Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11784
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความรับผิดชอบทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of Contemplative Learning Approach on Social Studies , Religion and Culture Learning Essence Group toward Learning Achievement and Learning Responsibility of Grade Fifth
Authors: คูหา, อริยา
ยานยา, มูนีเราะห์
Faculty of Education (Psychology and Counseling)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
Keywords: การจัดการเรียนการสอน;ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน;แนวคิดจิตตปัญญา
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้กับหลังได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้กับหลังได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญา 4) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียนห้องละ 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลากเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญาและกลุ่มควบคุม ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องเศรษฐศาสตร์ จำนวน 24 คาบ คาบละ 1 ชั่วโมง ใช้เวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ จำนวน 8 แผน การจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนเตรียมการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญา 2) แผนการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญา จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ 3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .80 5) แบบประเมินวัดความรับผิดชอบทางการเรียน ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า x ̅ และS.D.ทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (Mutivariate Analysis of Variance : MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญามีความรับผิดชอบทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความรับผิดชอบทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The purposes of this study were 1) to compare Learning Achievements on Social Study, Religion and Culture learning Essence Group of Grade Fifth Students between those before and after being taught by using Contemplative Education Approach. 2) to compare Learning Achievements on Social Study, Religion and Culture learning Essence Group of Grade Fifth Students between those who taught through Contemplative Education Approach and traditional Approach 3) to compare Learning Responsibilities of Grade Fifth Students between those before and after being taught by using Contemplative Education Approach 4) to compare Learning Responsibilities of Grade Fifth Students between those who taught through Contemplative Education Approach and traditional Approach. The sample under study were 70 students devided into 2 groups i.e., Experimental group Using Contemplative Education Approach and Control group Using Traditional Approach, 35 each who study in the second Semester in Academic Year of 2016 from BanAi-yerweng School, Betong, Yala province. Tools used were 1 lesson plan of preparation and 8 lesson plans of Contemplative Education Approach as well as 8 lesson plans of Traditional Approach, test of Social Study, Religion and Culture learning Essence Group with the reliability of 0.80 and test of Learning Responsibilities with the reliability of 0.89. Data analysed with X, S.D. ,T-Test, Multivariate Analysis of Variance (MANOVA). The results as followed : Students’ Learning Achievements who taught through Contemplative Education approach on Social Study, Religion and Culture learning Essence Group showed the scores of after treatment higher than those before treatment at Level of Significant .01 Students’ Learning Achievement on Social Study, Religion and Culture learning Essence Group who taught through Contemplative Education Approach gained higher scores than those of traditional Approach at Level of Significant .01 Students’ Learning Responsibilities who taught through Contemplative Education approach showed the scores of after treatment higher than those before treatment at Level of Significant .01 Students’ Learning Responsibilities who taught through Contemplative Education Approach gained higher scores than those of traditional Approach at Level of Significant .01
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(วิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11784
Appears in Collections:286 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1452.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.