Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12159
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐวิทย, พจนตันติ-
dc.contributor.authorพาอีหม๊ะ, เจะสา-
dc.date.accessioned2019-03-21T07:17:14Z-
dc.date.available2019-03-21T07:17:14Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12159-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะแบบมีการโต้แย้งที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา การคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยมี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2560 จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ซึ่งกำหนดให้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ซึ่งการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะแบบมีการโต้แย้ง ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การระบุภาระงาน เป็นการนำเสนอสถานการณ์เพื่อสร้างความสนใจและวิเคราะห์สถานการณ์เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม (2) การสำรวจและรวบรวมข้อมูล เป็นการออกแบบและดำเนินการสำรวจตรวจสอบปรากฏการณ์ที่ศึกษา เก็บรวบรวม จัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูล จนสามารถสรุปเป็นคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ (3) การสร้างข้อโต้แย้งชั่วคราว เป็นการสร้างข้อโต้แย้งของกลุ่ม เพื่ออธิบายผลการสำรวจตรวจสอบปรากฏการณ์ (4) กิจกรรมการโต้แย้ง เป็นการนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบและข้อโต้แย้งของกลุ่มต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียน อภิปรายและวิจารณ์เพื่อมุ่งหาคำตอบของสถานการณ์ที่มีเหตุผลสนับสนุนและเป็นที่ยอมรับ (5) การเขียนรายงานผลการสำรวจตรวจสอบ (6) การตรวจสอบโดยเพื่อน และ (7) การปรับปรุงรายงาน เป็นการแก้ไขและปรับปรุงรายงานผลการสำรวจตรวจสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะแบบมีการโต้แย้ง หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 18 ชั่วโมง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา แบบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ และแบบบันทึกภาคสนาม โดยดำเนินการทดลองกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One-Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent group) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะแบบมีการโต้แย้งหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะแบบมีการโต้แย้งหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะแบบมีการโต้แย้งอยู่ในระดับมาก  The purposes of this research were to study effect of Argument-Driven Inquiry instruction model on biology achievement, analytical thinking and instructional satisfaction of grade 10 students. The sample of the study was forty students studying in grade 10 class 5 who were in their first semester of the year 2017 at Dechapattanayanukul School, Muang District, Pattani Province, Thailand. The sample was selected by simple random sampling technique. This instructional model consisted of 7 steps 1) Identification of the task, it presents the situation in order to build interest and analyze the situation associated with the former experience. 2) The generation of data, it is designed to investigate phenomena studied; including conducting surveys, collecting investigations, organize and analyze of data until it can be summarized as a scientific explanation. 3) Production of a tentative argument, create a group argument to explain the results of the survey. 4) Argument session, presenting the results of the survey and arguments of the group to the classmates. Discuss and critique in order to find the answer to a rational and accepted phenomenon. 5) Creation of a written investigation report; report writing of survey results with one by one in the groups. 6) Double-blind peer review, and 7) Revision of the report modify and update the report of the survey which was called Argument-Driven Inquiry instruction model. The research instruments consisted of lesson plans designed based on the Argument-Driven Inquiry instruction model under the topic of environment and life for 18 hour, biology achievement test, analytical thinking test, instructional satisfaction test and researcher’s field-note. The experimental research was conducted using one group through pretest-posttest design. The data was analyzed by mean, standard deviation and t-test dependent group. The results were shown as follows: Students learning by Argument-Driven Inquiry instruction model had the students mean score of the post-test on biology achievement and analytical thinking higher than the pre-test mean score at the significant level of .01, and Students satisfaction towards instruction using Argument-Driven Inquiry instruction model was at high level.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียนth_TH
dc.titleผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะแบบมีการโต้แย้งที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนชีววิทยา การคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4th_TH
dc.title.alternativeEffect of Argument-Driven Inquiry Instruction Model on Biology Achievement, Analytical Thinking and Instructional Satisfaction of Grade 10 Students พาอีth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Education)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา-
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1544.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.