Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12157
Title: ศักยภาพการผลิตสาหร่ายไส้ไก่ Ulva intestinalis เชิงพาณิชย์จากโรงเรือนเลี้ยง สาหรับผลผลิตสาหร่ายเกล็ดและสาหร่ายผง
Other Titles: Potential on Commercial Production of Gut Weed Ulva intestinalis from Green House for Seaweed Flake and Seaweed Powder Products
Authors: ระพีพร, เรืองช่วย
แวมารือนี, มะดีเยาะ
Faculty of Sciecnce and Technology (Technology and Industries)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม
Keywords: สาหร่ายไส้ไก่;สาหร่ายผง
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การเพาะเลี้ยงสาหร่ายไส้ไก่ Ulva intestinalis ในเชิงพาณิชย์จากโรงเรือน โดยเลี้ยงในถังพลาสติก ขนาด 200 ลิตร เพื่อศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายไส้ไก่ ซึ่งมีสูตรอาหาร 3 สูตร ได้แก่ 1) โซเดียมไนเตรทกับไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต 2) ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 และ 3) ยูเรียร่วมกับแอมโมเนียมไนเตรทและไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต ศึกษาการเจริญเติบโต อัตราการเจริญเติบโต สี สารสี คุณค่าสารอาหาร และสารให้กลิ่นรส ที่ได้จากการเลี้ยงในแต่ละสูตร การเลี้ยงใช้ต้นอ่อนสาหร่ายไส้ไก่ ขนาดความยาวเริ่มต้นที่ 1.9±0.4 เซนติเมตร ความหนาแน่น 5 กรัมต่อตารางเมตร หลังจากเลี้ยงสาหร่าย 2 สัปดาห์ พบว่า การเจริญเติบโตของสาหร่ายไส้ไก่ที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารต่างๆมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสาหร่ายไส้ไก่ที่เลี้ยงด้วยปุ๋ยสูตร 16-16-16 มีการเจริญเติบโตดีที่สุด โดยมีน้ำหนักเฉลี่ยของสาหร่ายไส้ไก่ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 27,694.52±48.59 อัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 37.48±3.83 ต่อวัน รองลงมาเป็นสูตรโซเดียมไนเตรทผสมกับไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต มีน้ำหนักเฉลี่ยของสาหร่ายเฉลี่ยของสาหร่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 22,467.76±19.28 อัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์เฉลี่ย ร้อยละ 35.32±4.79 ต่อวัน ส่วนปุ๋ยยูเรียร่วมกับแอมโมเนียมไนเตรทและไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต มีการเจริญเติบโตต่ำที่สุด น้ำหนักเฉลี่ยของสาหร่ายนี้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 2,091.01±5.93 และอัตราเจริญเติบโตสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 20.65±1.98 ต่อวัน สาหร่ายที่เลี้ยงด้วยปุ๋ยสูตร 16-16-16 มีปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี แคโรทีนอยด์ และเซนโทฟิลล์สูงกว่าสูตรอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ 27.80±2.49, 32.19±7.99, 9.29±0.55 และ6.84±3.89 mg g-1 น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ สีของสาหร่ายไส้ไก่ที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารที่แตกต่างกันจะมีค่า L* a* และ b* ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายที่เลี้ยงด้วยปุ๋ยทั้ง 3 สูตรอาหารมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสาหร่ายที่เลี้ยงด้วยปุ๋ยสูตรโซเดียม ไนเตรทกับไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟตมีปริมาณโปรตีนสูงสุด ร้อยละ 14.94±0.06 สาหร่ายที่เลี้ยงด้วยสูตร 16-16-16 มีปริมาณไขมันสูงสุด ร้อยละ 0.43±0.02 และสาหร่ายที่เลี้ยงด้วยสูตรยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรทและไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงที่สุด ร้อยละ 61.60±1.61 การตรวจสอบหาสารให้กลิ่นรสในสาหร่ายไส้ไก่ในรูปแบบสารหอมระเหย พบว่า สาหร่ายไส้ไก่ที่เลี้ยงด้วย โซเดียมไนเตรทผสมกับไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต มีสารหอมระเหยและกรดอินทรีย์ทั้งหมด 71 ชนิด สาหร่ายที่เลี้ยงด้วยสูตรเสมอ 16-16-16 มีสารหอมระเหยและกรดอินทรีย์ทั้งหมด 60 ชนิด สาหร่ายที่เลี้ยงด้วยสูตรปุ๋ยยูเรียร่วมกับแอมโมเนียมไนเตรทและไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟตมีสารหอมระเหยและกรดอินทรีย์ทั้งหมด 55 ชนิด ทั้งนี้ต้นทุนของสาหร่ายที่เลี้ยงด้วยด้วย สูตรเสมอ 16-16-16 มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด การเลี้ยงสาหร่ายไส้ไก่ Ulva intestinalis เชิงพาณิชย์ในภาชนะเลี้ยง 2 รูปแบบ ได้แก่ ถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร และ บ่อซีเมนต์ ขนาด 1,000 ลิตร โดยทำการทดลองในปริมาตรน้ำรวมรูปแบบละ 5 ตัน เท่ากัน ที่ระบบปิดกลางแจ้ง พบว่าการเลี้ยงใช้ช่อต้นอ่อนสาหร่ายไส้ไก่ที่มีความยาวเริ่มต้นที่ 2.2±0.6 เซนติเมตร ด้วยความหนาแน่นเริ่มต้น 0.02 กรัมต่อลิตร ให้อากาศ ด้วยสูตรอาหารที่เลือกแล้วคือ ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 หลังจากเลี้ยง 3 สัปดาห์ พบว่า การเจริญเติบโตปริมาณสารรงควัตถุและปริมาณสารสีของสาหร่ายไส้ไก่ที่เลี้ยงในถังพลาสติกและบ่อซีเมนต์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยสาหร่ายที่เลี้ยงในถังพลาสติก มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10,012.65±26.03 และ มีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ยร้อยละ 32.3±1.5 ต่อวัน ส่วนสาหร่ายไส้ไก่ที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10,370.24±96.67 ต่อวัน มีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ยร้อยละ 