Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11792
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorแก่นอินทร์, ธีรพงศ์-
dc.contributor.authorหะยีตาเฮร์, อัสมาอ์-
dc.date.accessioned2018-04-09T07:06:51Z-
dc.date.available2018-04-09T07:06:51Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11792-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนศาสนูปถัมภ์ อ.เมือง จ.ปัตตานี 2 ห้องเรียน จำนวน 87 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 43 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 44 คน การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด ประกอบด้วย 4 ขั้น 1) ขั้นการนำเสนอปัญหาปลายเปิด เป็นขั้นที่นักเรียนรับรู้สถานการณ์ปัญหาร่วมกันเพื่อนำไปสู่การทำกิจกรรม 2) ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน เป็นขั้นที่นักเรียนร่วมกันแก้ปัญหาด้วยกันภายในกลุ่ม 3) ขั้นการอภิปรายและเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน เป็นขั้นที่นักเรียนนำเสนอวิธีคิดของกลุ่มตนเองและเปิดโอกาสให้เพื่อนได้ซักถามและนำมาเปรียบเทียบกับวิธีคิดกับกลุ่มตนเอง 4) ขั้นการสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เกิดขึ้น เป็นขั้นที่สรุปวิธีคิดของทุกกลุ่มมาเป็นแนวคิดของชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด เรื่องการประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบวัดความพึงพอใจต่อวิธีการแบบเปิด การทดลองตามแบบแผน Randomized Posttest-Only Control Group Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติ Two-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบเปิดมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 2) นักเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบเปิดที่มีความเข้าใจภาษาไทยสูงมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีความเข้าใจภาษาไทยต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 3) นักเรียนที่มีความเข้าใจภาษาไทยสูงที่ใช้วิธีการสอนแบบเปิดมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ที่มีความเข้าใจภาษาไทยสูงที่ใช้วิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 4) นักเรียนที่มีความเข้าใจภาษาไทยระดับต่ำที่ใช้วิธีการสอนแบบเปิดมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีความเข้าใจภาษาไทยต่ำที่ใช้วิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 5) หลังการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดนักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบเปิดในระดับดี The study aimed to investigate the effects of Open Approach on mathematical word problem solving of Mathayom 2 students in Pattani province. The subjects were 87 Grade 8 students in two classes at Sasnupatam School, Muang District, Pattani Province, in the second semester of Academic Year 2016. A cluster random sampling was used to select the subjects assigned into two groups: 43 in the control group and 44 in the experimental group.In its research design, the study employed the Open Approach comprising four steps: 1) posting open-ended problem in which students perceived the word problems to carry out assigned activities; 2) students’ self-learning in which they collaboratively solved problems within their group; 3) whole class discussion and comparison, in which students discovered and presented their own problem solving methods, allowed for others’ questions, and compared others’ methods with their own; and 4) summarization through connecting mathematical ideas that arose in the class, in which the whole class shared and searched for the class solution. The study experiment took 12 hours with the following study tools: the Open Approach and traditional teaching-based lesson plans on the application of linear equations with one variable, a mathematical word problem solving ability test, and a questionnaire of satisfaction with the Open Approach. The study utilized the Randomized Posttest-Only Control Group Design for its experiment. Mean, the standard deviation, and two-way ANOVA were used for data analysis. The results of the study were as follows. 1) The students in the experimental group treated by the Open Approach outperformed those in the control group in mathematical word problem solving ability at the significant level of .05. 2) The experimental group with a high level of Thai understanding outperformed those with such a low level in the word problem solving ability at the significant level of .05. 3) The experimental group with a high level of Thai understanding outperformed those in the control group with such a low level in the word problem solving ability at the significant level of .05. 4) The experimental group with a low level of Thai understanding outperformed those in the control group with such a low level in the word problem solving ability at the significant level of .05. 5) After the treatment, the students showed positive satisfaction with the Open Approach teaching method at a high level.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectคณิตศาสตร์th_TH
dc.titleผลของการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2th_TH
dc.title.alternativeEffect of Open Approach on Mathematical Words Problem Solving of Grade 8 Studentsth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Education)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา-
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1462.pdf14.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.