Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11012
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น | - |
dc.contributor.author | มะแอ เย็ง | - |
dc.date.accessioned | 2017-07-24T15:48:27Z | - |
dc.date.available | 2017-07-24T15:48:27Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11012 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง ความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยประกอบด้วย ด้านวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศ ประเภท เนื้อหา แหล่งสารสนเทศ และ การมีส่วนร่วมด้านสารสนเทศ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศสาธารณภัย เมื่อจำแนกตามตัวแปรที่ศึกษา คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานะ อาชีพ ที่อยู่อาศัย และประสบการณ์ด้าน สาธารณภัย และ3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการใช้สารสนเทศ ประชากรที่ศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 399 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายและเลือกกลุ่ม กลุ่มผู้นำชุมชนเลือกจากประชากรทั้งหมดจำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 30 คน หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค Cronbach’s Alpha ค่าที่ได้ 0.95 การเก็บรวบรวมผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยการลงพื้นที่จำนวน 20 ตำบล โดยแจกจ่ายแบบสอบถามได้รับคืนจากกลุ่มทั้งสิ้น จำนวน 440 ฉบับ เป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป 399 ฉบับ และกลุ่มผู้นำชุมชน 31 ฉบับ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA และ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยสรุปได้เป็นดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนทั้งสิ้น 440 คน คือ กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 399 คน และเป็นกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 31 คน ดังนี้ กลุ่มประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 224 คน คิดเป็นร้อยละ 56.1 อยู่ในช่วงอายุน้อยกว่า 31 ปี จำนวน 190 คน คิดร้อยละ 47.6 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 202 คน คิดเป็นร้อยละ 50.6 ประกอบอาชีพอื่นๆ อาชีพอื่นๆ จำนวน 276 คน คิดเป็นร้อยละ 69.2 อาศัยอยู่อำเภอเมืองปัตตานี 154 คิดเป็นร้อยละ 40.8 เป็นผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านสาธารณภัย จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 50.1 ส่วนกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 31 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 64.5 มีระดับการศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 41.9 อำเภอเมืองปัตตานี จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 29.3 และเป็นผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านสาธารณภัย จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 51.6 กลุ่มประชาชนทั่วไปมีความต้องการสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก กล่าวคือ ด้านเนื้อหาสารสนเทศอยู่ในระดับมาก (X ̅=3.96) ได้แก่ ด้านการประเมินความเสี่ยง และการเฝ้าระวัง แหล่งสารสนเทศอยู่ในระดับมาก (X ̅=3.85) มากที่สุดได้แก่ แหล่งสารสนเทศบุคคล (X ̅=3.94) คือ ผู้นำชุมชน ได้แก่ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน และโต๊ะอีหม่ามประจำตำบล (X ̅=4.04) ส่วนกลุ่มผู้นำชุมชนมีความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=3.86) มากที่สุดด้านเนื้อหาสารสนเทศคือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย สถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ยาและเวชชาภัณฑ์ (X ̅=4.00) ด้านแหล่งสารสนเทศมากที่สุดเจ้าหน้าที่สาธารณภัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อพปร. และมิสเตอร์เตือนภัย (X ̅ =3.87) ด้านปัญหาและมีอุปสรรคการใช้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ =3.35) มากที่สุดคือ แหล่งสารสนเทศไม่ได้อยู่ในพื้นที่ (X ̅ =3.38) ส่วนกลุ่มผู้นำชุมชนมีความต้องการสารสนเทศ คือด้านวัตถุประสงค์การใช้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅=3.77) มากที่สุด คือ เพื่อใช้เตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัยในพื้นที่ (X ̅=3.94) ด้านประเภทสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅=3.56) คือ สิ่งไม่ตีพิมพ์ มากที่สุด คือ ป้ายแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ด้านสาธารณภัย (X ̅=3.97) ด้านเนื้อหาสารสนเทศคือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย สถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ (X ̅=4.00) ด้านแหล่งสารสนเทศของกลุ่มผู้นำชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅=3.66) เมื่อพิจารณ์รายด้านพบว่า มากที่สุดคือ แหล่งสารสนเทศบุคคล (X ̅=3.74) คือเจ้าหน้าที่สาธารณภัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อพปร. และมิสเตอร์เตือนภัย เป็นต้น (X ̅=3.87) ด้านปัญหาและอุปสรรคการใช้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ =2.96) ได้แก่ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เนื่องจากปัญหาระบบสัญญาณขัดข้อง (X ̅ =3.19) การเปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยของประชาชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดปัตตานี เมื่อจำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ สถานะ อาชีพ ที่อยู่อาศัย และประสบการณ์ด้าน สาธารณภัยพบว่า กลุ่มประชาชนทั่วไปมีความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยและปัญหาอุปสรรค การใช้สารสนเทศที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ยกเว้นระดับการศึกษาที่มีความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มผู้นำชุมชนมีความต้องการสารสนเทศ สาธารณภัยและปัญหาอุปสรรคการใช้สารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ด้านการมีส่วนร่วมของกลุ่มประชาชนทั่วไปโดยภาพรวมสามารถจำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านการประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ พบว่า ประชาชนต้องการมีส่วนร่วมในการอบรม ด้านสาธารณภัยต่างๆ คือ ฝึกอบรมซ้อมแผนป้องกัน แจ้งเตือน เฝ้าระวัง และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณภัย นำไปใช้เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในชุมชนได้รับทราบ ด้านอภิปราย นำเสนอข้อมูล และแสดงความคิดเห็น พบว่า ประชาชนต้องการมีส่วนร่วมคือ ทำให้ได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับสาธารณภัยเพื่อให้รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนจะได้รับความปลอดภัยต่อตนเอง และชุมชน พร้อมทั้งสามารถป้องกันและลดผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยอยู่ ด้านการใช้ทรัพยากรและประสานงานกิจกรรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความต้องการมีส่วนร่วมด้านสารสนเทศ คือ ประชาชนต้องการเข้าร่วมนำเสนอข้อมูลด้านสาธารณภัย ฝึกใช้เครื่องมือและเผยแพร่ให้บุคคลใกล้ชิดได้รับทราบ ด้านการได้รับประโยชน์และผลกระทบจากสาธารณภัย พบว่า ประชาชนมีความต้องการมีส่วนร่วมด้านสารสนเทศคือ ได้รับความปลอดภัย ได้รับผลตอบแตน ได้รับเงินเดือน สิ่งของ รางวัล หรือความรู้ เพราะเป็นบันดาลใจ ในการทำงาน มีประชาชนบางส่วนถือว่าทำเพื่อจิตอาสาให้ชุมชนและประชาชนทั่วไปได้รับความปลอดภัยจากสาธารณภัย ส่วนของกลุ่มผู้นำชุมชน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้วิจัยสามารถสรุปจากข้อมูลทั้งหมด โดยรวมพบว่า ด้านการประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ ผู้นำชุมชนมีภาระหน้าที่ตาม ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย โดยได้ให้โอวาทและมอบนโยบาย ได้ออกประกาศแจ้งเตือน พร้อมการให้ความรู้แก่ประชาชน มีการสื่อสารผ่านอาสาสมัครในพื้นที่ เสียงตามสาย วิทยุในพื้นที่ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาต่างๆ ด้านอภิปราย นำเสนอข้อมูล และแสดงความคิดเห็น ผู้นำชุมชนในระดับต่างๆ ได้นำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้น ด้านการใช้ทรัพยากรและประสานงานกิจกรรม ผู้นำชุมชนได้จัดสรรทรัพยากรต่างๆ และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้ และพยายามสร้างเครือข่ายๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การแจ้งเตือนประชาชน ด้านการได้รับประโยชน์และผลกระทบจากสาธารณภัย ผู้นำชุมนตระหนักถึงปัญหาของประชาชนในพื้นที่เป็นหลักในแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไข โดยใช้ทรัพยากรเพื่อบรรเทาปัญหาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น และได้จัดทำเจ้าหน้าที่เข้าให้ความช่วยเหลือประชาชน The purposes of this research were 1) to study public hazard information needs concerning the objectives of information use, types, contents, information sources, and the participation of coastal zone citizens in Pattani province; 2) to compare the disaster information needs among the citizens of different gender, age, educational level, status, occupation, residence, and disaster experience; and 3) to examining problems regarding the information use. The population of this study consisted of 399 members of the general people using by using simple random sampling method, and 37 community leaders selected among the entire population. The instrument used for data collection was a questionnaire that was pilot tested with 30 samples in Mueang district, Narathiwat province. The Cronbach’s Alpha coefficient reliability for the total scale was 0.95. The researcher conducted field trips to 20 sub-districts to collect data using the questionnaire. The total 440 pieces of questionnaire were returned, – 399 from the general people and 31 from the community leaders –. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, hypothesis testing, one-way ANOVA, and Scheffe’s pairwise comparison. The findings of the research revealed as follows: Of the 399 general people, the majority of respondents were females (224 females, which accounted for 56.1%). Most of them were under 31 years old (190 respondents, 47.6%), received bachelor’s degree (202 respondents, 50.6%), worked in other fields (276 respondents, 69.2%), resided in Mueang district, Pattani province (154 respondents, 40.8%), and never experienced disaster (200 respondents, which accounted for 50.1%). Of the 37 community leaders, the majority of respondents were males (20 males, 64.5%). Most of them received bachelor’s degree (13 respondents, 41.9%), resided in Mueang district, Pattani province (9 respondents, 29.3%), and never experienced disaster (16 respondents, 51.6%). The general people needed disaster information at a high level as a whole. When considering each aspect, it was found that the contents of information concerning risk assessment and disaster surveillance were rated at a high level (X ̅=3.96). Regarding information sources which was at a high level as a whole (X ̅=3.85), the aspect which was scored the highest was personal information sources (X ̅=3.94) which included mayors, chief executives of sub-district administrative organization, sub-district headmen, and Imams of each sub-district (X ̅ =4.04). The community leaders needed disaster information at a high level as a whole (X ̅=3.86). When considering each aspect, it was found that the contents of information concerning first aid, transport of patients, hospitals, medical personnel, and medicines and medical supplies were rated at the highest level (X ̅=4.00). Fire and rescue officers, civilian volunteers, and disaster warning volunteers “Mr. Warning” were considered the best information sources (X ̅=3.87). Regarding the problems and obstacles in using the information, they were at the moderate level as a whole. When considering each aspect, the item stating no information sources could be found in local areas was rated the highest (X ̅=3.38). The community leaders’ needs for disaster information concerning the area of objectives of the use were at the moderate level as a whole (X ̅=3.77), and the objective of disaster preparedness was scored the highest level (X ̅=3.94). Regarding the aspect of types of information, it was found at the moderate level as a whole (X ̅=3.56), and non-printed materials including disaster warning signs was rated at the highest level (X ̅=3.97). The information contents concerning first aid, transport of patients, hospitals, medical personnel, and medicines and medical supplies showed an average mean score of 4.00. As for information sources used by the community leaders, it was found at the moderate level (X ̅=3.66), and the aspect scored the highest was personal information sources (X ̅ =3.74) including fire and rescue officers, civilian volunteers, and disaster warning volunteers “Mr. Warning” (X ̅ =3.87). Regarding the problems and obstacles in using the information, they were at the moderate level as a whole (X ̅ =2.96). When considering each aspect, the item stating the inaccessibility to the information due to the signal failure was rated the highest level (X ̅ =3.19). Comparison in the needs for disaster information among the people of different gender, age, status, occupations, residence, and disaster experience who lived in Pattani coastal areas found that people with different sex and age levels showed differences at the .05 level in their needs for disaster information in the following aspects: objective, type, content and source. The people with different occupations showed differences at the .05 level in their needs for disaster information in the following aspects: objective, and source. As for the community leaders, it was found that there was a statistically significant difference at the .05 level between disaster experience and in their needs in type of disaster information. It also found that no statistically significant difference at the .05 level between the problems regarding the information use and the general people and of the community leaders. The participation of the general people regarding the public relations on disaster information, news, and knowledge, the general public expressed their needs for joining the training programs such as disaster prevention and warning, disaster surveillance, awareness of the coming disaster, ensured the safety of themselves and their community, as well as lessened and prevented the impacts of the disaster in their communities. their needs to take their parts in providing disaster information, practicing how to use devices and tools, and spreading the information to others who were close to them, their needs for safety, benefits, rewards, and knowledge because these were considered inspirations for working and volunteering themselves for others and their communities. As for the participation of the community leaders, it was revealed that the community leaders took responsibility for their assigned duties, making speeches, formulating policies, issuing announcements, providing information and knowledge to the general people, communicating with the public about the current problems through the volunteers in local areas by means of wire broadcasting and local radio stations, pointing out the current problems, allocating the resources and organizing such activities as training programs that helped broaden the people’s knowledge and create networks of people to provide the solutions to disaster problems via various means, allocating resources to reduce the disaster problems and assigning officers to provide aids to the people. | th_TH |
dc.language.iso | en_US | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | th_TH |
dc.subject | การจัดการสารสนเทศ | th_TH |
dc.subject | สารสนเทศ | th_TH |
dc.title | ความต้องการสารสนเทศสาธารณภัยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี | th_TH |
dc.title.alternative | Public Hazard Information Needs and Participation of Coastal Zone Citizens in Pattani Province | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.contributor.department | Faculty of Humanities and Social Sciences (Library and Information Science) | - |
dc.contributor.department | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ | - |
Appears in Collections: | 421 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1331.pdf | 8.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.