Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13171
Title: ผลกระทบของความใส่ใจสุขภาพต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประชากรในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Impact of Health Consciousness towards Intention to Buy Dietary Supplement in Hat Yai District, Songkhla Province
Authors: ปิยะนุช ปรีชานนท์
ภุชงค์ ตั้งนรกุล
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: ความตั้งใจซื้อ;ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร;ความใส่ใจสุขภาพ;พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของความใส่ใจสุขภาพต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประชากรในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้แบบสอบถามแบบให้ผู้ตอบกรอกเอง ซึ่งผ่านการประเมินความเที่ยงและความตรงเป็นเครื่องมือในการวิจัย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจานวน 384 ตัวอย่าง วิเคราะห์ผลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบผลกระทบด้วยการวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.90 มีอายุระหว่าง 15 ปี - 24 ปีคิดเป็นร้อยละ 56.50 สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 87.80 ระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 78.90 อาชีพนักเรียน นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 45.60 รายได้ต่อเดือนต่ากว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.70คาดหวังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ให้ประโยชน์ เพื่อช่วยบารุงร่างกายให้มีสุขภาพดี คิดเป็นร้อยละ 58.85 มีระดับความใส่ใจสุขภาพในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.97 ซึ่งให้ความใส่ใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของตนเองในระดับมากที่สุด ในด้านความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีระดับความตั้งใจซื้ออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.54 ซึ่งให้ระดับความตั้งใจซื้อมากที่สุดคือ ในอนาคตอันใกล้นี้ยังคงจะซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบริโภคจากการทดสอบด้วยการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย พบว่า ความใส่ใจสุขภาพส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับร้อยละ 47 ดังนั้น หากผู้ประกอบการต้องการจะกระตุ้นผู้บริโภคให้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากขึ้น จะต้องนาเสนอประเด็นเรื่องการรักสุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและกาไรที่จะเกิดในอนาคต
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13171
Appears in Collections:460 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5710521028.pdf991.29 kBAdobe PDFView/Open
5710521028-manuscript.pdf380.02 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons