Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11761
Title: | การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | The Development of Spiritual Health Activity Model for Children and Youth in the Juvenile Observation and Protection Center of Pattani Province |
Authors: | ศรีสุข, วันพิชิต หน้าใหญ่, อุไรรัตน์ Faculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ |
Keywords: | สร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา;เยาวชน |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Abstract: | การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการและรูปแบบกิจกรรมสร้างเสริม สุขภาวะทางปัญญาสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี ศึกษาในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นเด็กและเยาวชน จำนวน 31 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเด็กและเยาวชนเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี จำนวน 3 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2559 ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ 2) กำหนดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาเป็นชุดกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ 3) ออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาด้วยเครื่องมือแผนที่ผลลัพธ์ (Outcome mapping) 4) จัดกิจกรรมด้วยกระบวนการพัฒนางานต่อเนื่อง (PDCA cycle) แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจมี 2 แนวทาง คือแนวทางสนับสนุนกระบวนการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู และแนวทางป้องกันการใช้ความรุนแรง 2. รูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี มี 6 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมประกอบด้วยการปรับสมดุลด้วยการผ่อนคลายตนเอง การเรียนรู้หลักคิดด้วยกิจกรรมผ่านประสบการณ์ และการสรุปบทเรียนรู้ กิจกรรมทำให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาวะทางปัญญาของเด็กและเยาวชน ในเรื่อง การจัดการตนเองอย่างมีสติ การเห็นตนเองตามความเป็นจริงด้วยใจที่เป็นกลาง การปล่อยวางเรื่องราวที่ทุกข์ใจได้ การให้อภัยตนเองและผู้อื่นที่ทำผิดพลาด การระงับยับยั้งการกระทำที่เป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่น และการมีกำลังในใจการดำเนินชีวิต ณ ปัจจุบันขณะ การสำรวจสุขภาวะทางปัญญาของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานีด้วยแบบวัดสุขภาวะทางปัญญาด้านการจัดการอย่างมีสติ พบว่าเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีคะแนนสุขภาวะทางปัญญาด้านการจัดการอย่างมีสติหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน เงื่อนไขการใช้กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา และรายละเอียดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี การนำคู่มือกิจกรรมไปใช้ผู้จัดกระบวนการต้องผ่านการอบรมจากผู้วิจัย และใช้กระบวนการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (PDCA) ในการเลือกใช้แต่ละกิจกรรม The purpose of this action research was to develop the process of spiritual health promotion and spiritual health activity model for children and youth in the Juvenile Observation and Protection center of Pattani Province. The study was conducted on 31 children and young people and 3 staff members of the Juvenile Observation and Protection center of Pattani Province. Data collection from October to December 2016. The Spiritual health promotion stages for children and youth in the Juvenile Observation and Protection center of Pattani Province are : 1. Participation to workshops in order to set an outcome goal with chosen stakeholders, 2. Set the spiritual health activity model as a tool for achieving an outcome goal, 3) Design spiritual health activity by an Outcome mapping, 4) Run process by the PDCA cycle. The Spiritual health promotion in the Juvenile Observation and Protection Center of Pattani Province guidelines can be used in 2 different ways: one is based on the main program, the other focuses on preventing violence. The Spiritual Health Activity Model for children and youth in the Juvenile Observation and Protection center of Pattani Province encompasses 6 activities. The activities consist in relaxation and spiritual health through experimental learning. After having attended the spiritual health activities, the children and youth achieved their spiritual health : they experienced mindful management, concern with bias, letting go of suffering, forgiving oneself and others, not harming oneself and others and mindfulness, which means be fully aware of oneself and the surroundings. The results of a spiritual health study conducted from a mindfulness management perspective survey showed that after having attended the spiritual health activities children and young people had significantly higher scores than before (p< .01). The Spiritual Health Activity Manual for children and youth in the Juvenile Observation and Protection center of Pattani Province contains three distinct parts: Basic concepts, agreement and algorithm. Application into everyday life has to be put in practice and is to be ran by the PDCA cycle. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การบริหารการพัฒนาสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11761 |
Appears in Collections: | 427 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1415.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.