Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10631
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาและความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: Effects of Problem-Based Learning on Biology Achievement and Instructional Satisfaction of Grade 12 Students.
Authors: ณัฐวิทย์, พจนตันติ
รุสดา, จะปะเกีย
Faculty of Education (Educational Administration)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา
Keywords: การจัดการเรียนการสอน;ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน;มัธยมศึกษา
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่ศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนพัฒนาวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนรวม 38 คน ซึ่งได้มาจากการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา แบบวัดความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบบันทึกภาคสนาม และแบบสัมภาษณ์นักเรียน ซึ่งดำเนินการทดลองแบบกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent group) และหาค่าคะแนนพัฒนาการ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนพัฒนาการของนักเรียนร้อยละ 68.42 มีพัฒนาการระดับสูง และนักเรียนร้อยละ 31.58 มีพัฒนาการระดับกลาง ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาอยู่ในระดับดี ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และนักเรียนรู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ภายใต้การทำงานร่วมกันเป็นทีม กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ สามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสรุปในสิ่งที่ได้เรียนรู้ มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและมีความสุขในการเรียน This research aimed to study the effects of problem-based learning on biology achievement and instructional satisfaction of grade 12 students. The samples of the study were thirty-eight students of grade 12/2 in the second semester of the academic year of 2014 at Phatnawitya School, Muang District, Yala Province, Thailand, selected by purposive sampling. They were instructed via using problem-based learning for 12 hours. The research instruments consisted of a lesson plan for the problem-based learning under the topic of the Human and environmental sustainability, achievement test, instructional satisfaction test, the researcher’s field-note and students interview recording. The experimental research was conducted using one group pretest-posttest design. The data was analyzed by mean, standard deviation, t-test dependent group and growth score. The results were shown as follow. The biology achievement of students learning by problem- based learning approach was higher than the pre-test mean score of at the significant level of .01. Growth score among the students 68.42% of them were in high level and 31.58% of them were in medium level. Biology achievement level are good. Instructional satisfaction was high and students were recognize, analyze and solve problems on their own under working together. Assertive comment, enthusiasm, responsibility, able to find information themselves and a summary of what was learned. As a result, students to learn deeply and happily.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10631
Appears in Collections:260 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1225.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.