Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11757
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประทีปเกาะ, ฐปนรรฆ์-
dc.contributor.authorเจ๊ะแว, ซารีฟะห์-
dc.date.accessioned2018-03-22T09:15:27Z-
dc.date.available2018-03-22T09:15:27Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11758-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบเชิงสัมพันธ์ (Correlation study) มีวัตถุประสงค์ การวิจัยคือ 1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปี และประสบการณ์การได้รับอุบัติเหตุ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุจาการขับขี่รถจักรยานยนต์ ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 330 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิด ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย และทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา มีพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์อยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 2.33, SD = 0.24) มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงอยู่ในระดับ ดี (x ̅ = 3.19, SD = 0.44 ) การรับรู้ความรุนแรงอยู่ในระดับ ดีมาก (x ̅ = 3.68, SD = 0.28) การรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับ ดี (x ̅ = 3.09, SD = 0.50) และการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับ ไม่ดี (x ̅ = 2.50, SD = 0.82) ตัวแปรการรับรู้อุปสรรค, ประสบการณ์ในการได้รับอุบัติเหตุ, อายุต่ำกว่า 18 ปี และการรับรู้ความรุนแรง สามารถพยากรณ์การใช้หมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ร้อยละ 71.20 (Adjusted R2 = 0.712) โดยตัวแปรพยากรณ์ การรับรู้อุปสรรค ประสบการณ์ในการได้รับอุบัติเหตุ อายุต่ำกว่า 18 ปี และการรับรู้ความรุนแรง มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ 1.162, -.575, -.108 และ .098 ตามลำดับ โดยใช้ตัวแปรพยากรณ์ ทั้งหมดสามารถนำค่าที่ได้มาเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 1.237 + .347 (การรับรู้อุปสรรค) - .347 (ประสบการณ์ในการได้รับอุบัติเหตุ) - .070 (อายุต่ำกว่า 18 ปี) + .085 (การรับรู้ความรุนแรง) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = 1.162 (การรับรู้อุปสรรค) - .575 (ประสบการณ์ในการได้รับอุบัติเหตุ) -.108 (อายุต่ำกว่า 18 ปี) + .098 (การรับรู้ความรุนแรง) The objectives of this correlational study were 1) to explore helmet use behaviors for preventing accident during riding a motorcycle of students of the Institute of Physical Education Yala Campus, 2) to identify selected factors affecting helmet use behaviors for preventing accident during riding a motorcycle following Health Belief Model among students of the Institute of Physical Education Yala Campus, and 3) to identify other factors: sex, age, year of studying and accidental experiences affecting helmet use behaviors for preventing accident during riding a motorcycle among students of the Institute of Physical Education Yala Campus. The study samples were 330 students in academic year 2014 and they were randomly selected using stratified random sampling technique. The data were collected using questionnaires that were constructed by the researcher based on the objectives of the study and applying the Health Belief Model framework. Data analysis were performed using descriptive statistics by frequency, percentage, mean and standard deviation. Inferential statistics were also carried out by stepwise multiple regression analysis. The results of the research found that helmet use behaviors to prevent accident while riding a motorcycle was at a fair level (x ̅ = 2.33, SD = 0.24). They have had perceived risk or vulnerability at a good level (x ̅ = 3.19, SD = 0.44), perceived severity at an excellent level (x ̅ = 3.68, SD = 0.28), perceived benefits at a good level (x ̅ = 3.09, SD = 0.50) and perceived barriers at a poor level (x ̅ = 2.50, SD = 0.82). Perceived barriers, experienced accident, age less than 18 years old, and perceived severity could significantly predict helmet use behaviors to prevent accident while riding a motorcycle of the students at the significance level of 0.01. All four variables could predict the outcome by 71.20 percent (Adjusted R2 = 0.712). The standardized regression coefficients (β) of the such predicted variables were 1.162, -.575, -.108 and .098 for perceived barrier, experienced accident, age less than 18 years old and perceived severity, respectively. The equation for predicting helmet use behaviors while riding a motorcycle among students in terms of unstandardized score was = 1.237+.347 (perceived barriers) +.347 (experienced accident) - .070 (age under 18 years old) + .085 (perceived severity). The equation of prediction in terms of the standardized score was = 1.162 (perceived barriers) -.575 (experienced accident) - .108 (age under 18 years old) + .098 (perceived severity).th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectหมวกนิรภัยth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุth_TH
dc.titleปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัย ในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลาth_TH
dc.title.alternativeSelected Factors Affecting Helmet Use Behaviors for Accidental Prevention Following Health Belief Model of Students.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Educational Administration)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา-
Appears in Collections:260 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1427.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.