33.5±0.7 ต่อวัน ดังนั้นรูปแบบและลักษณะของถังเลี้ยงสาหร่าย จึงที่ไม่มีผลต่อการผลิตในระบบกลางแจ้ง การศึกษาการผสมสาหร่ายไส้ไก่เกล็ดและผง 3% ในผลิตภัณฑ์ที่คัดเลือกแล้ว คือ ข้าวเกรียบ พบว่าสาหร่ายไส้ไก่มีผลผลิตสาหร่ายแห้งต่อสาหร่ายสดในอัตราส่วนเท่ากับ 1.00:9.59±1.06 และการทดสอบทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบสาหร่ายไส้ไก่ จากการทดสอบด้วยการชิมโดยวิธี Scoring test โดยใช้ 9–Hedonic scale ต่อความชอบและรสสัมผัสของผลิตภัณฑ์ จากผู้ทดสอบชิม จำนวน 30 คน พบว่ามีความชอบผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบสาหร่ายไส้ไก่โดยรวม เท่ากับ 6.70±0.92 ซึ่งอยู่ในระดับความชอบเล็กน้อย โดยมีความชอบในรสชาติและกลิ่นเล็กน้อย แต่ไม่ชอบสีของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบสาหร่ายไส้ไก่ ในระดับ 3.77±1.28 ซึ่งไม่ชอบปานกลาง ทั้งนี้ผู้ทดสอบชิมจะมีความชอบปานกลางในสีและกลิ่นของข้าวเกรียบที่ไม่ผสมสาหร่ายไส้ไก่ และผู้ทดสอบชิมจะมีความชอบเล็กน้อยในกลิ่นสาหร่ายไส้ไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรเสมอ 16-16-16 มากกว่าสาหร่ายไส้ไก่ที่เลี้ยงในอาหารอีก 2 สูตร ซึ่งอาจเป็นเพราะสาหร่ายดังกล่าวมีมีสารหอมระเหยและกรดอินทรีย์ในระดับปานกลางที่มีกลิ่นไม่อ่อนหรือแรงเกินไป Culture of gut weed, Ulva intestinalis in 200 L plastic tanks under different medium recipes was aimed to get a suitable method for the cultivation. Three medium recipes: urea plus with ammonium nitrate and ammonium hydrogen phosphate, balancing fertilizer 16-16-16, and sodium nitrate plus with disodium hydrogen phosphate were put weekly to the cultivation tank. The initial size was 1.9±0.4 cm long with the density at 5 g/m2. After 2 weeks of the cultivation, the alga in medium fertilizer 16-16-16 provided the maximum increased weight of 27,694.52±48.59 % and growth rate of 37.48±3.83 % day-1, followed by ammonium nitrate and ammonium hydrogen phosphate with increased weight of 22,467±19 % and growth rate of 35.32±4.79 % day-1. The maximum growth was in sodium nitrate plus with disodium hydrogen phosphate which showed with increased weight of 22,467.76±19.28 % and percentage growth rate of 35.32±4.79 % day-1. Growth of the algae in sodium nitrate plus with disodium hydrogen phosphate showed the lowest with the increased weight of 2,091.01±5.93 % and showed specific growth of 20.65±1.98 % day-1. The almost of pigment contents of chlorophyll a, chlorophyll b, carotenoid and xanthophyll were paralleled to the biomass with 27.80±2.49, 32.19±7.99, 9.29±0.55 and 6.84±3.89 mg g-1 dry weight, respectively and those showed the significant effect (p>0.05) with another. The algal color in L* a* and b* values showed significant effect among the recipes (p>0.05). Nutritional values of algae cultured with the three recipes showed significantly difference (p<0.05) among of them. The alga in sodium nitrate plus with di-sodium hydrogen phosphate showed the highest protein content of 14.94±0.06%. The alga cultured with fertilizer 16-16-16 provided the highest fat content of 0.43±0.02% and the alga cultured in urea plus ammonium nitrate and di-ammonium hydrogen phosphate provided the highest carbohydrate content of 61.60±1.61%. The investigation of flavor in the form of aromatic compound found that the alga cultured with sodium nitrate mixed with di-sodium hydrogen phosphate provided 71 essential oils and organic acids. The alga cultured with fertilizer 16-16-16 provided 60 essential oils and organic acids. The alga cultured with urea mixed with ammonium nitrate and di-ammonium hydrogen phosphate provided 55 essential oils and organic acids. Thus, the cost of algae fed with the formula 16-16-16 showed the smallest. Commercial outdoor cultivation of gut weed, Ulva intestinalis was done in two different types of container, 200 l plastic tanks and 1000 l cement tanks for 5 t of total volume. In culture, the initial size of seedling 2.2±0.59 cm was used in 0.02 g/l density. The experiment was cultured with adding aeration and fertilizer 16-16-16. The alga in plastic tank provide the increased weight of 6,509±216 % and showed specific growth rate of 4.65±17.26 % day-1 while the alga in cement tank provided increased weight of 10,2639±97 % and showed specific growth rate of 3.53±22.45 % day-1. The alga in the both reservoirs showed non different significant on growth, relative growth rate and pigments but showed difference on thallus length. Therefore, type of container not affected on the commercial production of U. intestinalis outdoor cultivation which could use in both plastic or cement tanks.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีการประมง))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12157
Appears in Collections:732 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1542.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.