Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11839
Title: การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยใช้วิธีมิมิค
Other Titles: Detecting Differential Item Functioning Using Multiple Indicators and Multiple Causes (MIMIC)
Authors: ตันสกุล, จิระวัฒน์
สุขเอก, พิชิตชัย
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
Keywords: การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน;O-NET
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยใช้วิธีมิมิค (Multiple Indicators and Multiple Causes : MIMIC) เมื่อจำแนกตามเพศและที่ตั้งของสถานศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2556 – 2558 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบทดสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 – 2558 โดยมีรายวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความยาก อำนาจจำแนกของข้อสอบ และระดับความสามารถของผู้สอบของแบบทดสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2556 – 2558 พบว่ารายวิชาภาษาไทย มีค่าความยากน้อยสุดเท่ากับ .01 และสูงสุดเท่ากับ 8.32 ค่าอำนาจจำแนกน้อยสุดเท่ากับ .01 และสูงสุดเท่ากับ 1.03 ค่าความสามารถของผู้สอบน้อยสุด -3.73 และสูงสุดเท่ากับ 3.41 รายวิชาภาษาอังกฤษ มีค่าความยากน้อยสุดเท่ากับ .00 และสูงสุดเท่ากับ 8.31 ค่าอำนาจจำแนกน้อยสุดเท่ากับ .00 และสูงสุดเท่ากับ 1.18 ค่าความสามารถของผู้สอบน้อยสุด -2.83 และสูงสุดเท่ากับ 5.05 รายวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าความยากน้อยสุดเท่ากับ .05 และสูงสุดเท่ากับ 8.14 ค่าอำนาจจำแนกน้อยสุดเท่ากับ .02 และสูงสุดเท่ากับ .70 ค่าความสามารถของผู้สอบน้อยสุด -2.11 และสูงสุดเท่ากับ 3.90 รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าความยากน้อยสุดเท่ากับ -82.66 และสูงสุดเท่ากับ 494.63 ค่าอำนาจจำแนกน้อยสุดเท่ากับ -1.09 และสูงสุดเท่ากับ 1.18 ความสามารถของผู้สอบน้อยสุด -2.74 และสูงสุดเท่ากับ 4.75 2. ผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยใช้วิธีมิมิค จำแนกตามเพศ พบว่ารายวิชาภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ เพศชายมีโอกาสตอบข้อสอบถูกมากกว่าเพศหญิง และรายวิชาภาษาอังกฤษ เพศหญิงมีโอกาสตอบข้อสอบถูกมากกว่าเพศชาย เมื่อจำแนกตามที่ตั้งของสถานศึกษา พบว่ารายวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่ตั้งของสถานศึกษาในเมืองมีโอกาสตอบข้อสอบถูกมากกว่านอกเมือง และรายวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่ตั้งของสถานศึกษานอกเมืองมีโอกาสตอบข้อสอบถูกมากกว่าในเมือง The objective of this research were to check test quality analysis of Ordinary National Educational Test (O-NET) and Differential Item Functioning (DIF) by using Multiple Indicators and Multiple Causes (MIMIC) when distinguish by genders and school locations, during 2013-2015 academic years. Parameters that used in this research were grade 12 students by using multistage stage sampling. The research instrument was test of Ordinary National Educational Test (O-NET) grade 12 students, 2013-2015 academic years, including Thai, English Mathematics and Sciences that were minor information. This research found that 1. Analysis of Parameter of Difficulty, Test Discrimination and Ability Parameters of Ordinary National Educational Test (O-NET), during 2013-2015 academic years revealed that Thai had the fewest difficulty was .01 and the highest difficulty was 8.32, the fewest test discrimination was .01 and the highest test discrimination was 1.03, the fewest ability parameters was -3.73 and the highest ability parameters was 3.41. English had the fewest difficulty was .00 and the highest difficulty was 8.31 ,the fewest test discrimination was .00 and the highest test discrimination was 1.18 , the fewest ability parameters was -2.83 and the highest ability parameters was 5.05. Mathematics had the fewest difficulty was .05 and the highest difficulty was 8.14 ,the fewest test discrimination was .02 and the highest test discrimination was .70, the fewest ability parameters was -2.11 and the highest ability parameters was 3.90. Sciences had the fewest difficulty was -82.66 and the highest difficulty was 494.63 ,the fewest test discrimination was -1.09 and the highest test discrimination was 1.18, the fewest ability parameters was -2.74 and the highest ability parameters was 4.75. 2. Analysis of Differential Item Functioning (DIF) by Multiple Indicators and Multiple Causes (MIMIC) distinguished by genders found that Thai and Sciences tests were partial male higher than female, and English test was partial female higher than male. When distinguished by school locations found that Thai and English tests were partial city higher than suburb, and Mathematics and Sciences tests were partial suburb higher than city.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11839
Appears in Collections:276 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1471.pdf8.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.