Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11770
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาฟีฟี ลาเต๊ะ, อาฟีฟี | - |
dc.contributor.author | สาลีม, โนซีลา | - |
dc.date.accessioned | 2018-03-29T07:46:03Z | - |
dc.date.available | 2018-03-29T07:46:03Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11770 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกประเภทวิชาของนักเรียน/นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่มีผลต่อคุณลักษณะทางวิชาชีพของนักเรียน/ นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักเรียน/นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,123 คน และอาจารย์ผู้สอน จำนวน 205 คน จาก 12 วิทยาลัยได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบประเมินระดับความสำคัญของนักเรียน/ นักศึกษาต่อคุณลักษณะทางวิชาชีพ 2) แบบประเมินคุณลักษณะทางวิชาชีพของนักเรียน/นักศึกษา และ 3) แบบประเมินระดับความสำคัญของอาจารย์ผู้สอนต่อคุณลักษณะทางวิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์จำแนกเชิงเส้นของฟิชเชอร์ด้วยวิธี Enter และ Stepwise และการวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์จำแนกปัจจัยด้วยวิธี Enter พบว่า ตัวแปรที่สามารถ ทำนายการตัดสินใจเลือกประเภทวิชาของนักเรียน/นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดีที่สุด คือ เพศ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ปัจจัยด้านอนาคตของงาน ปัจจัยด้านหลักสูตรและการสอน ระดับการศึกษา อายุ และปัจจัยด้านสถานศึกษา ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์จำแนกปัจจัยด้วยวิธี Stepwise พบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกประเภทวิชาได้ดีที่สุด คือ ตัวแปรเพศและปัจจัยด้านครอบครัว ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์พหุระดับ พบว่า ตัวแปรอิสระระดับนักศึกษา/นักศึกษาและระดับวิทยาลัยทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรคุณลักษณะทางวิชาชีพของนักเรียน/นักศึกษาได้ร้อยละ 77.3 โดยตัวแปรอิสระระดับวิทยาลัยทุกปัจจัยส่งผลต่อคุณลักษณะทางวิชาชีพของนักเรียน/นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับตัวแปรอิสระระดับนักศึกษา/นักศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านอนาคตของงานมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้านหลักสูตรและการสอนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were to 1) investigate factors affecting the student’s major decision under the office of the vocational education commission in the three southern border provinces and 2) analyze multi-level factors affecting the professional characteristics of students at the office of the vocational education commission in the three southern border provinces. The samples used in this study divided into 2 groups were 1,123 students in the second semester of the academic year 2016 and 205 teachers from 12 colleges by multi-stage random sampling. The research instruments used in the study were 3 issues of 5 rating scale questionnaires. 1) questionnaire which was the priority professional characteristics factors of students 2) questionnaire which was the professional characteristics of students and 3) questionnaire which was the priority professional characteristics factors the professional characteristics of teacher. Analyze basic data analysis, Fisher's linear discriminant analysis with Enter and Stepwise methods and multi-level analysis with HLM. The analysis results showed 1. The discriminant analysis results with Enter methods showed the factors affecting of the decision as that could best predict was gender, follows by the professional attitude factors, family factors, personal factors, future work factors, curriculum and instruction factors, educational level, age and college factors, respectively and the discriminant analysis is results with the Stepwise methods showed the factors affecting of the decision as that it could be the best prediction of the gender and family factors. 2. The results of multi-level analysis showed that the independent variables at the students’ levels and the college levels could explain the variance of the professional characteristics of the students was 77.3%. The independent variables at the college levels found that all factors did not correlate with the professional characteristics of the students at the office of the vocational education commission in the three southern border provinces. The independent variables at the students level were family factors and future work factors was statistically significant at the .01 level as for the curriculum and instruction factors were statistically significant at the .05 level.. | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | th_TH |
dc.subject | สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ | th_TH |
dc.subject | การอาชีวศึกษา | th_TH |
dc.title | ปัจจัยพหุระดับที่มีผลต่อคุณลักษณะทางวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ | th_TH |
dc.title.alternative | Multi-level Factors Affecting the Professional Characteristics of Students at the Office of the Vocational Education Commission in the Three Southern Border Provinces | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.contributor.department | Faculty of Education (Measurement and Educational Research) | - |
dc.contributor.department | คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา | - |
Appears in Collections: | 276 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1438.pdf | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.