4 periods comprising; first period; Before Muang Songkhla (Pre-historical period: 3,500 years before Buddha era – around B.E. 5), second period, Muang Songkhla at Hua Kao Dang (Before B.E.22 – end of B.E. 23), third period, Muang Songkhla at Lamson (B.E.2223-B.E.2379) and fourth period, Muang Songkhla at Boyang (B.E.2379-present). The quantitative study was found that the potential to attract tourists for historical value in Songkhla Province is moderate (X=3.29) and it was found from each aspect consideration that almost every aspect is moderate except some aspects with opinion that the potential is of high level such as the aspect of physical identity(70.8%). For historical importance, it is commented that the potential is of low level (63.8%). The potential to support tourism is of high level (X=3.61). The potential to develop tourism is moderate. Management potential and management on tourist attraction preservation is moderate. The potential of management on participation of local community is low (X=0.28). It was found that participation of local community is of low level in almost every aspect. Local community is part of tourism activities such as tour guiding and giving services with the least mean of 0.22 The qualitative study was found The qualitative study was found that there are many levels of participatory historical tourism management of people in Songkhla for problems, planning, practicing activity, making decision, tracking and evaluation with the highest level of participation in searching for problems. That is to say people help coordinate with related authorities in planning and solving problems that happen in each tourist attraction. People in most area cooperate in doing tourism activity of government and private sector but still lack the creation of new activity. Tour program should be arranged in accordance with the historical period just like the samples of participatory historical tourism routes comprising 3 routes as follows. Route No.1 “Follow the route of first historical period; Muang Songkhla period at Hua Kao Dang”. Route No.2 “Follow the route of second historical period; Muang Songkhla at Lam Son” and route No.3 “Follow the route of the three Somdej belief” comprising Somdej Chao Phako, Somdej Chao Kohyai and Somdej Chao Kohyo. and new generation of entrepreneur jointly make historical tourism program that accords with time and present technology which is considered an important value creation to historical tourism in Songkhla Province. Problems and obstacles concerning the participatory historical tourism management in Songkhla Province are that most people still lack knowledge of history of tourist attraction, And lack knowledge of historical stories Suggestion from the research on A model of historical tourism management in Songkhla Province is that this in order to hand in cultural heritage from generation to generation, it has to prepare local people to realize value of historical means. Therefore, there should be a true support of participation of local sector from both government sector and private sector Creating models of historical tourism route following the era in order to learn and building awareness of value. which will eventually create added value to the area and sustainably make income to community.
Abstract(Thai): การศึกษาเรื่องรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์พื้นที่จังหวดสงขลา ครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาศักยภาพของการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดสงขลา 2. ศึกษาศักยภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของประชาชนในจังหวัดสงขลา 3. ศึกษาโมเดลเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดสงขลาเป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วยการวจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ปราชญ์ชุมชน ศิษย์ยานุศิษย์ ผู้นำชุมชน 2) ผู้นำทางศาสนา 3) คนในพื้นที่จังหวัดสงขลา 4) นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ 5) ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นผู้แทนชุมชนและผู้แทนจากภาครัฐ เอกชน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้การทดสอบ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One-Way ANOVA) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) งานศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้จากการสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ทั้งหมด 16 อำเภอในจังหวัดสงขลา อันประกอบด้วย อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอรัตภูมิ อำเภอสะเดา อำเภอนาหม่อม อำเภอบางกล่ำ อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอควนเนียง อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอระโนด อำเภอหาดใหญ่ อำเภอเมือง ซึ่งพบ มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 86 แห่ง โดยได้แบ่งตามยุคสมัย ประวัติศาสตร์ ได้เป็น 4 ยุค ดังนี้ ยุคที่ 1 ก่อนเมืองสงขลา (เมืองสงขลายุคก่อนประวัติศาสตร์ ชวงเวลา:3,500 ปีก่อนพุทธกาล - ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5) ยุคที่ 2 เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง (ก่อนพุทธศตวรรษ ที่ 22 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23) ยุคที่ 3 เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ( พ.ศ. 2223 - พ.ศ. 2379) ยุคที่ 4 เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง (พ.ศ. 2379 - ปัจจุบัน) ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่าศักยภาพในการดึงดูด นักท่องเที่ยวด้านคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดสงขลาอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.29) และ เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นพบว่าอยู่ในระดับปานกลางเกือบทุกประเด็น ยกเว้นบางประเด็นที่มีความคิดเห็นว่ามีศักยภาพในระดับมาก ได้แก่ ประเด็นความเป็นเอกลักษณ์ทางกายภาพ (ร้อยละ 70.8) ส่วนประเด็นความสำคัญทางประวัติศาสตร์มีความคิดเห็นว่ามีศักยภาพในระดับน้อย (ร้อยละ 63.8) ศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X=3.61) ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง ศักยภาพในการบริหารจัดการและการจัดการด้านการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง ศักยภาพในการจัดการด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับน้อย (X=0.28) โดยพบว่าด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอยู่ในระดับน้อยเกือบทุกประเด็น โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของ กิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การนำเที่ยว การให้บริการต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 0.22 ผลการศึกษาเรื่องศักยภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของประชาชนในจังหวัดสงขลามีหลายระดับตั้งแต่การค้นหาปัญหา การวางแผน การปฏิบัติกิจกรรม การตัดสินใจ การติดตามและประเมินผลโดยมีระดับการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหามากที่สุด กล่าวคือ ช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการวางแผนและแก้ปัญหาเฉพาะกรณีที่เกิดขึ้น ในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ยังขาดการสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ โดยตัวชุมชนเอง ส่วนโมเดลเส้นทาง ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดสงขลาจากการศึกษาในครั้งนี้ ควรมีการจัดโปรแกรมนำเที่ยว ตามยุคของประวัติศาสตร์ ดังตัวอย่างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วม 3 เส้นทาง ดังนี้ เส้นทางที่ 1 “เส้นทางตามรอยประวัติศาสตร์เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง” เส้นทางที่ 2 “เส้นทาง ตามรอยประวัติศาสตร์ เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน” และเส้นทางที่ 3 “เส้นตามรอยศรัทธาสามสมเด็จ” ได้แก่ สมเด็จเจ้าพะโคะ สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ และสมเด็จเจ้าเกาะยอ อย่างไรก็ตามยังมีปราชญ์ใน ท้องถิ่นร่วมกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่เป็นคนในชุมชนที่พร้อมจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เข้ากับยุคสมัยและเทคโนโลยีปัจจุบัน นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มที่สำคัญให้กับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัญหาและอปสรรคเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วมพื้นที่จังหวัดสงขลา ได้แก่ ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ใน ประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงและขาดความรู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์ รวมถึงภาครัฐยังไม่เปิดโอกาสให้ มีส่วนร่วมในทุกมิติอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะจากงานวจัยรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชงประวติศาสตร์พนที่จังหวดสงขลา เพอเป็นการเรียนรู้คุณค่าและสืบสานมรดกทางวฒนธรรมจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ จึงควรให้การ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยแท้จริงทั้งจากส่วนของภาครัฐและเอกชน การสร้าง โมเดลเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตามยุคสมัยเพอการเรียนรู้และสร้างความตระหนักในคุณค่า อันจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพื้นที่และสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13359
Appears in Collections:820 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435606.pdf10.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons