Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10643
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอกรินทร์, สังข์ทอง-
dc.contributor.authorรุจนี, เอ้งฉ้วน-
dc.date.accessioned2017-01-27T10:58:52Z-
dc.date.available2017-01-27T10:58:52Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10643-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ด.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธีพหุระยะ (Multi - Phase mixed method research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทของครอบครัว 2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ 3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวจากกรณีศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย ในงานวิจัยนี้แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 และ 2 เป็นการเก็บรวบรวมเชิงคุณภาพโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ครอบครัวที่จัดการศึกษาโดยครอบครัวระดับประถมศึกษา จำนวน 4 ครอบครัว ในภาคใต้ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ส่วนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ปกครอง ผู้เรียน และครูผู้สอน จำนวน 24 คน เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้วิจัยใช้เวลาร่วมกับครอบครัว กรณีศึกษาทั้ง 4 ครอบครัว เป็นเวลา 1 สัปดาห์ รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ กับครอบครัวเป็นจำนวนอย่างน้อย ครอบครัวละ 2 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มประชากรที่จัดการศึกษาโดยครอบครัวในภาคใต้ทั้งหมด 25 ครอบครัวจาก 10 จังหวัด ในปีการศึกษา 2556 โดยใช้แบบสอบถาม และระยะที่ 4 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพในเรื่องแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้การจัดการศึกษา โดยครอบครัวจากกรณีศึกษาภาคใต้ โดยการประชุมกลุ่มย่อย มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ผู้วิจัยสร้างความน่าเชื่อถือในงานวิจัยโดยการสร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคย การใช้เวลาในพื้นที่ที่เพียงพอ และการเก็บข้อมูลยืนยันแบบสามเส้า ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1) ในบริบทของการจัดการศึกษาในครอบครัว ครอบครัวมีความพร้อมในการจัดการศึกษาเป็นอย่างดี สาเหตุสำคัญในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว คือ แนวคิดพื้นฐานของพ่อแม่ที่ต้องการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีความสุขในการเรียนรู้ในชีวิต แต่ละครอบครัวมีปรัชญาและแนวคิดแตกต่างกัน แต่แนวคิดร่วมพื้นฐาน คือ แนวการศึกษาแบบองค์รวม และรูปแบบการจัดการศึกษานั้นเป็นไปตามวิถีชีวิตและเป้าหมายการศึกษาของครอบครัวเป็นสำคัญ 2) การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยครอบครัวเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ครอบครัวปรับใช้ทั้งหลักสูตรในประเทศและต่างประเทศแบบบูรณาการ เป็นหลักสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน รวมถึงแนวคิดและวิถีชีวิตของครอบครัว ครอบครัวใช้การทัศนศึกษาเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และเน้นหลักศาสนาเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิต ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามบริบทของผู้เรียน ครอบครัวใช้ทั้งสื่อภายในครอบครัวและภายนอกครอบครัว และแหล่งเรียนรู้ อย่างให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด และครอบครัวใช้การประเมินผลการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น เป็นการประเมินผลตามสภาพจริงที่ต้องสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวและเป็นการประเมินเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียน 3) ผลการวิจัยจากการศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ครอบครัวที่จัดการศึกษาโดยครอบครัวในภาคใต้นั้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ในด้านที่อยู่ในระดับมาก มี 3 ด้าน คือ การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ วิธีการเรียนการสอน และ การประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ปรากฏข้างต้น 4) แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวจากกรณีศึกษาภาคใต้นั้น พบว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรมีหลักการสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยครอบครัวร่วมกันเสียก่อน ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ความเข้าใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว และการตระหนักถึงการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ภายในครอบครัว ทุกฝ่ายควรมีการวิจัยและพัฒนาร่วมกันเกี่ยวกับหลักสูตรและควรจะจัดตั้งให้มีหน่วยงานอิสระในการดูแล ให้คำแนะนำและช่วยเหลือครอบครัว ผู้จัดการศึกษา โดยครอบครัว ส่วนวิธีการจัดการเรียนการสอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละจังหวัดควรช่วยส่งเสริมสร้างช่องทางในการเรียนรู้เพิ่มเติมให้กับครอบครัว และมีการนัดหมายเพื่อพบปะเสวนากัน อยู่เรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องระหว่างครอบครัวผู้จัดการศึกษาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ควรร่วมกันจัดทำ Mapping เรื่องสื่อและแหล่งเรียนรู้ ควรสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถใช้สื่อร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยอาจสร้างข้อตกลงที่จะร่วมมือระหว่างสองฝ่าย (Memorandum of Understanding: MOU) และการประเมินผลการเรียนรู้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรท าความเข้าใจมุมมองของครอบครัว มองเห็นความแตกต่างระหว่างหลักคิดของการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือก ควรช่วยเหลือและปรับการใช้ค าศัพท์เฉพาะทางการศึกษาให้เป็นภาษา ที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน This research was a multi - phase mixed method study which aimed to investigate 1) contexts of home schooling, 2) learning process