Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11776
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคณิตา นิจจรัลกุล, คณิตา-
dc.contributor.authorมูรติการ, ธีติมา-
dc.date.accessioned2018-03-29T08:35:54Z-
dc.date.available2018-03-29T08:35:54Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11776-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์วิจัยดังนี้ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ของผู้เรียนในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคม พหุวัฒนธรรมกับการเรียนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบผลจิตวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนสำหรับการเรียนรู้ในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมกับการเรียนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลความเข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรมของผู้เรียนในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมกับการเรียนแบบปกติ 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจับคู่กลุ่ม (Matching group) ที่มีสมบัติเหมือนกันของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นผู้เรียนกลุ่มอ่อนที่ได้จากการวัดความรู้เดิมจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) บทเรียนออนไลน์แบบเคลื่อนที่ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์มีประสิทธิภาพที่ 86.6/80.5 (2) แผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพที่ 4.68 (3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้มีค่าความเชื่อมั่น 0.42 (4) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่น 0.51 (5) แบบวัดความเข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรมมีค่าความเชื่อมั่น 0.75 และ(6) แบบวัดระดับความพึงพอใจของผู้เรียนต่อบทเรียนออนไลน์แบบเคลื่อนที่มีคุณภาพระดับดีที่ 4.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยมีค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ของผู้เรียนในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมสูงกว่าการเรียนแบบปกติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 (2) ผล จิตวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนสำหรับการเรียนรู้ในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมสูงกว่าการเรียนแบบปกติแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ผลความเข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรมของผู้เรียนในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคม พหุวัฒนธรรมสูงกว่าการเรียนแบบปกติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และ (4) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมของผู้เรียนอยู่ในระดับดีที่ 4.14 This research was experimental research The purposes of this research were (1) to compare the learning achievement of the students who studied in the classroom with online-mobile learning with learning cycle in multicultural society and traditional instruction, (2) to compare the scientific mind of the student who studied in the classroom and online-mobile learning with learning cycle in multicultural society with traditional instruction, (3) to compare the comprehension in multicultural society in classroom of the students who studied in the classroom with online-mobile learning with cycle in multicultural society and traditional instruction and (4) to study the satisfaction of the students to a mobile online lesson with learning cycle in multicultural society. The 60 sampling group of this research were, who studied in grade 10 student and lower prior knowledge scores, selected by matching group. The research instruments were: (1) Efficiency of Mobile online lesson with online-mobile learning with learning cycle in multicultural society is 86.6/80.5. (2) Lesson plan is 4.68 (3) Learning achievement test is reliability at 0.42. (4) Scientific mind test is reliability at 0.51, (5) Satisfaction test is reliability at 0.75. (6) Comprehension in multicultural society test is 4.00.The research statistics used in data analysis were mean, standard deviation and t-test. The results of this research were (1) The students’ learning achievement, who studied in the classroom with a mobile online lesson with learning cycle in multicultural society was significantly higher than traditional instruction at .01. (2) The scientific mind effects of the students, who studied in the classroom with online mobile learning with learning cycle in multicultural society higher than traditional instruction at .1, non-significant. (3) The effect of comprehension in multicultural society in classroom of the students who studied in the classroom with online mobile learning with learning cycle in multicultural society higher than traditional instruction, significant at .001. (4) The satisfaction of students to a mobile online lesson with learning cycle in multicultural society was high, at 4.14 levelth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectสังคมพหุวัฒนธรรมth_TH
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนth_TH
dc.titleผลการเรียนรู้ในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมth_TH
dc.title.alternativeTitle Effects of Classroom and Online-Mobile Learning with Learning Cycle in Multicultural Societyth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Educational Technology)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา-
Appears in Collections:263 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1444.pdf8.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.