Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11027
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจริญ เจตวิจิตร-
dc.contributor.authorดาริน เปรมปรีชา-
dc.date.accessioned2017-09-13T09:07:55Z-
dc.date.available2017-09-13T09:07:55Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11027-
dc.descriptionวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม), 2560th_TH
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียของวัตถุดิบ ในกระบวนการบรรจุอาหารสัตว์เลี้ยงบรรจุถ้วยพลาสติกในโรงงานแห่งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายในการลดความสูญเสียของวัตถุดิบลงอย่างน้อยร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับกระบวนการทำงานเดิมก่อนการปรับปรุง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของพนักงานบรรจุ และไม่ทำให้เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักบรรจุต่ำกว่ามาตรฐานมากขึ้น การวิจัยเริ่มต้นด้วยการศึกษากระบวนการผลิต พิจารณาของเสียในกระบวนการผลิตที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและผลิตภาพ วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาโดยใช้แผนผังก้างปลา พร้อมทั้งตั้งสมมติฐาน และการทดสอบสมมติฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงตัวเลข เพื่อให้ทราบสภาวการณ์ก่อนการปรับปรุงงาน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effect Analysis, FMEA) ผลการศึกษาพบว่าค่าตัวเลขความเสี่ยง (RPN) แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาการสูญเสียของวัตถุดิบมากที่สุดคือ วิธีการชั่งน้ำหนักอ่านค่ายาก (RPN = 560) ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการปรับปรุงงานจำนวน 2 แนวทางคือ 1) การปรับปรุงวิธีการชั่งน้ำหนักใหม่โดยนำหลักการการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual control) มาใช้ และ 2) การจัดสมดุลสายการผลิต ผลการปรับปรุงวิธีชั่งน้ำหนักสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบจากการบรรจุน้ำหนักเกินมาตรฐานได้ร้อยละ 28.31 โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ พบปัญหาน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานเพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มอัตราเร็วในการทำงานในขั้นตอนการชั่งน้ำหนักจาก 19.5 ถ้วยต่อคนต่อนาที เป็น 21.7 ถ้วยต่อคนต่อนาที จากการปรับปรุงการทำงานสามารถลดพนักงานในขั้นตอนการชั่งได้จำนวน 2 คน เมื่อนำมาคำนวณหาผลิตภาพแรงงาน ก่อนการปรับปรุงคิดเป็น 417.4 ถ้วยต่อคนต่อชั่วโมงและหลังการปรับปรุงคิดเป็น 505.3 ถ้วยต่อคนต่อชั่วโมง และสามารถลดต้นทุนค่าแรงงานจากการลดพนักงานในจุดชั่งบรรจุน้ำหนักได้ถึง 192,192 บาทต่อปีth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์th_TH
dc.subjectการเพิ่มผลิตภาพth_TH
dc.subjectกระบวนการบรรจุน้ำหนักth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงth_TH
dc.subjectFMEAth_TH
dc.subjectการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual control)th_TH
dc.titleการเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการบรรจุน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงบรรจุถ้วยพลาสติกth_TH
dc.title.alternativeProductivity Improvement in the Packing Process of Pet Food in Plastic Cupth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Engineering (Industrial Engineering)-
dc.contributor.departmentคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-
Appears in Collections:228 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Productivity Improvement in the Packing Process of Pet Food in Plastic Cup.pdf394.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.