Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10632
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฤทัยชนนี, สิทธิชัย | - |
dc.contributor.author | กลสมรรถ, พจนาวาณิชย์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-01-27T08:44:49Z | - |
dc.date.available | 2017-01-27T08:44:49Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10632 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สารสนเทศและความต้องการสารสนเทศ ในการสอนระดับปริญญาตรีของอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศและความต้องการสารสนเทศ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารสนเทศกับความต้องการสารสนเทศ และ 4) ทราบปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศในการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ที่สอนในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปีการศึกษา 2555 จ านวน 97 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ดังนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติอ้างอิง โดยทดสอบสมมติฐานของความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ด้วยสถิติ (T-test) และความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) หากพบว่ามีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะใช้วิธีการของเชฟเฟ่ เพื่อเปรียบเทียบรายคู่ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาการใช้และความต้องการสารสนเทศ พบว่า ก) อาจารย์ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสอนทุกข้อ ข) รูปแบบสารสนเทศ รายการที่มีร้อยละของการใช้และความต้องการ น้อยกว่าข้ออื่น ๆได้แก่ สิ่งพิมพ์รัฐบาล ฐานข้อมูล BioOne สารสนเทศที่เป็นภาษาอาหรับ สารสนเทศที่ล้าสมัย และสารสนเทศที่ไม่ตรงตามความต้องการ ส่วนข้ออื่นๆ มีการใช้และความต้องการมากกว่า ร้อยละ50 ค) แหล่งสารสนเทศ ที่มีร้อยละของการใช้และต้องการน้อยกว่าแหล่งอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์บริการสารสนเทศ อนุสาวรีย์/โบราณสถาน บรรณารักษ์ เหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ แหล่งที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ OPAC และe-book ส่วนข้ออื่นๆ มีการใช้และความต้องการมากกว่า ร้อยละ50 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการใช้และระดับความต้องการสารสนเทศ การใช้สารสนเทศนั้นอาจารย์ใช้เพื่อออกข้อสอบฯ มากกว่าวัตถุประสงค์อื่น โดยอาจารย์ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ใช้ข้อนี้มากกว่าตัวแปรอื่นๆ อยู่ในระดับมาก โดยใช้ลักษณะสารสนเทศด้านภาษา มากกว่าลักษณะด้านอื่น มีการใช้สารสนเทศที่เป็นภาษาไทยมากกว่าภาษาอื่น ซึ่งอาจารย์ที่มีตำ แหน่งทางวิชาการ มีการใช้ข้อนี้มากกว่าตัวแปรอื่นๆ อยู่ในระดับมาก และมีการใช้แหล่งสารสนเทศที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ มากกว่าแหล่งอื่นโดยใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่ารายการอื่น ซึ่งอาจารย์ที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี มีการใช้มากกว่าตัวแปรอื่นๆ อยู่ในระดับมากที่สุด 2.2 ความต้องการสารสนเทศ อาจารย์มีความต้องการสารสนเทศที่ทันสมัย ซึ่งอาจารย์ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี มีการความต้องการข้อนี้มากกว่าตัวแปรอื่นๆ อยู่ในระดับมากที่สุด และต้องการแหล่งสารสนเทศที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ มากกว่าแหล่งอื่นโดยต้องการอินเทอร์เน็ตมากกว่ารายการอื่น ซึ่งอาจารย์ที่สังกัดประเภทคณะสายวิทยาศาสตร์ มีการใช้มากกว่าตัวแปรอื่นๆ อยู่ในระดับมาก 3. ผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 พบว่า อาจารย์ที่มีเพศ อายุ ตำแหน่งทางวิชาการ ประเภทคณะที่สังกัด และประสบการณ์ในการสอนแตกต่างกัน มีการใช้และความต้องการสารสนเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 พบว่า การใช้ กับความต้องการสารสนเทศ มีความสัมพันธ์ในทางบวก อยู่ในระดับสูง 5. อาจารย์ส่วนใหญ่มีปัญหาในการใช้สารสนเทศในการสอน ด้านวิชาที่สอนมากที่สุด เช่น ทรัพยากรมีไม่เพียงพอกับความต้องการ รวมถึงแหล่งข้อมูลที่มีไม่ครอบคลุมสาขาวิชาที่เปิดสอน รองลงมาพบปัญหาในด้านแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ แหล่งสารสนเทศ มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขาดแหล่งข้อมูลในการค้นคว้า ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งหรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องได้ ส่วนด้านเนื้อหา รูปแบบ ภาษา และความทันสมัย พบปัญหา เช่น สารสนเทศขาดความทันสมัย ไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตหรือเว็บฐานข้อมูลที่ตรงตามสาขา The purposes of this research were 1) to study information use and needs of undergraduate lecturers teaching at Princess of Naradhiwas University 2) to compare between information use and needs 3) to study the relationship between information use and needs and 4) to know problems and suggestions about Information use for teaching. The samples of this study were 97 lecturers who taught undergraduate students at Princess of Naradhiwas University in academic year of 2012. The tool of the research was questionnaire. The statistics for analyzing included percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and inferential statistics. In addition, hypothesis testing of the differences was use T-test, One-Way ANOVA, and Scheffé test for pairwise comparisons of means. The result of the research found that 1. The information use and needs a) the lecturers used information on objective aspect for teaching b) the percentage of information format that the lecturers used and needed less than others were government publications, BioOne database, Arabic information, out of date information and insufficiency of information for other aspects, information use and needs were more than 50 percentage c) the percentage of information resources that the lecturers used and needed less than others were information from service center, monument/ an archaeological site, librarian, historical occurrence and electronic system such as OPAC and e-book for other aspects, information use and needs were more than 50 percentage. 2. Comparisons result between information uses and needs level a) Information use aspect; the lecturers who their aged more than 45 years old used the information for setting examination questions than other matters. They mostly use information in Thai language. In addition, the lecturers who had academic position used this information aspect in high level. They used electronic information resources more than others. Moreover, the lecturers who had experience in teaching less than 5 years used internet resources more than others in highest level. b) Information needs; the lecturers who were more than 45 years old needed the up-to-date information more than others age group in highest level. They needed electronic information resources more than others. Furthermore, the lecturers who worked in Faculty of Sciences used internet resources more than others in high level. 3. The first hypothesis testing found that there was statistical significance difference level at .05 for information use and needs of lecturers who had different gender, age, academic position, faculty and teaching experience. 4. The second hypothesis testing found that there was a positive relationship between information use and needs at high level. 5. Most of lecturers got problems of information use in teaching aspect in the highest level. The problems were insufficient of resources, uncovered data sources with all courses followed by the problems of source of information were in insufficient of source of information, lack of resources for research and inconvenience to access information sources or website. Moreover, the problem of content, format, language and modernity were outdated information were found such as inconvenience to access internet or databases or websites on their own fields, respectively. Keywords: Information use, information needs, lecturers, teaching | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | th_TH |
dc.subject | สารสนเทศ | th_TH |
dc.subject | ไทย (จังหวัดชายแดนภาคใต้) | th_TH |
dc.subject | นักศึกษาระดับปริญญาตรี | th_TH |
dc.title | การใช้สารสนเทศและความต้องการสารสนเทศในการสอนระดับปริญญาตรีของอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ | th_TH |
dc.title.alternative | Information Use and Information Needs of Lecturers for Undergraduate Teaching at Princess of Naradhiwas University. | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.contributor.department | Faculty of Humanities and Social Sciences (Library and Information Science) | - |
dc.contributor.department | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ | - |
Appears in Collections: | 421 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1226.pdf | 13.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.