Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11083
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลิสรา, ชมชื่น-
dc.contributor.authorรุสมีนี, หะยียูโซ๊ะ-
dc.date.accessioned2017-10-18T07:58:18Z-
dc.date.available2017-10-18T07:58:18Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11083-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจาะไอร้อง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 21 คน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 15 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ดำเนินการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบนัยสำคัญของสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระดับพอใช้ (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ระดับพอใช้ (5) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 This research aimed to study the effects of organizing mathematics learning activities using creative problem solving process on mathematics problem solving ability and creative thinking of grade 5 students in Narathiwat primary educational service area office 3. The sample included 21 students grade 5 students at Banchoairong school, Narathiwat, during the second semester of the 2015 academic year. The duration of the experiments lasted for 15 hours. The research instruments were lesson plans, mathematics problem-solving ability test, mathematic creative thinking test. The research one group pretest-posttest design. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for dependent groups and Pearson product moment correlation coefficient test. The findings revealed that after the students were taugt by using creative problem solving process: (1) They had higher mathematics problem solving ability the significance level of .05. (2) The post-test mean scores of mathematics problem solving ability were satisfactory level. (3) They had higher mathematics creative thinking at the significance level of .05. (4) The post-test mean scores of the students using mathematics creative thinking were satisfactory level. (5) The mathematics problem solving ability and the mathematics creative thinking had positive correlation in hight level at the significance level of .05.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectการเรียนรู้คณิตศาสตร์th_TH
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3th_TH
dc.title.alternativeEffects of Organizing Mathematics Learning Activities Using Creative Problem Solving Process on Mathematics Problem Solving Ability and Creative Thinking of Grade 5 Students in Narathiwat Primary.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Educational Administration)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา-
Appears in Collections:260 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1347.pdf5.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.