management, 3) opinions on learning process management organized by home schooling families in Southern Thailand, and 4) propose the learning process management guideline for home schooling families in Southern Thailand. This research was divided into 4 phases as follows; Phase 1 and 2: Qualitative study: Key informants were four home schooling families at basic education in the South of Thailand. A purposive sampling was employed for informant recruitment. Twenty - four key informants of this study included guardians, homeschoolers and teachers. Data collection was conducted by using in -depth interviews. The researcher was permitted to spend times with families for a week and participated in their activities at least 2 times per family. The data were analyzed by using content analysis. Phase 3: Quantitative study: The population of the study was all twenty five home schooling families from 10 provinces in the Southern Thailand during the academic year 2013. The research instrument was a questionnaire. Phase 4: Qualitative study on learning process management guideline for home schooling in Southern Thailand. Data collection was conducted by using focus group discussion with 9 participants. Research instruments included a handout for focus group discussion. The trustworthiness of the study was promoted by using rapport, prolonged engagement in the field, and data triangulation. The findings showed as follows: 1) In the contexts of Southern Thailand, most families had good readiness in providing home schooling. The important reasons for home schooling were embraced with their fundamental perspectives in promoting life - long learning and happiness in life learning for children. Despite each family had various philosophies and concepts about home schooling, they mutually shared fundamental ideas on holistic education. The style of educational management of each family depended on lifestyle and education goals. 2) The emphasis of learning process was placed on student - centered style and experience - based learning which each step of learning process had flexibility and was in accordance with families’ lifestyle. Home schooling families applied and adapted both national and international curriculum to serve learner’s interest, families’ concepts and lifestyles. Families did field trips in order to foster learners’ learning experiences and applied religious principles as an ideal of living which was flexible and changeable with regards to contexts of learners. Families also applied both inside and outside learning resources to maximize benefits of students learning. In addition, their educational assessment was flexible. The authentic assessment was done in line with families’ learning experience management, and aimed for learning development. 3) The overall opinion of schooling families on the learning process management in Southern Thailand was found at a good level. When each item was considered, it was found that the usage of media and learning resources, learning and instructional method, and learning assessment were found at a good level. These findings represented the conformity to the qualitative findings as mentioned above. 4) The learning process management guideline for home schooling families in Southern Thailand included fundamental understanding of related stakeholders especially learning management principles of home schooling, for example participation, understanding of home schooling learning process, and self - recognition as an active learner within the family. In addition, all related sectors should be involved in research and curriculum development. An independent organization should be established in taking care, advising, and facilitating home schooling families. In terms of learning and instructional method, the Educational Service Area Offices in each province should provide additional learning channels for families as well as continuously organize a meeting among home schooling families and related officials. In addition, a mapping for media and learning resources should be collaboratively developed. In the meanwhile, families should be able to use learning resources of both private and public educational institutes through a memorandum of understanding (MOU). In terms of learning assessment issue, the government officers should try to understand families’ perspectives, deeply recognize differences between a concept of formal and informal education, and should help simplify the comprehensive educational terminology so that families can clearly and mutually understand for their own practices.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์th_TH
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียนth_TH
dc.titleการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาโดยครอบครัว : กรณีศึกษาภาคใต้ของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeLearning Process Management for Home Schooling : A Case Study of Southern Thailand.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Educational Administration)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา-
Appears in Collections:260 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1237.pdf7.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.