Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11965
Title: | ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว ที่มีผลต่อความเข้มแข็งทางใจ ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | The Effect of the Group Activities by using Family Participation on Resilience Strengthening for Children and Youth in the Juvenile Observation and Protection Pattani Province |
Authors: | สุใจ, ส่วนไพโรจน์ วิวรรษา, แซ่เจี่ย Faculty of Education (Psychology and Counseling) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว |
Keywords: | สาธารณสุข;เด็กและเยาวชน;การมีส่วนร่วมของครอบครัว;สถานพินิจ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi–experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมกลุ่มโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว ที่มีผลต่อ ความเข้มแข็งทางใจของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี และส่งมาที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี จำนวน 82 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 23 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 8 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว จำนวน 17 กิจกรรม รวมเวลาทั้งหมด 15 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ กิจกรรมกลุ่มโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว และแบบประเมินความเข้มแข็งทางใจในเด็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล Wilcoxon matched pairs signed rank test และ Mann Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความเข้มแข็งทางใจของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง มีระดับความเข้มแข็งทางใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. ระดับความเข้มแข็งทางใจระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง มีระดับความเข้มแข็งทางใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. ระดับความเข้มแข็งทางใจของกลุ่มทดลองหลังการทดลอง 1 เดือน มีระดับความเข้มแข็งทางใจไม่แตกต่างกับหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 The objective of this Quasi–experimental was to study the effects of the group activities by use Family Participation. The samples were children and youth were prosecuted has 82 children and youths. The samples purposive were selected a total of 23 children and youths and were divided into experimental group 8 youths and control group 15 youths. The experimental group done 17 mental health activities for children and youth with family participation total 15 hours. While the control group did the mental health activities for children and youth in Juvenile Observation and Protection Pattani Province. The instrument using in this study were a questionnaire about model of resilience strengthening for children and youth with family participation and Resilience Scale for Thai children. Wilcoxon matched pairs signed rank test and Mann Whitney U Test were used for data analysis. The research result found : 1. The resilience levels of the experimental group before and after the experiment were not difference at .05 significant level. 2. The experimental group and the control group had the resilience levels were not difference at .05 significant level. 3. The experimental group were not difference at .05 significant level of resilience at pretest and one month follow up. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(วิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11965 |
Appears in Collections: | 286 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1528.pdf | 26.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.